In Summary
การที่ใครสักคนหรือหน่วยงานสักหน่วยงานบอกว่า ราคานี้ “ต่อรองไม่ได้” แล้ว แท้จริงแล้วฝ่ายนั้นก็ใช้กลยุทธ์การต่อรองกับเราอยู่เช่นกัน จำไว้เสมอว่าไม่มีอะไรบนโลกนี้ที่ต่อรองไม่ได้
บางคนอาจคิดว่าการต่อรองราคานั้นใช้ได้แค่กับการซื้อของบางอย่างเท่านั้น เช่น ราคาเสื้อผ้า ราคารถยนต์มือสอง แต่แท้จริงแล้วแม้แต่ค่าโทรศัพท์ หรือค่าอินเทอร์เน็ตที่คุณหลงเชื่อไปเองว่ามันเป็นราคาที่ไม่มีทางต่อรองได้นั้น จริงๆ ก็สามารถต่อรองได้หมด
ยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติกระทบกันไปทั้งโลก การเงินของหลายคนก็คงลำบากไม่น้อย ดังนั้นถึงแม้จะลดค่าใช้จ่ายได้เล็กๆ น้อยๆ ก็ถือว่าช่วยได้เยอะมาก
หรือแม้แต่ในเวลาปกติ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เราต้องจ่ายทุกเดือนนั้นอาจดูเหมือนน้อย แต่เมื่อรวมกันแล้วก็สามารถกลายเป็นก้อนที่ใหญ่มากได้ จะดีกว่ามั้ยถ้าลองมาเรียนรู้จิตวิทยาในการต่อรองสักนิด แต่ช่วยให้คุณเซฟค่าโทรศัพท์ลงไปได้อีกกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
วันนี้เราจึงขอหยิบเอา 5 ทริคในการต่อรองขอลดค่าใช้จ่ายมาฝากกัน ไปเรียนรู้กันเลย
1. พยายามใช้น้ำเสียงที่เป็นมิตรแต่จริงจังตลอดการสนทนา
เวลาที่คุณต้องเจรจากับใครสักคน ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม เป้าหมายสูงสุดคือการได้สิ่งที่คุณต้องการ ซึ่งการจะได้สิ่งที่ต้องการนั้นจะง่ายขึ้นมากถ้าคนที่คุณเจรจาด้วยชอบคุณ
น้ำเสียงที่เป็นมิตรแต่จริงจังจะแสดงถึงความสงบ มีมารยาท แต่มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ ลองนึกถึงเสียงจริงจังแต่แฝงด้วยความรักที่แม่ใช้เวลาลูกน้อยลงไปนอนดิ้นบนพื้นเพราะจะเอาของเล่น เสียงแบบ “แม่รักลูกนะ แต่ยังไงแม่ก็ไม่ซื้อของเล่นชิ้นนั้นให้แน่นอน” อะไรทำนองนี้ การควบคุมน้ำเสียงจะช่วยได้มากโดยเแพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณโมโหจนอยากจะมุดโทรศัพท์ไปอัดปลายสายสักทีนึง
2. ขอให้มากกว่าที่ต้องการ แล้วค่อยลดลงก็ได้
หนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการเจรจาต่อรองคือให้ทำเหมือนว่าคุณเป็นเพื่อนร่วมทีมที่กำลังหาทางออกที่ลงตัวร่วมกัน
การที่คุณยอมให้ครึ่งทางจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกดี แต่การยอมครึ่งทางไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ทริคง่ายๆ คือการเริ่มขอให้มากกว่าที่คุณต้องการ เพื่อให้คุณมีพื้นที่ให้ยอมให้คู่เจรจาได้ ในขณะที่คุณก็ยังได้สิ่งที่ต้องการอยู่ เขาก็แฮปปี้ คุณก็แฮปปี้ วินวินกันทั้งสองฝ่าย
3. เจรจากับคนที่มีอำนาจในการให้สิ่งที่คุณต้องการเท่านั้น
เวลาที่คุณโทรหาฝ่ายบริการลูกค้า คนที่คุณได้คุยด้วยจะเป็นแค่ “แนวหน้า” เป็นตัวแทนที่ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจ พนักงานก็จะบอกคุณว่าขอโทษด้วย พวกเขาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ พวกเขาเข้าใจคุณ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ และนี่คือกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้ทำให้คุณยอมแพ้ไป
จำไว้เสมอว่าอย่ายอมแพ้ แต่ให้ขอคุยกับคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทน ต้องมีคนที่ช่วยคุณได้อยู่แล้ว แต่แค่ต้องผ่านไปอีกสักสองสามด่าน แต่ถ้ายิ่งคุยยิ่งรู้สึกไม่คืบหน้า ลองทำตามวิธีต่อไปนี้
1. วางสายแล้วค่อยโทรใหม่ บริษัทใหญ่มีพนักงานบริการลูกค้าหลายคน ถ้าคุณลองโทรหลายๆ รอบ อาจได้เจอคนที่ช่วยคุณได้ในที่สุด
2. ขอยกเลิกบริการ ไม่ต้องทำจริง แค่พูดก็พอ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้คุณได้คุยกับคนที่ช่วยคุณได้ ทุกบริษัทพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่เสียลูกค้าไป เพราะราคาที่ต้องจ่ายในการหาลูกค้าใหม่นั้นมากกว่าการรักษาลูกค้าเก่ามาก ดังนั้นพวกเขาจะต้องเต็มใจลดค่าใช้จ่าย หรือเว้นค่าบริการให้คุณสักรอบบิลนึงอย่างแน่นอน
- ไม่มีอะไรบนโลกนี้ที่ต่อรองไม่ได้ แม้กระทั่งค่าอินเทอร์เน็ต หรือค่าโทรศัพท์ที่คุณคิดว่ามันเป็นแพ็คเกจที่ลดไม่ได้แล้วก็ตาม ขอแค่คุณรู้จักเทคนิคการเจรจาที่ดี อะไรๆ ก็เจรจาได้หมด
- 5 เทคนิคการเจรจาขอลดค่าใช้จ่ายทำได้ไม่ยาก เริ่มจากพยายามใช้น้ำเสียงที่เป็นมิตรแต่จริงจังตลอดการสนทนา เวลาขอให้ขอให้มากกว่าที่ต้องการ แล้วค่อยลดลงก็ได้ ที่สำคัญต้องเจรจากับคนที่มีอำนาจในการให้สิ่งที่คุณต้องการเท่านั้น
- และอย่าลืมเตรียมแผนสองไว้เสมอ ถ้าลดไม่ได้ ควรขออย่างอื่นเพิ่มแทน และท้ายที่สุดควรรู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุดและจบการถกเถียงลง
การที่ใครสักคนหรือหน่วยงานสักหน่วยงานบอกว่า ราคานี้ “ต่อรองไม่ได้” แล้ว แท้จริงแล้วฝ่ายนั้นก็ใช้กลยุทธ์การต่อรองกับเราอยู่เช่นกัน จำไว้เสมอว่าไม่มีอะไรบนโลกนี้ที่ต่อรองไม่ได้
บางคนอาจคิดว่าการต่อรองราคานั้นใช้ได้แค่กับการซื้อของบางอย่างเท่านั้น เช่น ราคาเสื้อผ้า ราคารถยนต์มือสอง แต่แท้จริงแล้วแม้แต่ค่าโทรศัพท์ หรือค่าอินเทอร์เน็ตที่คุณหลงเชื่อไปเองว่ามันเป็นราคาที่ไม่มีทางต่อรองได้นั้น จริงๆ ก็สามารถต่อรองได้หมด
ยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติกระทบกันไปทั้งโลก การเงินของหลายคนก็คงลำบากไม่น้อย ดังนั้นถึงแม้จะลดค่าใช้จ่ายได้เล็กๆ น้อยๆ ก็ถือว่าช่วยได้เยอะมาก
หรือแม้แต่ในเวลาปกติ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เราต้องจ่ายทุกเดือนนั้นอาจดูเหมือนน้อย แต่เมื่อรวมกันแล้วก็สามารถกลายเป็นก้อนที่ใหญ่มากได้ จะดีกว่ามั้ยถ้าลองมาเรียนรู้จิตวิทยาในการต่อรองสักนิด แต่ช่วยให้คุณเซฟค่าโทรศัพท์ลงไปได้อีกกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
วันนี้เราจึงขอหยิบเอา 5 ทริคในการต่อรองขอลดค่าใช้จ่ายมาฝากกัน ไปเรียนรู้กันเลย
1. พยายามใช้น้ำเสียงที่เป็นมิตรแต่จริงจังตลอดการสนทนา
เวลาที่คุณต้องเจรจากับใครสักคน ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม เป้าหมายสูงสุดคือการได้สิ่งที่คุณต้องการ ซึ่งการจะได้สิ่งที่ต้องการนั้นจะง่ายขึ้นมากถ้าคนที่คุณเจรจาด้วยชอบคุณ
น้ำเสียงที่เป็นมิตรแต่จริงจังจะแสดงถึงความสงบ มีมารยาท แต่มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ ลองนึกถึงเสียงจริงจังแต่แฝงด้วยความรักที่แม่ใช้เวลาลูกน้อยลงไปนอนดิ้นบนพื้นเพราะจะเอาของเล่น เสียงแบบ “แม่รักลูกนะ แต่ยังไงแม่ก็ไม่ซื้อของเล่นชิ้นนั้นให้แน่นอน” อะไรทำนองนี้ การควบคุมน้ำเสียงจะช่วยได้มากโดยเแพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณโมโหจนอยากจะมุดโทรศัพท์ไปอัดปลายสายสักทีนึง
2. ขอให้มากกว่าที่ต้องการ แล้วค่อยลดลงก็ได้
หนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการเจรจาต่อรองคือให้ทำเหมือนว่าคุณเป็นเพื่อนร่วมทีมที่กำลังหาทางออกที่ลงตัวร่วมกัน
การที่คุณยอมให้ครึ่งทางจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกดี แต่การยอมครึ่งทางไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ทริคง่ายๆ คือการเริ่มขอให้มากกว่าที่คุณต้องการ เพื่อให้คุณมีพื้นที่ให้ยอมให้คู่เจรจาได้ ในขณะที่คุณก็ยังได้สิ่งที่ต้องการอยู่ เขาก็แฮปปี้ คุณก็แฮปปี้ วินวินกันทั้งสองฝ่าย
3. เจรจากับคนที่มีอำนาจในการให้สิ่งที่คุณต้องการเท่านั้น
เวลาที่คุณโทรหาฝ่ายบริการลูกค้า คนที่คุณได้คุยด้วยจะเป็นแค่ “แนวหน้า” เป็นตัวแทนที่ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจ พนักงานก็จะบอกคุณว่าขอโทษด้วย พวกเขาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ พวกเขาเข้าใจคุณ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ และนี่คือกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้ทำให้คุณยอมแพ้ไป
จำไว้เสมอว่าอย่ายอมแพ้ แต่ให้ขอคุยกับคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทน ต้องมีคนที่ช่วยคุณได้อยู่แล้ว แต่แค่ต้องผ่านไปอีกสักสองสามด่าน แต่ถ้ายิ่งคุยยิ่งรู้สึกไม่คืบหน้า ลองทำตามวิธีต่อไปนี้
1. วางสายแล้วค่อยโทรใหม่ บริษัทใหญ่มีพนักงานบริการลูกค้าหลายคน ถ้าคุณลองโทรหลายๆ รอบ อาจได้เจอคนที่ช่วยคุณได้ในที่สุด
2. ขอยกเลิกบริการ ไม่ต้องทำจริง แค่พูดก็พอ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้คุณได้คุยกับคนที่ช่วยคุณได้ ทุกบริษัทพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่เสียลูกค้าไป เพราะราคาที่ต้องจ่ายในการหาลูกค้าใหม่นั้นมากกว่าการรักษาลูกค้าเก่ามาก ดังนั้นพวกเขาจะต้องเต็มใจลดค่าใช้จ่าย หรือเว้นค่าบริการให้คุณสักรอบบิลนึงอย่างแน่นอน
4. มีแผนสองเสมอ
บางครั้งคุณอาจจะไม่ได้อะไรเลยจากการเจรจาเรื่องราคา บางครั้งการลดยอดชำระในบิลก็อาจจะทำไม่ได้จริงๆ ในกรณีที่บิลของคุณราคาไม่ได้สูงมากอยู่แล้ว หรือบริษัทอาจคิดว่าการรักษาคุณไว้ไม่ได้เพิ่มรายได้อะไรเท่าไหร่ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น สิ่งที่ทำได้คืออาจจะขอบริการที่ดีขึ้นในราคาเดิม เช่น สำหรับแพ็คเกจโทรศัพท์มือถือ อาจลองขออินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ยิ่งคุณมีทางเลือกให้พวกเขาในการเจรจามากเท่าไหร่ ฝ่ายตรงข้ามยิ่งมีโอกาสเจอทางที่พวกเขาพอทำให้ได้มากเท่านั้น
5. รู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุด
ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการเจรจาที่ไม่จบสิ้นสักที การจะทำให้การเจรจาจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง คุณต้องรีบหาข้อสรุปให้เร็วที่สุด ซึ่งนั่นรวมถึงการรู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุดเจรจาด้วย ข้อเสนอของคุณอาจต่างกันจนไม่สามารถหาตรงกลางได้เลย หรือการลดราคามากกว่านี้อาจเป็นไปไม่ได้แล้ว ดังนั้นมันไม่คุ้มค่าที่จะถกเถียงกันต่อไป
การรู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุดคือควรรู้ก่อนว่าข้อเสนอที่ต่ำที่สุดที่คุณรับได้คืออะไร ลองถามตัวเองด้วยคำถามนี้ให้ชัดก่อนเริ่มเจรจา เมื่อรู้ตัวเลขแน่ชัดแล้ว คุณก็สามารถข้ามส่วนของความสับสนและหงุดหงิดไปได้เลย เพราะเมื่อไหร่ที่คุณรู้ว่าสิ่งที่คุณหวังสูงสุดมันไม่ได้ และฝ่ายตรงข้ามเสนอข้อเสนอที่ต่ำสุดที่คุณรับได้มา คุณสามารถปิดการเจรจาโดยไม่ต้องเถียงกันต่ออย่างไร้ประโยชน์
การรู้ว่ากรณีที่แย่ที่สุดที่รับได้คืออะไร จะช่วยให้คุณได้สิ่งที่ต้องการอยู่ดี และไม่ต้องเจรจาไปแบบไม่มีวันจบอีกด้วย
บางครั้งคุณอาจจะไม่ได้อะไรเลยจากการเจรจาเรื่องราคา บางครั้งการลดยอดชำระในบิลก็อาจจะทำไม่ได้จริงๆ ในกรณีที่บิลของคุณราคาไม่ได้สูงมากอยู่แล้ว หรือบริษัทอาจคิดว่าการรักษาคุณไว้ไม่ได้เพิ่มรายได้อะไรเท่าไหร่ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น สิ่งที่ทำได้คืออาจจะขอบริการที่ดีขึ้นในราคาเดิม เช่น สำหรับแพ็คเกจโทรศัพท์มือถือ อาจลองขออินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ยิ่งคุณมีทางเลือกให้พวกเขาในการเจรจามากเท่าไหร่ ฝ่ายตรงข้ามยิ่งมีโอกาสเจอทางที่พวกเขาพอทำให้ได้มากเท่านั้น
5. รู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุด
ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการเจรจาที่ไม่จบสิ้นสักที การจะทำให้การเจรจาจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง คุณต้องรีบหาข้อสรุปให้เร็วที่สุด ซึ่งนั่นรวมถึงการรู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุดเจรจาด้วย ข้อเสนอของคุณอาจต่างกันจนไม่สามารถหาตรงกลางได้เลย หรือการลดราคามากกว่านี้อาจเป็นไปไม่ได้แล้ว ดังนั้นมันไม่คุ้มค่าที่จะถกเถียงกันต่อไป
การรู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุดคือควรรู้ก่อนว่าข้อเสนอที่ต่ำที่สุดที่คุณรับได้คืออะไร ลองถามตัวเองด้วยคำถามนี้ให้ชัดก่อนเริ่มเจรจา เมื่อรู้ตัวเลขแน่ชัดแล้ว คุณก็สามารถข้ามส่วนของความสับสนและหงุดหงิดไปได้เลย เพราะเมื่อไหร่ที่คุณรู้ว่าสิ่งที่คุณหวังสูงสุดมันไม่ได้ และฝ่ายตรงข้ามเสนอข้อเสนอที่ต่ำสุดที่คุณรับได้มา คุณสามารถปิดการเจรจาโดยไม่ต้องเถียงกันต่ออย่างไร้ประโยชน์
การรู้ว่ากรณีที่แย่ที่สุดที่รับได้คืออะไร จะช่วยให้คุณได้สิ่งที่ต้องการอยู่ดี และไม่ต้องเจรจาไปแบบไม่มีวันจบอีกด้วย
ข้อเสนอที่ดีที่สุดจะเป็นของคนที่กล้าร้องขอ
เหมือนกับทุกอย่างในชีวิตนั่นแหละ การเจรจาที่ดีจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าคุณไม่กล้าเจรจาตั้งแต่ต้น มันไม่ยากเลยที่จะเรียนรู้พื้นฐานเชิงจิตวิทยาของการเจรจา สิ่งที่ยากคือการกล้าเจรจา และทำสิ่งที่ไม่คุ้นเคย (ถ้าคุณอยากฝึกมากกว่านี้ ลองอ่านบทความ ‘พูดอะไรใครๆ ก็ฟัง 8 วิธีฝึกตัวเองให้เป็นนักเจรจามืออาชีพ’ ของเราต่อได้ที่นี่)
เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าไม่กล้าเจรจาหรือต่อรองราคา ลองคิดว่าถ้าค่าใช้จ่ายลดลงในช่วงนี้จะช่วยคุณได้มากขนาดไหน และมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยถ้าคุณไม่กล้าเริ่ม ลองเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ คุณจะประหยัดค่าใช้จ่ายและมีเงินสดเหลือในมือได้อีกมากกว่าที่คุณคิด แล้วอะไรจะดีกว่าการลดรายจ่าย เพิ่มเงินสำรองในเวลาที่ทุกอย่างช่างไม่แน่นอนแบบนี้
อีกขั้นนึงของการเก็บเงินสำรองคือการวางแผนการเงินให้ดี หากอยากเรียนรู้เรื่องของการบริหารจัดการเงิน และการลงทุนเพิ่มเติมแบบเป็นขั้นตอน ตั้งแต่รู้หลักการออมเงิน รู้วิธีการลงทุนที่ถูกต้อง ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการเตรียมพร้อมก่อนเกษียณอายุ ต้องไม่พลาดที่จะเลือกเรียนรู้
กับหลักสูตร ‘Personal Finance บริหารเงินเป็น เห็นเงินล้าน’ โดย น.สพ. ธนัฐ ศิริวรางกูร หรือ หมอนัท คลินิกกองทุน นักวางแผนกองทุนชื่อดัง และวิทยากรพิเศษของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งเป็นผู้ที่ทำข้อมูลหนังสือชี้ชวนการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สามารถเรียนผ่านระบบการเรียนออนไลน์ของ SHiFT ACADEMY ที่มาพร้อมรูปแบบการเรียนที่เข้าใจง่าย เรียนออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา
สมัครเลยวันนี้! จากราคาเต็ม 4,990 บาท เหลือเพียง 2,990 บาท พิเศษโค้ดส่วนลด “PFF400” ลดราคาเพิ่มอีก 400 บาท เหลือเพียง 2,590 บาทเท่านั้น!
ราคาลดพิเศษนี้ถึงแค่ 30 พฤศจิกายน 2563
สมัครเลยที่: https://bit.ly/36EMSsy
เหมือนกับทุกอย่างในชีวิตนั่นแหละ การเจรจาที่ดีจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าคุณไม่กล้าเจรจาตั้งแต่ต้น มันไม่ยากเลยที่จะเรียนรู้พื้นฐานเชิงจิตวิทยาของการเจรจา สิ่งที่ยากคือการกล้าเจรจา และทำสิ่งที่ไม่คุ้นเคย (ถ้าคุณอยากฝึกมากกว่านี้ ลองอ่านบทความ ‘พูดอะไรใครๆ ก็ฟัง 8 วิธีฝึกตัวเองให้เป็นนักเจรจามืออาชีพ’ ของเราต่อได้ที่นี่)
เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าไม่กล้าเจรจาหรือต่อรองราคา ลองคิดว่าถ้าค่าใช้จ่ายลดลงในช่วงนี้จะช่วยคุณได้มากขนาดไหน และมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยถ้าคุณไม่กล้าเริ่ม ลองเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ คุณจะประหยัดค่าใช้จ่ายและมีเงินสดเหลือในมือได้อีกมากกว่าที่คุณคิด แล้วอะไรจะดีกว่าการลดรายจ่าย เพิ่มเงินสำรองในเวลาที่ทุกอย่างช่างไม่แน่นอนแบบนี้
อีกขั้นนึงของการเก็บเงินสำรองคือการวางแผนการเงินให้ดี หากอยากเรียนรู้เรื่องของการบริหารจัดการเงิน และการลงทุนเพิ่มเติมแบบเป็นขั้นตอน ตั้งแต่รู้หลักการออมเงิน รู้วิธีการลงทุนที่ถูกต้อง ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการเตรียมพร้อมก่อนเกษียณอายุ ต้องไม่พลาดที่จะเลือกเรียนรู้
กับหลักสูตร ‘Personal Finance บริหารเงินเป็น เห็นเงินล้าน’ โดย น.สพ. ธนัฐ ศิริวรางกูร หรือ หมอนัท คลินิกกองทุน นักวางแผนกองทุนชื่อดัง และวิทยากรพิเศษของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งเป็นผู้ที่ทำข้อมูลหนังสือชี้ชวนการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สามารถเรียนผ่านระบบการเรียนออนไลน์ของ SHiFT ACADEMY ที่มาพร้อมรูปแบบการเรียนที่เข้าใจง่าย เรียนออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา
สมัครเลยวันนี้! จากราคาเต็ม 4,990 บาท เหลือเพียง 2,990 บาท พิเศษโค้ดส่วนลด “PFF400” ลดราคาเพิ่มอีก 400 บาท เหลือเพียง 2,590 บาทเท่านั้น!
ราคาลดพิเศษนี้ถึงแค่ 30 พฤศจิกายน 2563
สมัครเลยที่: https://bit.ly/36EMSsy
Share this post