In Summary
ดังนั้น จะทำงานหรือเรียนต่อไม่มีตายตัวว่าควรทำอันไหนก่อนหลัง และ ณ จุดนี้ ถ้าหากเรามีเป้าหมายที่ดีและชัดเจน ‘ความเชื่อ’ ต่างๆ ก็ทำอะไรเราไม่ได้
เคยเห็นรุ่นพี่จบมาทำงานเลย ก็ได้เป็น Manager ในเวลาไม่กี่ปี
เรียนจบโท ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกตั้ง 10%
เลือกอะไรดี?
เรื่องนี้เชื่อว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่พึ่งเกิดในช่วง COVID-19 แน่นอน จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้คุยกับน้องๆ จบใหม่ พบว่ามีมาหลายปีแล้วที่ไม่รู้ว่า จะเรียนต่อก่อนหรือทำงานเลยดี
มาทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือทำงานก่อน สุดท้ายแล้วก็จะมาจบที่การทำงานอยู่ดี ไม่ว่างานลักษณะไหนก็ตาม โอเคนะ
> ความเชื่อ
โดยส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าในความเป็นจริงแต่ละคนมีความต้องการต่างกัน ในบทความนี้จึงอยากจะแชร์มุมมองของ HR ต่อตัวอย่างความเชื่อในการเลือกไปทำงานหรือเรียนต่อ เพื่อป้องกันการยึดถือความเชื่อที่ผิดๆ ในการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งครับ
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า มีปัจจัยจากภายนอก เช่น คนรอบตัว สภาพทางการเงิน หรือแบบอย่างที่เคยเห็นมา ที่ส่งผลให้เราเลือกไปทางใดทางหนึ่ง
การจะเลือกทำงานหรือเรียนต่อ ไม่มีทางไหนถูกหรือผิด แต่แรงจูงใจที่เลือกมีถูกมีผิด ดังนั้น ถ้ามาถามผมว่า ทำงานหรือเรียนต่อดี? ผมต้องถามกลับทันทีใน 0.1 วินาที
“เป้าหมายของเราคืออะไร?”
- การจะเลือกทำงานหรือเรียนต่อ ไม่มีทางไหนถูกหรือผิด แต่แรงจูงใจที่เลือกมีถูกมีผิด ดังนั้นถ้าจะทำงานหรือเรียนต่อ เราต้องถามกลับทันทีว่า “เป้าหมายของเราคืออะไร?”
- ความสำเร็จเกิดจากการลงมือทำ (ที่ชัดเจน) และการลงมือทำ (ที่ชัดเจน) ก็เกิดจากเป้าหมายที่ชัดเจนนั่นเอง ซึ่งการลงมือทำที่อาจจะไม่เหมาะสม บนรากฐานของเป้าหมายที่ถูกต้อง ก็ยังดีกว่าการลงมือทำที่สมบูรณ์แบบโดยปราศจากเป้าหมาย
- การตั้งเป้าหมายการทำงานที่ง่ายที่สุด คือการดูจาก Work Value หรือลักษณะการทำงานที่เราให้คุณค่า เช่น อยากทำงานกับคนเยอะๆ อยากมีโอกาสดูแลลูกน้อง อยากทำงานที่เงินดี อยากเป็นที่รู้จัก
ดังนั้น จะทำงานหรือเรียนต่อไม่มีตายตัวว่าควรทำอันไหนก่อนหลัง และ ณ จุดนี้ ถ้าหากเรามีเป้าหมายที่ดีและชัดเจน ‘ความเชื่อ’ ต่างๆ ก็ทำอะไรเราไม่ได้
เคยเห็นรุ่นพี่จบมาทำงานเลย ก็ได้เป็น Manager ในเวลาไม่กี่ปี
เรียนจบโท ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกตั้ง 10%
เลือกอะไรดี?
เรื่องนี้เชื่อว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่พึ่งเกิดในช่วง COVID-19 แน่นอน จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้คุยกับน้องๆ จบใหม่ พบว่ามีมาหลายปีแล้วที่ไม่รู้ว่า จะเรียนต่อก่อนหรือทำงานเลยดี
มาทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือทำงานก่อน สุดท้ายแล้วก็จะมาจบที่การทำงานอยู่ดี ไม่ว่างานลักษณะไหนก็ตาม โอเคนะ
> ความเชื่อ
โดยส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าในความเป็นจริงแต่ละคนมีความต้องการต่างกัน ในบทความนี้จึงอยากจะแชร์มุมมองของ HR ต่อตัวอย่างความเชื่อในการเลือกไปทำงานหรือเรียนต่อ เพื่อป้องกันการยึดถือความเชื่อที่ผิดๆ ในการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งครับ
- ไม่รู้จะทำงานอะไร/ที่บ้านอยากให้เรียนต่อ เลยไปเรียนต่อ
- จบการศึกษาสูงขึ้น โอกาสเติบโตในงานน่าจะดีขึ้น เลยไปเรียนต่อ
- เพื่อน/รุ่นพี่ ประสบความสำเร็จ/รวยเร็ว เลยไปทำงาน
- ไม่มีเงินใช้ เลยไปทำงาน
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า มีปัจจัยจากภายนอก เช่น คนรอบตัว สภาพทางการเงิน หรือแบบอย่างที่เคยเห็นมา ที่ส่งผลให้เราเลือกไปทางใดทางหนึ่ง
การจะเลือกทำงานหรือเรียนต่อ ไม่มีทางไหนถูกหรือผิด แต่แรงจูงใจที่เลือกมีถูกมีผิด ดังนั้น ถ้ามาถามผมว่า ทำงานหรือเรียนต่อดี? ผมต้องถามกลับทันทีใน 0.1 วินาที
“เป้าหมายของเราคืออะไร?”
> เป้าหมาย = รากฐานสู่ความสำเร็จ
“You can’t build a great building on a weak foundation. You must have a solid foundation if you’re going to have a strong superstructure.”
– Gordon B. Hinckley
ถ้าวิเคราะห์กันจริงจัง จะเห็นว่าความสำเร็จเกิดจากการลงมือทำ (ที่ชัดเจน) และการลงมือทำ (ที่ชัดเจน) ก็เกิดจากเป้าหมายที่ชัดเจนนั่นเอง การลงมือทำที่อาจจะไม่เหมาะสม บนรากฐานของเป้าหมายที่ถูกต้อง ดีกว่าการลงมือทำที่สมบูรณ์แบบโดยปราศจากเป้าหมาย
ตัวอย่าง:
ดังนั้น ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือทำงาน ถ้าตอบได้ชัดเจนว่าเราทำเพื่อพัฒนาหรือตอบอะไรในเป้าหมายของเรา นั่นคือการสร้าง Profile ของเราให้มั่นคง น่าเชื่อถือและชัดเจนยิ่งขึ้น และจะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น อย่าลืมว่า ‘ความสำเร็จ’ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างจากการสัมภาษณ์งาน: Profile ใครชัดเจนกว่า ได้เปรียบ เพราะผู้สัมภาษณ์จะจำคนที่มีคาแรคเตอร์ และเป้าหมายที่ชัดเจนกว่าได้ ถึงแม้อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับงานก็ตาม ดังนั้นคนที่ชัดเจนได้เปรียบแน่นอน ไม่ว่าจะทำงานหรือเรียนต่อ
DON’T – การตั้งเป้าหมายของเราไม่ควรตั้งเป็นอาชีพ หรืออะไรที่เฉพาะเจาะจง เช่น จะเป็นระดับผู้จัดการ อยากทำงานกับองค์กรใหญ่ เพราะในความเป็นจริง เป้าหมายเหล่านี้อาจเปลี่ยนไปก็ได้เมื่อเวลาผ่านไป โดยอาจจะเป็นผลมาจากสิ่งที่ไม่คาดคิด เช่น COVID-19
DO – ตั้งเป้าหมายไปที่เนื้องานหรือ Action ที่เราทำ เช่น อยากดูแลลูกน้อง อยากเดินทางบ่อย อยากได้ลงมือทำจริง อยากสอนคนอื่น เป็นต้น
ตัวอย่างเหล่านี้จะเห็นว่าเราสามารถปรับใช้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ หรือเป็นการเปิดโอกาสให้กว้างขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังชัดเจนในสิ่งที่อยากทำไปด้วยในตัว เช่น อยากสอนคนอื่น อาจจะสอนเรื่องการใช้ชีวิต หรืออาจจะสอนเรื่องการเขียนโปรแกรม ซึ่งสุดท้ายคือการสอนคนอื่นอยู่ดี
“You can’t build a great building on a weak foundation. You must have a solid foundation if you’re going to have a strong superstructure.”
– Gordon B. Hinckley
ถ้าวิเคราะห์กันจริงจัง จะเห็นว่าความสำเร็จเกิดจากการลงมือทำ (ที่ชัดเจน) และการลงมือทำ (ที่ชัดเจน) ก็เกิดจากเป้าหมายที่ชัดเจนนั่นเอง การลงมือทำที่อาจจะไม่เหมาะสม บนรากฐานของเป้าหมายที่ถูกต้อง ดีกว่าการลงมือทำที่สมบูรณ์แบบโดยปราศจากเป้าหมาย
ตัวอย่าง:
- เลือกจะเรียนต่อด้านธุรกิจที่เมืองนอก เพราะอยากต่อยอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีให้เอาไปปรับใช้ได้จริงกับบริษัท โดยที่เราไม่มีกำลังทรัพย์
- ทำงานบริษัทใหญ่มั่นคง เงินเดือนดี เพียงแค่ 2-3 ปีก็ก้าวหน้าไปไกลแล้ว โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราชอบงานนี้หรือไม่
ดังนั้น ไม่ว่าจะเรียนต่อหรือทำงาน ถ้าตอบได้ชัดเจนว่าเราทำเพื่อพัฒนาหรือตอบอะไรในเป้าหมายของเรา นั่นคือการสร้าง Profile ของเราให้มั่นคง น่าเชื่อถือและชัดเจนยิ่งขึ้น และจะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น อย่าลืมว่า ‘ความสำเร็จ’ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างจากการสัมภาษณ์งาน: Profile ใครชัดเจนกว่า ได้เปรียบ เพราะผู้สัมภาษณ์จะจำคนที่มีคาแรคเตอร์ และเป้าหมายที่ชัดเจนกว่าได้ ถึงแม้อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับงานก็ตาม ดังนั้นคนที่ชัดเจนได้เปรียบแน่นอน ไม่ว่าจะทำงานหรือเรียนต่อ
DON’T – การตั้งเป้าหมายของเราไม่ควรตั้งเป็นอาชีพ หรืออะไรที่เฉพาะเจาะจง เช่น จะเป็นระดับผู้จัดการ อยากทำงานกับองค์กรใหญ่ เพราะในความเป็นจริง เป้าหมายเหล่านี้อาจเปลี่ยนไปก็ได้เมื่อเวลาผ่านไป โดยอาจจะเป็นผลมาจากสิ่งที่ไม่คาดคิด เช่น COVID-19
DO – ตั้งเป้าหมายไปที่เนื้องานหรือ Action ที่เราทำ เช่น อยากดูแลลูกน้อง อยากเดินทางบ่อย อยากได้ลงมือทำจริง อยากสอนคนอื่น เป็นต้น
ตัวอย่างเหล่านี้จะเห็นว่าเราสามารถปรับใช้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ หรือเป็นการเปิดโอกาสให้กว้างขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังชัดเจนในสิ่งที่อยากทำไปด้วยในตัว เช่น อยากสอนคนอื่น อาจจะสอนเรื่องการใช้ชีวิต หรืออาจจะสอนเรื่องการเขียนโปรแกรม ซึ่งสุดท้ายคือการสอนคนอื่นอยู่ดี
Photo from: Unsplash
> ค้นหา ‘เป้าหมาย’ ได้ยังไง?
การตั้งเป้าหมายการทำงานที่ง่ายที่สุด คือการดูจาก Work Value หรือลักษณะการทำงานที่เราให้คุณค่า เช่น อยากทำงานกับคนเยอะๆ อยากมีโอกาสดูแลลูกน้อง อยากทำงานที่เงินดี อยากเป็นที่รู้จัก
ต้องบอกก่อนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ผิดนะครับ แต่ละคนมีสิทธิ์ที่อยากจะได้ลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันอยู่แล้ว วิธีที่ดีที่สุดในการค้นหา Work Value ของเรา คือการถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ (ในวงเล็บคือตัวอย่าง)
- อยากเห็น/อยากเป็นอะไรในวงกว้าง (วงสังคม/ท้องถิ่น/ประเทศ/โลก)?
- อยากทำ/อยากคลุกคลีกับงานแบบไหน (เจอคนเยอะ/แข่งขันสูง/Impact สูง)?
- ลักษณะของผู้นำ เพื่อนร่วมงาน และสภาพแวดล้อมแบบไหนที่เราสบายใจ (จริงจัง/สบายๆ/ลำดับขั้นชัดเจน)?
ดังนั้น คำถามเหล่านี้จะให้โครงร่างเป้าหมายของเรา เพื่อเป็นการต่อยอดไปสู่อาชีพ/บริษัทที่เข้าเกณฑ์เหล่านี้
> จะหางานทำหรือเรียนต่อดี?
กลับมาที่คำถามหลัก ‘จะหางานทำหรือเรียนต่อดี?’ ถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้
ดังนั้น จะทำงานหรือเรียนต่อไม่มีตายตัวว่าควรทำอันไหนก่อนหลัง และ ณ จุดนี้ ถ้าหากเรามีเป้าหมายที่ดีและชัดเจน ‘ความเชื่อ’ ต่างๆ ก็ทำอะไรเราไม่ได้ กลับกัน เราอาจจะเป็นคนสร้าง ‘ความเชื่อ’ ใหม่ๆ ให้คนอื่นด้วยซ้ำ
———————-
โชติช่วง กังวานกิจมงคล (เอิน)
Chotechuang Kangwankijmongkol
เกี่ยวกับผู้เขียน คุณเอิน จากเพจ ‘คุยกับ HR’ ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้สมัคร คนทำงานทั่วไปให้เข้าใจและเห็นภาพการทำงานของ HR มากขึ้น มีประสบการณ์โชกโชนทางด้าน Recruitment & Selection กว่า 6 ปี อ่าน Resume มากว่า 40,000 ฉบับ และสัมภาษณ์ผู้สมัครมาแล้วกว่า 2,000 คน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง HR Business Partner ของบริษัท FMCG ระดับโลก ดูแลธุรกิจเครื่องดื่มทั้งหมดของโซน Asia Pacific
กลับมาที่คำถามหลัก ‘จะหางานทำหรือเรียนต่อดี?’ ถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้
- เป้าหมายของเราคืออะไร?
- ทางเลือกที่เรามีคืออะไร?
- ทางเลือกเหล่านั้น จะสนับสนุนเป้าหมายของเราได้อย่างไรบ้าง?
ดังนั้น จะทำงานหรือเรียนต่อไม่มีตายตัวว่าควรทำอันไหนก่อนหลัง และ ณ จุดนี้ ถ้าหากเรามีเป้าหมายที่ดีและชัดเจน ‘ความเชื่อ’ ต่างๆ ก็ทำอะไรเราไม่ได้ กลับกัน เราอาจจะเป็นคนสร้าง ‘ความเชื่อ’ ใหม่ๆ ให้คนอื่นด้วยซ้ำ
———————-
โชติช่วง กังวานกิจมงคล (เอิน)
Chotechuang Kangwankijmongkol
เกี่ยวกับผู้เขียน คุณเอิน จากเพจ ‘คุยกับ HR’ ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้สมัคร คนทำงานทั่วไปให้เข้าใจและเห็นภาพการทำงานของ HR มากขึ้น มีประสบการณ์โชกโชนทางด้าน Recruitment & Selection กว่า 6 ปี อ่าน Resume มากว่า 40,000 ฉบับ และสัมภาษณ์ผู้สมัครมาแล้วกว่า 2,000 คน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง HR Business Partner ของบริษัท FMCG ระดับโลก ดูแลธุรกิจเครื่องดื่มทั้งหมดของโซน Asia Pacific
Share this post