In Summary
- Start Dee : EdTech เพื่อสังคม ยกระดับการศึกษาเด็กไทย ความท้าทายที่ต้องหาคำตอบ บทความนี้เรียบเรียงจาก SHiFT Your Future Live วิชาที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ตอนที่ 6
- แขกรับเชิญ ไอติม – พริษฐ์ วัชรสินธุ ซีอีโอ ผู้ก่อตั้งธุรกิจด้านการศึกษา (EdTech) ภายใต้ชื่อ “Start Dee”
- ผู้ดำเนินรายการ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการที่ปรึกษา SHiFT Your Future
บทบาทใหม่ของ “ไอติม” จาก “นักการเมืองรุ่นใหม่” สู่ “สตาร์ทอัพ” ด้านการศึกษา
จุดเริ่มต้นของ Start Dee เกิดขึ้นหลังจาก “ไอติม” เลือกเดินออกจากวงการการเมือง แล้วหันมาทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยมีหลักคิดในการเลือกอาชีพ 2 หลักใหญ่ ๆ คือ
1. จุดไหนที่อยู่แล้วสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมได้
2. ตรงไหนที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
สุดท้ายคำตอบที่ได้คือการทำสตาร์ทอัพด้านการศึกษา เพื่อสังคม
PainPoint สำคัญที่อยากเข้ามาแก้ไขปัญหาของการศึกษาไทย
จุดสำคัญคือการเริ่มดูว่าจะแก้ปัญหาอะไร ซึ่งมองว่า การศึกษาเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ต้องการเข้ามาแก้ไขปัญหาคือการทำให้การศึกษาของไทยสามารถเข้าถึงคนทั้งประเทศได้มากขึ้น
ที่น่าสนใจคือ “EdTech มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากปัจจัยที่คนรุ่นใหม่หันมาสนใจเรื่องของการศึกษามากขึ้น”
“ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ
วิธีหาพาร์ทเนอร์ผู้ร่วมงาน ของ Start Dee เหมือนหรือต่างกับสตาร์ทอัพทั่วไป
ปกติแล้วการหาพาร์ทเนอร์ผู้ร่วมงานของสตาร์ทอัพมักจะประกอบได้ด้วยคนที่มีความถนัดใน 3 ส่วนหลัก คือ เทคโนโลยี (Tech) , การเงิน (Finance) และ การตลาด (Marketing) แต่ในมุมของ “ไอติม” มีแนวทางการคัดเลือกพาร์ทเนอร์โดยการดู
1. ดูแผนธุรกิจว่าต้องใช้คนด้านไหน
2. ดูว่าเราไม่ถนัดงานด้านไหน แล้วหาคนที่ถนัดมาเติมเต็ม
ในมุมของ Start Dee ซึ่งเป็นธุรกิจด้านการศึกษา แล้วในส่วนตัวมีความสนใจด้านการศึกษาแต่ต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญมาก ๆ มาดูแลด้านนี้ ดังนั้นองค์ประกอบของ Start Dee จึงมี 3 ส่วนหลัก คือ
1. ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ มาดูแลเนื้อหาที่เป็นธุรกิจหลัก
2. ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล มาดูกระบวนการคัดเลือกคนเข้ามาเป็นบุคคลากรในบริษัท
โดยการคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน จะดูจากงานที่ทำล่าสุดว่า คน ๆ นั้นทำอะไรอยู่ มีทักษะอะไรมาบ้าง ซึ่งผลการศึกษาและระดับการศึกษา ก็ถือว่าสำคัญ แต่อาจจะดูเป็นอันดับหลัง ๆ เพราะมองว่าที่ผ่านมาโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของแต่ละคนไม่เท่ากัน
แต่อย่างไรก็ตามการที่มีคนเก่งที่เข้าใจเนื้อหาด้านวิชาการ เข้ามาร่วมงานก็จะช่วยเสริมศักยภาพการสอนได้
จุดเริ่มต้นของ Start Dee เกิดขึ้นหลังจาก “ไอติม” เลือกเดินออกจากวงการการเมือง แล้วหันมาทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยมีหลักคิดในการเลือกอาชีพ 2 หลักใหญ่ ๆ คือ
1. จุดไหนที่อยู่แล้วสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมได้
2. ตรงไหนที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
สุดท้ายคำตอบที่ได้คือการทำสตาร์ทอัพด้านการศึกษา เพื่อสังคม
PainPoint สำคัญที่อยากเข้ามาแก้ไขปัญหาของการศึกษาไทย
จุดสำคัญคือการเริ่มดูว่าจะแก้ปัญหาอะไร ซึ่งมองว่า การศึกษาเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ต้องการเข้ามาแก้ไขปัญหาคือการทำให้การศึกษาของไทยสามารถเข้าถึงคนทั้งประเทศได้มากขึ้น
ที่น่าสนใจคือ “EdTech มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากปัจจัยที่คนรุ่นใหม่หันมาสนใจเรื่องของการศึกษามากขึ้น”
“ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ
วิธีหาพาร์ทเนอร์ผู้ร่วมงาน ของ Start Dee เหมือนหรือต่างกับสตาร์ทอัพทั่วไป
ปกติแล้วการหาพาร์ทเนอร์ผู้ร่วมงานของสตาร์ทอัพมักจะประกอบได้ด้วยคนที่มีความถนัดใน 3 ส่วนหลัก คือ เทคโนโลยี (Tech) , การเงิน (Finance) และ การตลาด (Marketing) แต่ในมุมของ “ไอติม” มีแนวทางการคัดเลือกพาร์ทเนอร์โดยการดู
1. ดูแผนธุรกิจว่าต้องใช้คนด้านไหน
2. ดูว่าเราไม่ถนัดงานด้านไหน แล้วหาคนที่ถนัดมาเติมเต็ม
ในมุมของ Start Dee ซึ่งเป็นธุรกิจด้านการศึกษา แล้วในส่วนตัวมีความสนใจด้านการศึกษาแต่ต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญมาก ๆ มาดูแลด้านนี้ ดังนั้นองค์ประกอบของ Start Dee จึงมี 3 ส่วนหลัก คือ
1. ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ มาดูแลเนื้อหาที่เป็นธุรกิจหลัก
2. ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล มาดูกระบวนการคัดเลือกคนเข้ามาเป็นบุคคลากรในบริษัท
โดยการคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน จะดูจากงานที่ทำล่าสุดว่า คน ๆ นั้นทำอะไรอยู่ มีทักษะอะไรมาบ้าง ซึ่งผลการศึกษาและระดับการศึกษา ก็ถือว่าสำคัญ แต่อาจจะดูเป็นอันดับหลัง ๆ เพราะมองว่าที่ผ่านมาโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของแต่ละคนไม่เท่ากัน
แต่อย่างไรก็ตามการที่มีคนเก่งที่เข้าใจเนื้อหาด้านวิชาการ เข้ามาร่วมงานก็จะช่วยเสริมศักยภาพการสอนได้
Start Dee = Study+Dee
เหตุผลที่ทำให้เกิดเป็น Start Dee มาจากการสำรวจมุมมองของนักเรียนเกี่ยวกับการศึกษาที่พบว่า ถ้าพูดถึง Study นักเรียนส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงความกดดัน ความเครียด ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่อยากให้เป็นภาพจำของการศึกษาไทย และ Start Dee ต้องการเข้ามาแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา โดยการเป็นตัวช่วยให้เด็กสามารถเข้าถึงการเรียนได้ตลอดเวลาที่ต้องการถือเป็นโรงเรียนหลังที่ 2 มีบางคลิปที่ “ไอติม” ลงมือทำคลิปสอนด้วยตัวเอง โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ โดยเหตุผลที่ทำคลิปด้วยตัวเอง ก็เพราะต้องการเข้าใจว่า คนที่เป็นครูสอนผ่านคลิปวีดีโอ จะต้องเจออุปสรรคอะไรบ้าง ส่วนคลิปที่ผลิตมาเพื่อสอนนักเรียนผ่าน Start Dee ส่วนใหญ่มีเนื้อหาตามวิชาที่มีในโรงเรียน แต่ก็จะมีเพิ่มเติมวิชาอื่น ๆ ด้วย เช่น เรื่องเคล็ดลับการเรียน เป็นต้น
เบื้องต้น Start Dee จับกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กนักเรียนระดับ มัธยม 1-6 เพื่อช่วยนักเรียนที่ไปเรียนไปไม่ได้ในช่วงวิกฤติ โควิด-19 เนื่องจากมองว่า นักเรียนในกลุ่มนี้มีความเครียด และ ความกดดันสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามเป้าหมายของ Start Dee ตั้งใจจะขยายการเรียนครอบคลุมตั้งแต่ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยเชื่อว่าการปิดช่องว่างทางการศึกษาของเด็กนักเรียน จำเป็นต้องทำให้เด็กเข้าถึงการศึกษาที่เท่ากันตั้งแต่ระดับพื้นฐาน
เป้าหมายแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของนักเรียนไทย
มีผลสำรวจที่สะท้อนปัญหาการศึกษาของไทยได้อย่างชัดเจนว่า หลัก ๆ แล้วปัญหาการศึกษาไทยมี 2 ประเด็นใหญ่ คือ
1. ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสถานศึกษาที่มีคุณภาพ
2. ปัญหาในการเข้าถึงโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึง ดังนั้น Start Dee จึงเข้ามาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มช่องทางการศึกษานอกโรงเรียน ที่ทำให้นักเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงได้
โดยเลือกที่จะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เพราะปัจจุบันพบว่า สัดส่วนนักเรียนที่เข้าถึงคอมพิวเตอร์มีเพียง 50% ขณะที่นักเรียนที่มีรายได้น้อยที่เข้าถึงคอมพิวเตอร์มีเพียง 10-20% เท่านั้นขณะที่จำนวนนักเรียนที่เข้าถึงโทรศัพท์มือถือมีมากถึง 86% โดยเป็นนักเรียนที่มีรายได้น้อยเข้าถึงโทรศัพท์มือถือมากถึง 79%
3 เทคนิคการสอนของ Start Dee
การสอนเนื้อหาเฉพาะบุคคล
นำเกมมาใช้กระตุ้นให้การเรียนสนุกมากขึ้น
เปิดช่องทางการเรียนรู้ร่วมกัน
การก่อตั้ง และ การพัฒนาธุรกิจ ในมุมของ “ไอติม” จะพยายามให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เคยมีคำกล่าวว่า “ถ้าอยากรู้ว่าประเทศเป็นประชาธิปไตยหรือไม่.. ให้ไปดูที่ห้องเรียน” จุดสำคัญคือ ต้องรู้จุดแข็ง..จุดอ่อน ของตัวเอง ต้องฟังคนมีประสบการณ์ อย่ายึดติดกับความเชื่อส่วนบุคคล และ ยึดถือข้อมูลเป็นหลัก วิเคราะห์ไปตามเหตุผล สิ่งสำคัญคือ ต้องกล้าลองอะไรใหม่ ๆ ล้มเหลวไม่เป็นไร เอาความล้มเหลวมาเป็นข้อมูล วิเคราะห์และใช้พัฒนาแก้ไขปัญหา
Start Dee มีการเก็บข้อมูลของผู้เรียนภายในแอปพลิเคชั่น เพื่อดูพฤติกรรมของนักเรียน แล้วนำมาปรับปรุงแนวทางการผลิตสื่อและจัดข้อมูลการเรียนการสอนออนไลน์ให้สอดรับกับความต้องการของนักเรียน
ไม่ยึดติดหลักสูตรการศึกษาไทยจนเกินไป
แม้หลักสูตรการสอนหลัก ๆ ของ Start Dee จะอิงหัวข้อตามหลักสูตรของการศึกษาไทย แต่ต้องไม่ยึดติดกับหลักสูตรมากเกินไป โดยยกตัวอย่างการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ที่ตามหลักสูตรส่วนใหญ่จะนำเสนอมุมมองหลักเพียงข้างเดียว สิ่งสำคัญคือการนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนในต่างประเทศมาปรับใช้วิเคราะห์ เปรียบเทียบ 2 ด้าน ไม่ฟังความข้างเดียว แต่ขณะเดียวกันเนื้อหาก็อาจขัดกับคู่มือการสอนของไทย แต่อย่างไรก็ตาม การสอนของ Start Dee จะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาเป็นหลัก ซึ่งความต้องการในการยกระดับการศึกษาของ Start Dee ต้องการไปให้ไกลกว่าในหลักสูตร ต้องทำให้เด็กมีทักษะการเปรียบเทียบ การคิด วิเคราะห์ เพื่อให้เด็กคิดเป็น วิเคราะห์ได้
ครูที่มาสอน ต้องผ่านการทดสอบหลายด้าน ทั้งเรื่องการสัมภาษณ์ การทำข้อสอบในวิชาที่จะสอน เพื่อวัดผลเชิงวิชาการ ทั้งในหลักสูตรของ TOFEL , IELTS และที่สำคัญต้องผ่านการทดสอบการสอนหน้ากล้อง ซึ่งเป็นทักษะที่แตกต่างจากการสอนหน้าชั้นเรียนทั่วไป
ทีมงานของ Start Dee จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 70% เป็นส่วนรับผิดชอบด้านการผลิตเนื้อหาการเรียนการสอน ซึ่งจะแบ่งเป็นกลุ่มของครู และ กลุ่มผู้ผลิตสื่อ
Business Model ของ Start Dee
รายได้หลักของ Start Dee มาจากการเก็บค่าสมาชิกรายเดือน ที่มีการกำหนดราคาให้ต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อตอบโจทย์ DNA ของธุรกิจการศึกษาเพื่อสังคม ซึ่งการต้องเก็บค่าสมาชิก ก็เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ ที่สำคัญต้องทำให้ผู้ใช้เกิดความกังวลในค่าใช้จ่ายรายเดือนให้น้อยที่สุด ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่า ค่าสมาชิกรายเดือน เดือนละ 200-300 บาท ก็สามารถเข้าถึงเนื้อหาการสอนภายในแอปพลิเคชั่นได้ทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะหาผู้สนับสนุนภายนอกเพื่อหาทุนเข้ามาสนับสนุนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงเนื้อหาการเรียนภายในแอปพลเคชั่นได้ โดยข้อเสนอที่น่าสนใจคือ การเปิดพื้นที่ให้ทุนจากองค์กรธุรกิจ(Corporate Fund) เพื่อหาทุนเรียนฟรี และเปิดโอกาสในการเข้าฝึกงานในองค์นั้น ๆ ต่อยอดเรื่องอาชีพ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่อยากลงทุนด้านการศึกษา ซึ่งแอปพลิเคชั่น Start Dee มีระบบที่สามารถตรวจสอบพัฒนาการของผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาเพื่อวัดผลได้ด้วย
เรื่องของผู้ร่วมลงทุน สำคัญคือต้องมีเป้าหมายที่ตรงกัน คือ เรื่องการเงินมีไว้เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ส่วนตัวไม่อยากเห็นบริษัทนี้เป็นบริษัทที่หวังผลกำไร ซึ่งความสำเร็จสามารถชี้วัดได้ที่ด้านอื่นด้วย ไม่ใช่เรื่องของเงินอย่างเดียว
ซึ่งการวัดผล นอกจากจะวัดผลจากข้อมูลที่เก็บภายในแอปพลิเคชั่นแล้ว ยังมีการวัดผลการศึกษาที่โรงเรียนของเด็ก ว่าดีขึ้นหรือไม่ มีทักษะที่ดีขึ้นหรือไม่ และ สุดท้ายจะนำไปสู่การวัดคะแนน PISA ซึ่งเป็นการวัดทักษะของนักเรียนทั่วโลก ที่ปัจจุบันไทยอยู่ในอันดับที่ต่ำจนเกือบจะรั้งท้าย ทั้งในระบบโลก และระดับภูมิภาค
พฤติกรรมของนักเรียนไทย ที่ท้าทายที่สุด??
คือความไม่เข้าใจว่า “จะเรียนไปทำไม?” ซึ่งเป็นมุมมองของเด็กไทยที่มีต่อการศึกษา และเป็นความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ที่จะต้องทำให้เด็กนักเรียนสามารถหาคำตอบตรงนี้ให้ได้
เป้าหมายของ Start Dee คือการเป็นแอปพลิเคชั่นที่เข้าถึงเด็กนักเรียนมากที่สุด และ ทำให้ผู้ใช้แอปพลิเคชั่น มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจ ประยุกต์ใช้ คิด วิเคราะห์เป้าหมาย และ จุดประสงค์ของการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถตอบคำถามที่ว่า “จะเรียนไปทำไม?” ให้ได้ด้วยตัวเอง
วิชาที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ในมุมมองของ “ไอติม”
“การหาความสุข” คือวิชาที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ในมุมของไอติม ที่มองว่า เด็กไทยมีความเครียด มีความกดดันด้านการศึกษา จนบางครั้งเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว
“ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ
เหตุผลที่ทำให้เกิดเป็น Start Dee มาจากการสำรวจมุมมองของนักเรียนเกี่ยวกับการศึกษาที่พบว่า ถ้าพูดถึง Study นักเรียนส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงความกดดัน ความเครียด ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่อยากให้เป็นภาพจำของการศึกษาไทย และ Start Dee ต้องการเข้ามาแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา โดยการเป็นตัวช่วยให้เด็กสามารถเข้าถึงการเรียนได้ตลอดเวลาที่ต้องการถือเป็นโรงเรียนหลังที่ 2 มีบางคลิปที่ “ไอติม” ลงมือทำคลิปสอนด้วยตัวเอง โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ โดยเหตุผลที่ทำคลิปด้วยตัวเอง ก็เพราะต้องการเข้าใจว่า คนที่เป็นครูสอนผ่านคลิปวีดีโอ จะต้องเจออุปสรรคอะไรบ้าง ส่วนคลิปที่ผลิตมาเพื่อสอนนักเรียนผ่าน Start Dee ส่วนใหญ่มีเนื้อหาตามวิชาที่มีในโรงเรียน แต่ก็จะมีเพิ่มเติมวิชาอื่น ๆ ด้วย เช่น เรื่องเคล็ดลับการเรียน เป็นต้น
เบื้องต้น Start Dee จับกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กนักเรียนระดับ มัธยม 1-6 เพื่อช่วยนักเรียนที่ไปเรียนไปไม่ได้ในช่วงวิกฤติ โควิด-19 เนื่องจากมองว่า นักเรียนในกลุ่มนี้มีความเครียด และ ความกดดันสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามเป้าหมายของ Start Dee ตั้งใจจะขยายการเรียนครอบคลุมตั้งแต่ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยเชื่อว่าการปิดช่องว่างทางการศึกษาของเด็กนักเรียน จำเป็นต้องทำให้เด็กเข้าถึงการศึกษาที่เท่ากันตั้งแต่ระดับพื้นฐาน
เป้าหมายแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของนักเรียนไทย
มีผลสำรวจที่สะท้อนปัญหาการศึกษาของไทยได้อย่างชัดเจนว่า หลัก ๆ แล้วปัญหาการศึกษาไทยมี 2 ประเด็นใหญ่ คือ
1. ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสถานศึกษาที่มีคุณภาพ
2. ปัญหาในการเข้าถึงโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึง ดังนั้น Start Dee จึงเข้ามาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มช่องทางการศึกษานอกโรงเรียน ที่ทำให้นักเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงได้
โดยเลือกที่จะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เพราะปัจจุบันพบว่า สัดส่วนนักเรียนที่เข้าถึงคอมพิวเตอร์มีเพียง 50% ขณะที่นักเรียนที่มีรายได้น้อยที่เข้าถึงคอมพิวเตอร์มีเพียง 10-20% เท่านั้นขณะที่จำนวนนักเรียนที่เข้าถึงโทรศัพท์มือถือมีมากถึง 86% โดยเป็นนักเรียนที่มีรายได้น้อยเข้าถึงโทรศัพท์มือถือมากถึง 79%
3 เทคนิคการสอนของ Start Dee
การสอนเนื้อหาเฉพาะบุคคล
- หัวใจหลักของเทคนิคการสอนสไตล์ Start Dee โดยเนื้อหาที่จะใช้ในการสอนเด็กที่เข้ามาใช้แอปพลิเคชั่น จะต้องไม่เหมือนกัน และต้องเหมาะกับนักเรียนแต่ละคน โดยจะนำเทคโนโลยีเข้ามาวิเคราะห์ความต้องการศึกษาของแต่ละบุคคลให้มีความเหมาะสม
นำเกมมาใช้กระตุ้นให้การเรียนสนุกมากขึ้น
- พัฒนารูปแบบการสอนในแอปพลิเคชั่นให้ผู้เรียนรู้สึกเหมือนกับการเล่นเกม โดยมีการ Up Level เพื่อให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียน
เปิดช่องทางการเรียนรู้ร่วมกัน
- เปิดพื้นที่ให้นักเรียนที่ใช้แอปพลิเคชั่น สามารถสื่อสารกันได้ สามารถแลกเปลี่ยนแชร์โน๊ตที่จดระหว่างการเรียนระหว่างกันได้
การก่อตั้ง และ การพัฒนาธุรกิจ ในมุมของ “ไอติม” จะพยายามให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เคยมีคำกล่าวว่า “ถ้าอยากรู้ว่าประเทศเป็นประชาธิปไตยหรือไม่.. ให้ไปดูที่ห้องเรียน” จุดสำคัญคือ ต้องรู้จุดแข็ง..จุดอ่อน ของตัวเอง ต้องฟังคนมีประสบการณ์ อย่ายึดติดกับความเชื่อส่วนบุคคล และ ยึดถือข้อมูลเป็นหลัก วิเคราะห์ไปตามเหตุผล สิ่งสำคัญคือ ต้องกล้าลองอะไรใหม่ ๆ ล้มเหลวไม่เป็นไร เอาความล้มเหลวมาเป็นข้อมูล วิเคราะห์และใช้พัฒนาแก้ไขปัญหา
Start Dee มีการเก็บข้อมูลของผู้เรียนภายในแอปพลิเคชั่น เพื่อดูพฤติกรรมของนักเรียน แล้วนำมาปรับปรุงแนวทางการผลิตสื่อและจัดข้อมูลการเรียนการสอนออนไลน์ให้สอดรับกับความต้องการของนักเรียน
ไม่ยึดติดหลักสูตรการศึกษาไทยจนเกินไป
แม้หลักสูตรการสอนหลัก ๆ ของ Start Dee จะอิงหัวข้อตามหลักสูตรของการศึกษาไทย แต่ต้องไม่ยึดติดกับหลักสูตรมากเกินไป โดยยกตัวอย่างการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ที่ตามหลักสูตรส่วนใหญ่จะนำเสนอมุมมองหลักเพียงข้างเดียว สิ่งสำคัญคือการนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนในต่างประเทศมาปรับใช้วิเคราะห์ เปรียบเทียบ 2 ด้าน ไม่ฟังความข้างเดียว แต่ขณะเดียวกันเนื้อหาก็อาจขัดกับคู่มือการสอนของไทย แต่อย่างไรก็ตาม การสอนของ Start Dee จะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาเป็นหลัก ซึ่งความต้องการในการยกระดับการศึกษาของ Start Dee ต้องการไปให้ไกลกว่าในหลักสูตร ต้องทำให้เด็กมีทักษะการเปรียบเทียบ การคิด วิเคราะห์ เพื่อให้เด็กคิดเป็น วิเคราะห์ได้
ครูที่มาสอน ต้องผ่านการทดสอบหลายด้าน ทั้งเรื่องการสัมภาษณ์ การทำข้อสอบในวิชาที่จะสอน เพื่อวัดผลเชิงวิชาการ ทั้งในหลักสูตรของ TOFEL , IELTS และที่สำคัญต้องผ่านการทดสอบการสอนหน้ากล้อง ซึ่งเป็นทักษะที่แตกต่างจากการสอนหน้าชั้นเรียนทั่วไป
ทีมงานของ Start Dee จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 70% เป็นส่วนรับผิดชอบด้านการผลิตเนื้อหาการเรียนการสอน ซึ่งจะแบ่งเป็นกลุ่มของครู และ กลุ่มผู้ผลิตสื่อ
Business Model ของ Start Dee
รายได้หลักของ Start Dee มาจากการเก็บค่าสมาชิกรายเดือน ที่มีการกำหนดราคาให้ต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อตอบโจทย์ DNA ของธุรกิจการศึกษาเพื่อสังคม ซึ่งการต้องเก็บค่าสมาชิก ก็เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ ที่สำคัญต้องทำให้ผู้ใช้เกิดความกังวลในค่าใช้จ่ายรายเดือนให้น้อยที่สุด ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่า ค่าสมาชิกรายเดือน เดือนละ 200-300 บาท ก็สามารถเข้าถึงเนื้อหาการสอนภายในแอปพลิเคชั่นได้ทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะหาผู้สนับสนุนภายนอกเพื่อหาทุนเข้ามาสนับสนุนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงเนื้อหาการเรียนภายในแอปพลเคชั่นได้ โดยข้อเสนอที่น่าสนใจคือ การเปิดพื้นที่ให้ทุนจากองค์กรธุรกิจ(Corporate Fund) เพื่อหาทุนเรียนฟรี และเปิดโอกาสในการเข้าฝึกงานในองค์นั้น ๆ ต่อยอดเรื่องอาชีพ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่อยากลงทุนด้านการศึกษา ซึ่งแอปพลิเคชั่น Start Dee มีระบบที่สามารถตรวจสอบพัฒนาการของผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาเพื่อวัดผลได้ด้วย
เรื่องของผู้ร่วมลงทุน สำคัญคือต้องมีเป้าหมายที่ตรงกัน คือ เรื่องการเงินมีไว้เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ส่วนตัวไม่อยากเห็นบริษัทนี้เป็นบริษัทที่หวังผลกำไร ซึ่งความสำเร็จสามารถชี้วัดได้ที่ด้านอื่นด้วย ไม่ใช่เรื่องของเงินอย่างเดียว
ซึ่งการวัดผล นอกจากจะวัดผลจากข้อมูลที่เก็บภายในแอปพลิเคชั่นแล้ว ยังมีการวัดผลการศึกษาที่โรงเรียนของเด็ก ว่าดีขึ้นหรือไม่ มีทักษะที่ดีขึ้นหรือไม่ และ สุดท้ายจะนำไปสู่การวัดคะแนน PISA ซึ่งเป็นการวัดทักษะของนักเรียนทั่วโลก ที่ปัจจุบันไทยอยู่ในอันดับที่ต่ำจนเกือบจะรั้งท้าย ทั้งในระบบโลก และระดับภูมิภาค
พฤติกรรมของนักเรียนไทย ที่ท้าทายที่สุด??
คือความไม่เข้าใจว่า “จะเรียนไปทำไม?” ซึ่งเป็นมุมมองของเด็กไทยที่มีต่อการศึกษา และเป็นความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ที่จะต้องทำให้เด็กนักเรียนสามารถหาคำตอบตรงนี้ให้ได้
เป้าหมายของ Start Dee คือการเป็นแอปพลิเคชั่นที่เข้าถึงเด็กนักเรียนมากที่สุด และ ทำให้ผู้ใช้แอปพลิเคชั่น มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจ ประยุกต์ใช้ คิด วิเคราะห์เป้าหมาย และ จุดประสงค์ของการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถตอบคำถามที่ว่า “จะเรียนไปทำไม?” ให้ได้ด้วยตัวเอง
วิชาที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ในมุมมองของ “ไอติม”
“การหาความสุข” คือวิชาที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ในมุมของไอติม ที่มองว่า เด็กไทยมีความเครียด มีความกดดันด้านการศึกษา จนบางครั้งเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว
“การศึกษาไทย ไม่ได้ปลูกฝังเรื่องการบริหารจัดการอารมณ์ การหาความสุขในชีวิต การบริหารสมดุลในชีวิต ที่สำคัญคือ ต้องเรียนรู้การขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างที่เราไว้ใจ”
“ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ
สามารถรับชม LIVE เต็มๆย้อนหลังได้ที่
Share this post