ทักษะที่ต้องมีหากคิดจะเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล
ผู้นำที่ดี คือปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันธุรกิจสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ว่าแต่ผู้นำที่ดี ต้องมีทักษะแบบไหนบ้าง ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปเช็คอาการดูว่า ทักษะแบบไหนที่จำเป็นสำหรับผู้นำในยุคดิจิทัล และควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อตามเกมการแข่งขันให้ทัน
ทักษะที่ต้องมีหากคิดจะเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล
ทักษะที่ต้องมีหากคิดจะเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล
ทักษะการสื่อสาร (Communication)
ในอดีต อาจจะเป็นเรื่องที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ที่เจ้านายกับลูกน้องจะมีระยะห่างระหว่างกันค่อนข้างมาก เรียกว่าเป็นการปกครองแบบมีลำดับขั้นมากมาย ผู้นำจึงไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะในการสื่อสารมากนัก แต่ในยุคดิจิทัล บริษัทที่มีแนวคิดแบบนี้จะค่อยๆ ล้มหายตายจากไป เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้นำในยุคดิจิทัลสามารถสื่อสารกับพนักงานทุกคนในองค์กรได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
จึงทำให้ผู้นำต้องพัฒนาทักษะการสื่อสารให้ดีกว่าเดิม และต้องเข้าใจว่าตัวเองกำลังพูดอยู่กับใคร รวมทั้งต้องปรับปรุงเรื่องการใช้วาทศิลป์และมีข้อมูลให้มากพอเพื่อสื่อสารและทำให้คู่สนทนาใส่ใจในสิ่งที่กำลังพูด
CIO ของฟอร์ดคือ Marcy Klevorn คือผู้นำที่มีทักษะข้อนี้ เธอมักโพสต์วิดีโอสั้นๆ ที่เล่าถึงโปรดักต์ใหม่ๆ ความสำเร็จ และกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท วิธีนี้ทำให้เธอมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับพนักงาน
จากข้อนี้ จะเห็นได้ว่าการสื่อสารเป็นกุญแจสำคัญของผู้นำ ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในองค์กร และทำให้พนักงานรับรู้ความเป็นไปขององค์กรอยู่เสมอ
นำในยุคดิจิทัลต้องมีมีวิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้นำโดดเด่น ไม่เชื่อก็ลองพิจารณาสิ่งที่กูรูการตลาด Simon Sinek เคยกล่าวไว้ว่า
“ลูกค้าไม่มีทางรักบริษัทของคุณ ถ้าพนักงานของคุณเองยังไม่รัก”
การจะทำเช่นนั้นได้ แปลว่าคุณต้องมีวิสัยทัศน์และแสดงมันออกมา รวมทั้งมีความสามารถในการชักจูงให้คนอื่นเชื่อในสิ่งที่คุณเชื่อ ถ้าทำได้ ก็จะเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากขึ้นอีกเป็นกอง
Steve Jobs คือตัวอย่างที่ดีของการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เพราะไม่ง่ายเลยที่จะจูงใจพนักงานให้เชื่อหรือเห็นภาพเดียวกันกับเขา รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก อย่างสารพัดสินค้าของแอ๊ปเปิ้ล การนำบริษัทไปสู่ทิศทางที่ไม่คุ้นเคย อาจทำให้เกิดความสงสัย ไม่มั่นใจของพนักงานได้ แต่สตีฟ จ๊อบ ก็สามารถทำให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเขา ทำให้ลูกค้ารักในสินค้าและอยากร่วมงานกับแอ๊ปเปิ้ล ส่วนพนักงานยิ่งไม่ต้องพูดถึง มีใครบ้างที่ไม่ภูมิใจเมื่อบอกว่าทำงานที่บริษัทแอ๊ปเปิ้ล?
รู้เรื่องดิจิทัล (Digital Literacy)
งานวิจัยจาก Harvard Business Review และ MIT พบว่า จากการศึกษาผู้บริหาร 1,000 คน 90% เชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาแทบจะถูก disrupt จากโมเดลธุรกิจดิจิทัลกันเกือบทั้งนั้น และเมื่อถามถึงความสามารถในการรับมือ ก็พบว่า 70% เชื่อว่าพวกเขาไม่มีความสามารถมากพอที่จะปรับตัว ฟังแล้วดูน่ากลัวใช่มั้ยล่ะ?
ปัญหาในเรื่องนี้เกิดจากการที่ ผู้บริหารส่วนใหญ่ขององค์กรเป็นคนรุ่นเก่า การต้องมานั่งเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีและการตลาดแบบดิจิทัลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันเป็นเรื่องเฉพาะทาง ยิ่งเมื่อผู้คนมากมายหันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยี ผู้นำก็จะต้องมีเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาทักษะความรู้ที่เกี่ยวกับดิจิทัล จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ถ้าผู้นำไม่รู้ หรือกำหนดทิศทางด้านดิจิทัลไม่ได้ ก็ยากที่พนักงานจะเชื่อมั่น
รู้จักวางกลยุทธ์ (Strategy)
เมื่อสักครู่ เราพูดถึงวิสัยทัศน์ไปแล้ว แต่ลำพังเพียงการมีวิสัยทัศน์ ก็อาจยังไม่เพียงพอ เพราะต้องมีองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย ดังนั้นหากต้องการที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำจะต้องสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลให้เกิดขึ้นในองค์กรอย่างชัดเจนและมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ ในวันที่การเปลี่ยนแปลงในโลกของดิจิทัลส่งผลกระทบต่อองค์กร
ผู้นำต้องทุ่มเทและใช้ทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อทำให้วิสัยทัศน์ที่วางไว้เกิดขึ้นได้จริง และต้องวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางดิจิทัลด้วย
เข้าใจนวัตกรรม (Innovation)
ด้วยความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคดิจิทัล ผู้นำจะต้องรู้จักลองผิดลองถูกกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องปรับตัว และมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอในการทำงาน
สำหรับผู้นำหลายๆ คน นี่อาจเป็นความท้าทายที่ต้องลองผิดลองถูกกับวิธีใหม่ๆ และหันหลังให้กับวิธีเดิมๆ ทางธุรกิจที่พวกเขาคุ้นเคยมานาน แต่เชื่อเถอะว่ายิ่งเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเปิดโอกาสที่จะเติบโตมากเท่านั้น
ไม่เชื่อก็ดูแบรนด์หรูอย่าง Burberry ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการก้าวขึ้นมาเหนือคู่แข่งในตลาดได้โดยใช้วิธีการใหม่ๆ อย่างการใช้โซเชียลมีเดียในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Periscope หรือ Instagram
Definition of risk
ในอดีต อาจจะเป็นเรื่องที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ที่เจ้านายกับลูกน้องจะมีระยะห่างระหว่างกันค่อนข้างมาก เรียกว่าเป็นการปกครองแบบมีลำดับขั้นมากมาย ผู้นำจึงไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะในการสื่อสารมากนัก แต่ในยุคดิจิทัล บริษัทที่มีแนวคิดแบบนี้จะค่อยๆ ล้มหายตายจากไป เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้นำในยุคดิจิทัลสามารถสื่อสารกับพนักงานทุกคนในองค์กรได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
จึงทำให้ผู้นำต้องพัฒนาทักษะการสื่อสารให้ดีกว่าเดิม และต้องเข้าใจว่าตัวเองกำลังพูดอยู่กับใคร รวมทั้งต้องปรับปรุงเรื่องการใช้วาทศิลป์และมีข้อมูลให้มากพอเพื่อสื่อสารและทำให้คู่สนทนาใส่ใจในสิ่งที่กำลังพูด
CIO ของฟอร์ดคือ Marcy Klevorn คือผู้นำที่มีทักษะข้อนี้ เธอมักโพสต์วิดีโอสั้นๆ ที่เล่าถึงโปรดักต์ใหม่ๆ ความสำเร็จ และกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท วิธีนี้ทำให้เธอมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับพนักงาน
จากข้อนี้ จะเห็นได้ว่าการสื่อสารเป็นกุญแจสำคัญของผู้นำ ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในองค์กร และทำให้พนักงานรับรู้ความเป็นไปขององค์กรอยู่เสมอ
นำในยุคดิจิทัลต้องมีมีวิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้นำโดดเด่น ไม่เชื่อก็ลองพิจารณาสิ่งที่กูรูการตลาด Simon Sinek เคยกล่าวไว้ว่า
“ลูกค้าไม่มีทางรักบริษัทของคุณ ถ้าพนักงานของคุณเองยังไม่รัก”
การจะทำเช่นนั้นได้ แปลว่าคุณต้องมีวิสัยทัศน์และแสดงมันออกมา รวมทั้งมีความสามารถในการชักจูงให้คนอื่นเชื่อในสิ่งที่คุณเชื่อ ถ้าทำได้ ก็จะเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากขึ้นอีกเป็นกอง
Steve Jobs คือตัวอย่างที่ดีของการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เพราะไม่ง่ายเลยที่จะจูงใจพนักงานให้เชื่อหรือเห็นภาพเดียวกันกับเขา รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก อย่างสารพัดสินค้าของแอ๊ปเปิ้ล การนำบริษัทไปสู่ทิศทางที่ไม่คุ้นเคย อาจทำให้เกิดความสงสัย ไม่มั่นใจของพนักงานได้ แต่สตีฟ จ๊อบ ก็สามารถทำให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเขา ทำให้ลูกค้ารักในสินค้าและอยากร่วมงานกับแอ๊ปเปิ้ล ส่วนพนักงานยิ่งไม่ต้องพูดถึง มีใครบ้างที่ไม่ภูมิใจเมื่อบอกว่าทำงานที่บริษัทแอ๊ปเปิ้ล?
รู้เรื่องดิจิทัล (Digital Literacy)
งานวิจัยจาก Harvard Business Review และ MIT พบว่า จากการศึกษาผู้บริหาร 1,000 คน 90% เชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาแทบจะถูก disrupt จากโมเดลธุรกิจดิจิทัลกันเกือบทั้งนั้น และเมื่อถามถึงความสามารถในการรับมือ ก็พบว่า 70% เชื่อว่าพวกเขาไม่มีความสามารถมากพอที่จะปรับตัว ฟังแล้วดูน่ากลัวใช่มั้ยล่ะ?
ปัญหาในเรื่องนี้เกิดจากการที่ ผู้บริหารส่วนใหญ่ขององค์กรเป็นคนรุ่นเก่า การต้องมานั่งเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีและการตลาดแบบดิจิทัลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันเป็นเรื่องเฉพาะทาง ยิ่งเมื่อผู้คนมากมายหันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยี ผู้นำก็จะต้องมีเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาทักษะความรู้ที่เกี่ยวกับดิจิทัล จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ถ้าผู้นำไม่รู้ หรือกำหนดทิศทางด้านดิจิทัลไม่ได้ ก็ยากที่พนักงานจะเชื่อมั่น
รู้จักวางกลยุทธ์ (Strategy)
เมื่อสักครู่ เราพูดถึงวิสัยทัศน์ไปแล้ว แต่ลำพังเพียงการมีวิสัยทัศน์ ก็อาจยังไม่เพียงพอ เพราะต้องมีองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย ดังนั้นหากต้องการที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำจะต้องสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลให้เกิดขึ้นในองค์กรอย่างชัดเจนและมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ ในวันที่การเปลี่ยนแปลงในโลกของดิจิทัลส่งผลกระทบต่อองค์กร
ผู้นำต้องทุ่มเทและใช้ทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อทำให้วิสัยทัศน์ที่วางไว้เกิดขึ้นได้จริง และต้องวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางดิจิทัลด้วย
เข้าใจนวัตกรรม (Innovation)
ด้วยความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคดิจิทัล ผู้นำจะต้องรู้จักลองผิดลองถูกกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องปรับตัว และมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอในการทำงาน
สำหรับผู้นำหลายๆ คน นี่อาจเป็นความท้าทายที่ต้องลองผิดลองถูกกับวิธีใหม่ๆ และหันหลังให้กับวิธีเดิมๆ ทางธุรกิจที่พวกเขาคุ้นเคยมานาน แต่เชื่อเถอะว่ายิ่งเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเปิดโอกาสที่จะเติบโตมากเท่านั้น
ไม่เชื่อก็ดูแบรนด์หรูอย่าง Burberry ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการก้าวขึ้นมาเหนือคู่แข่งในตลาดได้โดยใช้วิธีการใหม่ๆ อย่างการใช้โซเชียลมีเดียในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Periscope หรือ Instagram
Definition of risk
กล้าได้กล้าเสีย (Risk-Tasking)
“สิ่งที่เสี่ยงที่สุด คือการไม่ยอมเสี่ยง ในโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความล้มเหลว จึงเกิดจากการไม่ยอมเสี่ยง”
นี่คือคำพูดสุดคลาสสิกของมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก หัวเรือใหญ่ของเฟซบุ๊ก ที่กระตุ้นให้คนกล้าเสี่ยง (อย่างมีเหตุผล) มานักต่อนัก
หลังจากที่เจ้าพ่อเฟซบุ๊กเทคโอเวอร์ Instagram มาแล้ว เขาได้เปิดตัวฟังก์ชัน Instagram Story ที่โดนโจมตีอย่างหนักว่าลอกเลียนแบบมาจาก Snapchat อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนผู้ใช้ฟังก์ชันดังกล่าวกว่า 200 ล้านคนต่อวันแสดงให้เห็นว่าเขาตัดสินใจถูก
หรืออย่างในกรณีศึกษาสตาร์ทอัพอย่าง theSkimm ที่เกิดจากอดีตนักข่าวสาวสองคนที่ลาออกจากสถานีโทรทัศน์ชื่อดัง เพราะตั้งใจจะเปิดกิจการ E-newsletter แบบสมัครสมาชิก เพื่อส่งตรงข่าวสั้น อ่านง่ายๆ ในทุกๆ เช้า โดยเจาะกลุ่มแม่บ้านหรือผู้หญิงที่สนใจข่าวสารแต่ไม่ต้องการความซับซ้อนหรือย่อยยากเกินไป โดยในตอนแรกพวกเธอต้องยอมกัดฟันเป็นหนี้บัตรเครดิต เพื่อหาเงินมาหมุนในบริษัทเลยทีเดียว ในช่วงแรกของการระดมทุน พวกเธอถูกปฏิเสธอย่างไม่ไยดีจากนักธุรกิจหลายร้อยคน แต่วันนี้ธุรกิจ E-newsletter ของพวกเธอมีสมาชิกกว่า 5 ล้านคน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพิธีกรชื่อดัง โอปราห์ วินฟรีย์
รู้จักปรับตัว (Adaptability)
การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน อาจเป็นต้นตอของปัญหาทางธุรกิจ และเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จขององค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงของระบบ Cloud บนคอมพิวเตอร์ที่สร้างปัญหาให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Salesforce และ Netflix มาแล้ว และต้องทุ่มเทแก้ปัญหากันอยู่นานมาก
จากกรณีดังกล่าว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้นำต้องมีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์ และกล้าตัดสินใจ เพื่อลดความเสียหายและผลกระทบที่จะเกิดกับบริษัทให้น้อยที่สุด
ในที่นี้ขอเสริมด้วยรายงานจาก Right Management ที่ระบุด้วยว่า 91% ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะคัดเลือกบุคลากรจากทัศนคติและความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
Search for talent or looking for employee
“สิ่งที่เสี่ยงที่สุด คือการไม่ยอมเสี่ยง ในโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความล้มเหลว จึงเกิดจากการไม่ยอมเสี่ยง”
นี่คือคำพูดสุดคลาสสิกของมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก หัวเรือใหญ่ของเฟซบุ๊ก ที่กระตุ้นให้คนกล้าเสี่ยง (อย่างมีเหตุผล) มานักต่อนัก
หลังจากที่เจ้าพ่อเฟซบุ๊กเทคโอเวอร์ Instagram มาแล้ว เขาได้เปิดตัวฟังก์ชัน Instagram Story ที่โดนโจมตีอย่างหนักว่าลอกเลียนแบบมาจาก Snapchat อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนผู้ใช้ฟังก์ชันดังกล่าวกว่า 200 ล้านคนต่อวันแสดงให้เห็นว่าเขาตัดสินใจถูก
หรืออย่างในกรณีศึกษาสตาร์ทอัพอย่าง theSkimm ที่เกิดจากอดีตนักข่าวสาวสองคนที่ลาออกจากสถานีโทรทัศน์ชื่อดัง เพราะตั้งใจจะเปิดกิจการ E-newsletter แบบสมัครสมาชิก เพื่อส่งตรงข่าวสั้น อ่านง่ายๆ ในทุกๆ เช้า โดยเจาะกลุ่มแม่บ้านหรือผู้หญิงที่สนใจข่าวสารแต่ไม่ต้องการความซับซ้อนหรือย่อยยากเกินไป โดยในตอนแรกพวกเธอต้องยอมกัดฟันเป็นหนี้บัตรเครดิต เพื่อหาเงินมาหมุนในบริษัทเลยทีเดียว ในช่วงแรกของการระดมทุน พวกเธอถูกปฏิเสธอย่างไม่ไยดีจากนักธุรกิจหลายร้อยคน แต่วันนี้ธุรกิจ E-newsletter ของพวกเธอมีสมาชิกกว่า 5 ล้านคน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพิธีกรชื่อดัง โอปราห์ วินฟรีย์
รู้จักปรับตัว (Adaptability)
การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน อาจเป็นต้นตอของปัญหาทางธุรกิจ และเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จขององค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงของระบบ Cloud บนคอมพิวเตอร์ที่สร้างปัญหาให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Salesforce และ Netflix มาแล้ว และต้องทุ่มเทแก้ปัญหากันอยู่นานมาก
จากกรณีดังกล่าว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้นำต้องมีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์ และกล้าตัดสินใจ เพื่อลดความเสียหายและผลกระทบที่จะเกิดกับบริษัทให้น้อยที่สุด
ในที่นี้ขอเสริมด้วยรายงานจาก Right Management ที่ระบุด้วยว่า 91% ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะคัดเลือกบุคลากรจากทัศนคติและความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
Search for talent or looking for employee
เห็นค่าของคนเก่ง (Talent Spotting)
ผู้นำในยุคดิจิทัลไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่ต้องสามารถมองเห็นภาพรวมขององค์กรได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ยิ่งไปกว่านั้น ต้องสามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าเพื่อประสบความสำเร็จในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้บริหารต้องสร้างแรงบันดาลใจในองค์กร เสริมสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลที่พร้อมจะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะเปิดรับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมล่าสุดอยู่เสมอ ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลไม่น้อยไปกว่าเทคโนโลยี เพราะต้องไม่ลืมว่ามนุษย์ก็เป็นกุญแจสำคัญเช่นกันในการขับเคลื่อนธุรกิจและเชื่อมต่อกับกลุ่มลูกค้า
ผู้นำในยุคดิจิทัลต้องสร้างสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและมนุษย์ เพราะความสมดุลนี้เองจะขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้
ที่มา: https://digitalmarketinginstitute.com/en-ca/blog/the-most-in-demand-skills-in-digital-leadership
ผู้นำในยุคดิจิทัลไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่ต้องสามารถมองเห็นภาพรวมขององค์กรได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ยิ่งไปกว่านั้น ต้องสามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าเพื่อประสบความสำเร็จในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้บริหารต้องสร้างแรงบันดาลใจในองค์กร เสริมสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลที่พร้อมจะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะเปิดรับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมล่าสุดอยู่เสมอ ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลไม่น้อยไปกว่าเทคโนโลยี เพราะต้องไม่ลืมว่ามนุษย์ก็เป็นกุญแจสำคัญเช่นกันในการขับเคลื่อนธุรกิจและเชื่อมต่อกับกลุ่มลูกค้า
ผู้นำในยุคดิจิทัลต้องสร้างสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและมนุษย์ เพราะความสมดุลนี้เองจะขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้
ที่มา: https://digitalmarketinginstitute.com/en-ca/blog/the-most-in-demand-skills-in-digital-leadership
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture