21 ปีกับแคนนอน ของ “ทรงพล สาหร่าย” เป้าหมายคือการส่งต่อวัฒนธรรมดีๆ ให้องค์กร
เชื่อว่าหลายคนที่ชอบไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ชอบวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่น ก็อาจจะอยากลองทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นดูบ้างสักครั้ง เพราะอยากจะได้สัมผัสการทำงานที่มีระบบระเบียบ ความใส่ใจรายละเอียดของการทำงานในทุกขั้นตอน ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ที่มาตั้งสำนักงานในประเทศไทย
Canon (แคนนอน) บริษัทที่คนไทยคุ้นเคยกับแบรนด์ พรินเตอร์อิงก์เจ็ท รวมถึง กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์สำนักงาน เป็นหนึ่งในองค์กรที่นำการทำงานแบบญี่ปุ่นเข้ามาใช้กับพนักงาน
“แคนนอน เป็นองค์กรที่สอนให้เรารู้จักคิดเป็นระบบ ทำงานร่วมกันเพื่ออนาคต ด้วยหลักปรัชญา ‘เคียวเซ’ ที่มุ่งเน้นเรื่องการใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม” ทรงพล สาหร่าย ผู้จัดการส่วนงาน คอมเมอร์เชียล โซลูชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดประเด็นให้สัมภาษณ์กับ SHiFT Your Future
21 ปีกับการทำงานที่แคนนอน ทำให้ ทรงพล ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างกับการบริหาร เช่น การเตรียมข้อมูลของญี่ปุ่นมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้าหรือผู้บริโภค บริษัทญี่ปุ่นจะสอนให้รู้จักเตรียมตัวก่อนที่จะนำเสนอโครงการต่างๆ และจะต้องคาดการณ์คำถามที่อาจจะถูกถาม แม้กระทั่งคาดการณ์ว่าโครงการมีโอกาสจะได้รับการอนุมัติหรือไม่
ซึ่งอาจจะเป็นธรรมชาติของคนญี่ปุ่นที่ต้องมีการเตรียมตัวสูง เตรียมตัวตลอดเวลา เพราะในประเทศญี่ปุ่นเองจะต้องเจอกับวิกฤตการณ์บ่อยครั้ง โดยเฉพาะแผ่นดินไหว จึงนำมาปรับใช้กับชีวิตการทำงาน คนทำงานก็จะต้องมีแผนที่ 1 แผนที่ 2 และมีแผนสำรอง
ทรงพล เล่าต่อไปว่า สิ่งสำคัญคือผู้บริหารต้องการให้พนักงานมีเหตุมีผลกับการนำเสนอ คนญี่ปุ่นเปิดใจยอมให้ลองทำอะไรใหม่ๆ ให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ในองค์กรมากๆ และเชื่อว่าทุกคนฝึกฝนได้ พนักงานที่มีทัศนคติที่ดีและมีความซื่อสัตย์ ประวัติการทำงานขาวสะอาด ก็จะได้รับการไว้วางใจ และได้รับมอบหมายให้ทำงานหลายส่วนที่มีความสำคัญในอนาคตขององค์กร ส่วนพนักงานที่ทำงานได้ไม่ตรงตามเป้าจะถูกนำไปพัฒนาฝึกฝนเพิ่มอย่างต่อเนื่องภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เป็นบริษัทที่มีความประนีประนอมมาก
ดูแลพาร์ทเนอร์ธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกัน
ในยุค Digital Disruption หลายองค์กรต่างขยับไปเปิดหน้าร้านขายสินค้าออนไลน์กันทั้งหมด ขายตรงกับผู้บริโภคโดยพึ่งพาพาร์ทเนอร์น้อยลง แต่บริษัทกลับมีนโยบายที่จะดูแลคู่ค้าอย่างดี และไม่แย่งส่วนแบ่งรายได้จากคู่ค้า
ทรงพล เล่าว่า ใน 5 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก จากการให้นโยบายโดยตรงของผู้บริหาร ปรับมาฟังคนที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยมากขึ้น ให้ผู้บริหารที่อยู่ในระดับกลางเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนงานและให้ข้อมูลมากขึ้น ให้สิทธิ์แสดงความเห็น และสามารถทำอะไรที่แตกต่างจากบริษัทแม่ได้ หรือสามารถปรับนโยบายตามพื้นที่ได้
ส่วนด้านการขาย บริษัทยังคงนโยบายที่จะให้พาร์ทเนอร์ ต่างๆ เป็นคนรุกตลาดออนไลน์มากกว่าทำเอง เพราะบริษัทให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์ โดยใช้วิธีส่งคนจากแคนนอนเข้าไปแนะนำพาร์ทเนอร์นำเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
“จริงๆ แล้วบริษัทจะนำเสนอสินค้าตรงถึงลูกค้าเองก็ได้ แต่เลือกที่จะสนับสนุนในทุกๆ ด้านให้พาร์ทเนอร์ของเราปรับตัวและเติบโตไปด้วยกัน”
ปัจจุบัน ทรงพล นอกจากจะมีหน้าที่ช่วยบริหารและให้คำแนะนำเพจของในองค์กรเองแล้ว ก็ยังต้องช่วยดูแลเพจของพาร์ทเนอร์ต่างๆ กว่า 10 เพจ ด้วย
Canon (แคนนอน) บริษัทที่คนไทยคุ้นเคยกับแบรนด์ พรินเตอร์อิงก์เจ็ท รวมถึง กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์สำนักงาน เป็นหนึ่งในองค์กรที่นำการทำงานแบบญี่ปุ่นเข้ามาใช้กับพนักงาน
“แคนนอน เป็นองค์กรที่สอนให้เรารู้จักคิดเป็นระบบ ทำงานร่วมกันเพื่ออนาคต ด้วยหลักปรัชญา ‘เคียวเซ’ ที่มุ่งเน้นเรื่องการใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม” ทรงพล สาหร่าย ผู้จัดการส่วนงาน คอมเมอร์เชียล โซลูชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดประเด็นให้สัมภาษณ์กับ SHiFT Your Future
21 ปีกับการทำงานที่แคนนอน ทำให้ ทรงพล ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างกับการบริหาร เช่น การเตรียมข้อมูลของญี่ปุ่นมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้าหรือผู้บริโภค บริษัทญี่ปุ่นจะสอนให้รู้จักเตรียมตัวก่อนที่จะนำเสนอโครงการต่างๆ และจะต้องคาดการณ์คำถามที่อาจจะถูกถาม แม้กระทั่งคาดการณ์ว่าโครงการมีโอกาสจะได้รับการอนุมัติหรือไม่
ซึ่งอาจจะเป็นธรรมชาติของคนญี่ปุ่นที่ต้องมีการเตรียมตัวสูง เตรียมตัวตลอดเวลา เพราะในประเทศญี่ปุ่นเองจะต้องเจอกับวิกฤตการณ์บ่อยครั้ง โดยเฉพาะแผ่นดินไหว จึงนำมาปรับใช้กับชีวิตการทำงาน คนทำงานก็จะต้องมีแผนที่ 1 แผนที่ 2 และมีแผนสำรอง
ทรงพล เล่าต่อไปว่า สิ่งสำคัญคือผู้บริหารต้องการให้พนักงานมีเหตุมีผลกับการนำเสนอ คนญี่ปุ่นเปิดใจยอมให้ลองทำอะไรใหม่ๆ ให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ในองค์กรมากๆ และเชื่อว่าทุกคนฝึกฝนได้ พนักงานที่มีทัศนคติที่ดีและมีความซื่อสัตย์ ประวัติการทำงานขาวสะอาด ก็จะได้รับการไว้วางใจ และได้รับมอบหมายให้ทำงานหลายส่วนที่มีความสำคัญในอนาคตขององค์กร ส่วนพนักงานที่ทำงานได้ไม่ตรงตามเป้าจะถูกนำไปพัฒนาฝึกฝนเพิ่มอย่างต่อเนื่องภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เป็นบริษัทที่มีความประนีประนอมมาก
ดูแลพาร์ทเนอร์ธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกัน
ในยุค Digital Disruption หลายองค์กรต่างขยับไปเปิดหน้าร้านขายสินค้าออนไลน์กันทั้งหมด ขายตรงกับผู้บริโภคโดยพึ่งพาพาร์ทเนอร์น้อยลง แต่บริษัทกลับมีนโยบายที่จะดูแลคู่ค้าอย่างดี และไม่แย่งส่วนแบ่งรายได้จากคู่ค้า
ทรงพล เล่าว่า ใน 5 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก จากการให้นโยบายโดยตรงของผู้บริหาร ปรับมาฟังคนที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยมากขึ้น ให้ผู้บริหารที่อยู่ในระดับกลางเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนงานและให้ข้อมูลมากขึ้น ให้สิทธิ์แสดงความเห็น และสามารถทำอะไรที่แตกต่างจากบริษัทแม่ได้ หรือสามารถปรับนโยบายตามพื้นที่ได้
ส่วนด้านการขาย บริษัทยังคงนโยบายที่จะให้พาร์ทเนอร์ ต่างๆ เป็นคนรุกตลาดออนไลน์มากกว่าทำเอง เพราะบริษัทให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์ โดยใช้วิธีส่งคนจากแคนนอนเข้าไปแนะนำพาร์ทเนอร์นำเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
“จริงๆ แล้วบริษัทจะนำเสนอสินค้าตรงถึงลูกค้าเองก็ได้ แต่เลือกที่จะสนับสนุนในทุกๆ ด้านให้พาร์ทเนอร์ของเราปรับตัวและเติบโตไปด้วยกัน”
ปัจจุบัน ทรงพล นอกจากจะมีหน้าที่ช่วยบริหารและให้คำแนะนำเพจของในองค์กรเองแล้ว ก็ยังต้องช่วยดูแลเพจของพาร์ทเนอร์ต่างๆ กว่า 10 เพจ ด้วย
นำสิ่งที่ได้รับมากว่า 21 ปี ถ่ายทอดสู่พนักงาน
“การที่มีผู้นำดี เพื่อนร่วมงานดี ทำให้เราอยากส่งต่อความรู้สึกให้กับทีมงาน”
ทีมงานของ ทรงพล เป็นทีมที่มีประสบการณ์ในการทำงานหลากหลายด้าน และ สามารถทำงานได้ทุกอย่างตั้งแต่ทางเรื่องเทคนิค ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ แต่ก็เป็นทีมที่มีสมาชิกที่อยู่กับองค์กรมาเป็นเวลายาวนาน มารวมอยู่ด้วยกัน จึงใช้วิธีบริหารงานบนพื้นฐานของการให้เกียรติกัน ไว้ใจกัน
“ผมเชื่อว่าการคุยกันและการให้เกียรติกันเป็นวิธีการสนับสนุนทีมที่ดี ทำให้พนักงานเปิดใจคุยกับเรา ทำให้ทีมทำงานได้โดยไม่มีปัญหา”
หน้าที่ของ ทรงพล คือ การทำให้พนักงานเห็นภาพว่างานที่ทำของแต่ละคนทำมันช่วยให้บริษัทสำเร็จได้อย่างไร เพราะหลายงานไปสาธิตสินค้า, แก้ปัญหาให้กับลูกค้า บางงานต้องช่วยส่วนงานอื่นโดยที่ไม่ใช่บทบาทของตัวเองโดยตรง จึงต้องหาวิธีนำงานแต่ละงานของทุกคน มาดูว่าแต่ละคนเมื่อทำงานภาพรวมกันแล้วช่วยบริษัทถึงเป้าหมายได้อย่างไร
หาความรู้เพิ่ม เพื่อส่งต่อให้ทีมงาน
เมื่อรู้ว่าต้องบริหารทีมให้ดีที่สุด ทรงพล จึงหาความรู้เพิ่มเติมเสมอจากการลงเรียนคอร์สออนไลน์ต่างๆ 1 ในคอร์สเรียนออนไลน์ที่ ทรงพล ลงเรียนและได้ใช้กับการบริหารจริงคือ คอร์ส “ออกแบบชีวิตการทำงานให้ลงตัว” ซึ่งหนึ่งในบทเรียนนั้นมีเรื่อง “Good Work Journal” เป็นเครื่องมือช่วยติดตามการทำงานในแต่ละวัน และทำให้การทำงานแต่ละวันมีความหมายมากขึ้น และเห็นคุณค่าต่องานที่เราทำทุกวัน
“ผมได้นำเรื่อง Good Work Journal มาใช้ เพื่อให้พนักงานได้ระบุว่าในแต่ละวันเขาทำงานอะไรบ้าง ซึ่งเป็นการสร้างนิสัยให้คนแยกแยะงานได้ ระหว่าง Learn(เรียนรู้อะไรบ้าง) Initiative(คิดอะไรใหม่ๆ ได้บ้าง) และ Help (ช่วยใครไปบ้าง) ขณะเดียวกันผู้บริหารอย่างเราจะได้เห็นว่าการที่พนักงานไปช่วยงานส่วนงานอื่นเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ พนักงานก็มีความมั่นใจจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้”
ทรงพล ยังเล่าต่อว่า หลังนำ Good Work Journal มาใช้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารอย่างชัดเจน คือ ปกติพนักงานจัดส่งรายงานเมื่อจบเคส เพื่อประเมินผลงานตัวเองซึ่งอาจจะเป็นครึ่งปีหรือ 1 ปี แต่ตอนนี้จะต้องทำทุกวัน ทำให้พนักงานรู้จักการจัดลำดับความสำคัญของงานมากขึ้น เป็นการสร้างนิสัยให้กับการทำงาน และยังช่วยให้เห็นความสามารถของพนักงานเพื่อขยายผลในการพัฒนาสายงานของพนักงานแต่ละคนได้ด้วย
“บางทีเราอาจจะคิดว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นมันใช่งานของเราจริงๆ หรือ แต่เมื่อกลับมาดู Good Work Journal ก็จะเห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นการช่วยบริษัทอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นงานในความรับผิดชอบโดยตรงของเราก็ตาม”
ทรงพล เชื่อว่า การที่พนักงานมีความสัมพันธ์ในงานที่ดีและระบบการทำงานเปลี่ยนไปเป็นแบบ Agile มากขึ้น ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้สามารถทำงานกับคนอื่นได้ง่ายขึ้น ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นสอนให้รู้จักการใช้ชีวิตของการทำงาน “ผมเปลี่ยนสายงานมาทุก 5 ปี จากพรีเซลล์ขึ้นมาทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ก็จะต้องเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอด ซึ่งการได้รับวัฒนธรรมองค์กรที่ดีก็จะทำให้เราอยากส่งต่อไปให้กับทีมงาน เพราะทุกคนอยากได้รับการสนับสนุนที่ดี ในการทำงานจากหัวหน้างาน และทีมผู้บริหาร เราจะต้องเปิดช่องทางการสื่อสารให้กับพนักงานเพื่อเข้าถึงความรู้สึกของแต่ละคนด้วยความเข้าใจในความแตกต่างของความคิดและประสบการณ์ เพราะถ้าเราไม่ทำให้พนักงานมีความสุข สนุกกับงานที่ทำอยู่ ก็อาจจะทำให้งานดำเนินต่อไปได้ยาก” ทรงพล กล่าวสรุป
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Remote Working จะยังเป็นเทรนด์ต่อไป แม้ผ่านวิกฤตโควิด
ทำไมการเรียนด้วย LMS ถึงมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนออนไลน์ทั่วไป
“การที่มีผู้นำดี เพื่อนร่วมงานดี ทำให้เราอยากส่งต่อความรู้สึกให้กับทีมงาน”
ทีมงานของ ทรงพล เป็นทีมที่มีประสบการณ์ในการทำงานหลากหลายด้าน และ สามารถทำงานได้ทุกอย่างตั้งแต่ทางเรื่องเทคนิค ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ แต่ก็เป็นทีมที่มีสมาชิกที่อยู่กับองค์กรมาเป็นเวลายาวนาน มารวมอยู่ด้วยกัน จึงใช้วิธีบริหารงานบนพื้นฐานของการให้เกียรติกัน ไว้ใจกัน
“ผมเชื่อว่าการคุยกันและการให้เกียรติกันเป็นวิธีการสนับสนุนทีมที่ดี ทำให้พนักงานเปิดใจคุยกับเรา ทำให้ทีมทำงานได้โดยไม่มีปัญหา”
หน้าที่ของ ทรงพล คือ การทำให้พนักงานเห็นภาพว่างานที่ทำของแต่ละคนทำมันช่วยให้บริษัทสำเร็จได้อย่างไร เพราะหลายงานไปสาธิตสินค้า, แก้ปัญหาให้กับลูกค้า บางงานต้องช่วยส่วนงานอื่นโดยที่ไม่ใช่บทบาทของตัวเองโดยตรง จึงต้องหาวิธีนำงานแต่ละงานของทุกคน มาดูว่าแต่ละคนเมื่อทำงานภาพรวมกันแล้วช่วยบริษัทถึงเป้าหมายได้อย่างไร
หาความรู้เพิ่ม เพื่อส่งต่อให้ทีมงาน
เมื่อรู้ว่าต้องบริหารทีมให้ดีที่สุด ทรงพล จึงหาความรู้เพิ่มเติมเสมอจากการลงเรียนคอร์สออนไลน์ต่างๆ 1 ในคอร์สเรียนออนไลน์ที่ ทรงพล ลงเรียนและได้ใช้กับการบริหารจริงคือ คอร์ส “ออกแบบชีวิตการทำงานให้ลงตัว” ซึ่งหนึ่งในบทเรียนนั้นมีเรื่อง “Good Work Journal” เป็นเครื่องมือช่วยติดตามการทำงานในแต่ละวัน และทำให้การทำงานแต่ละวันมีความหมายมากขึ้น และเห็นคุณค่าต่องานที่เราทำทุกวัน
“ผมได้นำเรื่อง Good Work Journal มาใช้ เพื่อให้พนักงานได้ระบุว่าในแต่ละวันเขาทำงานอะไรบ้าง ซึ่งเป็นการสร้างนิสัยให้คนแยกแยะงานได้ ระหว่าง Learn(เรียนรู้อะไรบ้าง) Initiative(คิดอะไรใหม่ๆ ได้บ้าง) และ Help (ช่วยใครไปบ้าง) ขณะเดียวกันผู้บริหารอย่างเราจะได้เห็นว่าการที่พนักงานไปช่วยงานส่วนงานอื่นเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ พนักงานก็มีความมั่นใจจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้”
ทรงพล ยังเล่าต่อว่า หลังนำ Good Work Journal มาใช้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารอย่างชัดเจน คือ ปกติพนักงานจัดส่งรายงานเมื่อจบเคส เพื่อประเมินผลงานตัวเองซึ่งอาจจะเป็นครึ่งปีหรือ 1 ปี แต่ตอนนี้จะต้องทำทุกวัน ทำให้พนักงานรู้จักการจัดลำดับความสำคัญของงานมากขึ้น เป็นการสร้างนิสัยให้กับการทำงาน และยังช่วยให้เห็นความสามารถของพนักงานเพื่อขยายผลในการพัฒนาสายงานของพนักงานแต่ละคนได้ด้วย
“บางทีเราอาจจะคิดว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นมันใช่งานของเราจริงๆ หรือ แต่เมื่อกลับมาดู Good Work Journal ก็จะเห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นการช่วยบริษัทอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นงานในความรับผิดชอบโดยตรงของเราก็ตาม”
ทรงพล เชื่อว่า การที่พนักงานมีความสัมพันธ์ในงานที่ดีและระบบการทำงานเปลี่ยนไปเป็นแบบ Agile มากขึ้น ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้สามารถทำงานกับคนอื่นได้ง่ายขึ้น ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นสอนให้รู้จักการใช้ชีวิตของการทำงาน “ผมเปลี่ยนสายงานมาทุก 5 ปี จากพรีเซลล์ขึ้นมาทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ก็จะต้องเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอด ซึ่งการได้รับวัฒนธรรมองค์กรที่ดีก็จะทำให้เราอยากส่งต่อไปให้กับทีมงาน เพราะทุกคนอยากได้รับการสนับสนุนที่ดี ในการทำงานจากหัวหน้างาน และทีมผู้บริหาร เราจะต้องเปิดช่องทางการสื่อสารให้กับพนักงานเพื่อเข้าถึงความรู้สึกของแต่ละคนด้วยความเข้าใจในความแตกต่างของความคิดและประสบการณ์ เพราะถ้าเราไม่ทำให้พนักงานมีความสุข สนุกกับงานที่ทำอยู่ ก็อาจจะทำให้งานดำเนินต่อไปได้ยาก” ทรงพล กล่าวสรุป
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Remote Working จะยังเป็นเทรนด์ต่อไป แม้ผ่านวิกฤตโควิด
ทำไมการเรียนด้วย LMS ถึงมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนออนไลน์ทั่วไป
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture