‘ตั้งคำถาม ตรวจสอบตรรกะ พยายามหาคนคิดต่าง’ 3 วิธีที่จะพัฒนา Critical Thinking ของคุณ
In Summary
หลายครั้งที่ผู้นำองค์กรใหญ่ๆ หลงมั่นใจว่าบริษัทตนเองไม่ว่าอย่างไรก็เป็นผู้นำตลาดที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ แต่สุดท้ายก็ต้องแทบเป็นลมเมื่อพบว่าลูกค้ากลับไม่เลือกที่จะต่อสัญญาแล้ว
หรือหลายครั้งที่บริษัทวิ่งหาบริษัทที่ปรึกษาเพราะการจัดการในองค์กรตนเองผิดพลาด พัฒนาตามเทคโนโลยีไม่ทัน หรือบอร์ดบริหารหัวเก่าไม่เข้าใจการทำงาน ซึ่ง เฮเลน ลี โบยกิวส์ (Helen Lee Bouygues) อดีตพาร์ทเนอร์จาก McKinsey & Company บริษัทให้คำปรึกษาชื่อดังได้เปิดเผยว่า จริงๆ แล้วสารพัดปัญหาทั้งหมดนี้เกิดจากสิ่งเดียวเลยคือการไม่มีทักษะ ‘การคิดเชิงวิพากษ์’ (Critical Thinking)
ผู้นำองค์กรที่มีปัญหามักจะไม่ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ มากพอ ไม่ประเมินให้ครอบคลุม ด่วนสรุปเกินไป หรือบางครั้งก็เลือกอิงจากหลักฐานที่สนับสนุนความต้องการของพวกเขา การไม่มีการทบทวนวิธีคิดของตนเอง ทำให้คนเรามักจะมั่นใจเกินไป และนั่นทำให้ผู้นำเหล่านี้ขาดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ไปอย่างหน้าเสียดาย
การคิดเชิงวิพากษ์คือการคิดอย่างมีเหตุผล ประเมินผลรอบด้าน คิดอย่างเป็นกลาง มองภาพจากความจริง หมั่นทบทวนวิธีคิดของตนเองเสมอ หรือทุกอย่างที่ตรงข้ามกับวิธีที่คิดของผู้นำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นแหละ การคิดแบบนี้ฝึกกันได้ไม่ต้องเป็นห่วงไป และนี่คือ 3 นิสัยง่ายๆ ที่คุณควรฝึกทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์ของคุณได้
หลายคนอาจจะบอกว่าที่ผ่านมาตนเองทำสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ถ้าหากทักษะการคิดวิพากษ์ยังไม่ดีขึ้น แสดงว่าคุณไม่ได้ทำอย่างสม่ำเสมอ การจะเพิ่มทักษะหรือนิสัยอะไรบางอย่างนั้น ต้องอาศัยการทำเป็นประจำ จนค่อยๆ ซึมซับไปจนถึงวันที่คุณทำได้เองอย่างไม่รู้ตัว
1. ตั้งคำถามกับข้อสรุปของตัวเอง
เฮเลนเล่าว่าหลายครั้งที่เธอเห็นบริษัทใหญ่ๆ ที่ไม่เคยตั้งคำถามกับข้อสรุปของตัวเอง ทำแบบเดิม ทั้งๆ ที่ถ้าคิดสักนิดอาจได้กำไรมากขึ้น เช่น บริษัทเสื้อผ้าที่มองกลุ่มลูกค้าผิดและตั้งราคาสูงเกิน ซึ่งถ้าหากตั้งต่ำกว่านี้อาจทำเงินได้มากกว่านี้
แน่นอนว่าการจะตั้งคำถามกับทุกการตัดสินใจนั้นยุ่งยากเกินไป และอาจทำให้เราเครียดเกินควรได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือเลือกจังหวะในการตั้งคำถามให้เหมาะสม กล่าวคือ ให้ตั้งคำถามกับการตัดสินใจใหญ่ๆ ที่ต้องการการคิดอย่างรอบคอบ เช่น เมื่อต้องวางกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัท ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ใหญ่ ควรตั้งคำถามกับตัวเองให้ครอบคลุม หาหลักฐานหรืองานวิจัยเกี่ยวกับการคาดการณ์ตลาดมารองรับ ใช้เวลากับการทบทวนข้อสรุปทั้งหมดนี้ มองหาตัวเลือก หรือตั้งคำถามจำพวก ‘ถ้าเกิดว่า’ เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจที่คุณเลือกนั้นมีรอยรั่วน้อยที่สุด
และการตั้งคำถามในลักษณะนี้คือเครื่องมือชั้นเยี่ยมที่ช่วยสร้างมุมมองใหม่ๆ และพัฒนากระบวนการคิดของคุณ
2. ตรวจสอบความถูกต้องของตรรกะ
เฮเลนยกตัวอย่างบริษัทผลิตชุดชั้นในที่มียอดขายตกฮวบ แต่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ เมื่อเธอเข้าไปตรวจสอบจริงๆ แล้วจึงพบว่าบริษัทนั้นผลิตชุดชั้นในแบบเดียวส่งออกไปทั่วโลก โดยเหมารวมว่าชุดชั้นในแบบนี้คือแบบที่ขายดีที่สุดและคนทั่วโลกต้องชอบ แต่จริงๆ แล้วแต่ละประเทศมีรสนิยมที่แตกต่างกัน และนั่นคือตัวอย่างการใช้ตรรกะที่ไม่ถูกต้องที่เรียกกว่าการ Generalization หรือการเหมารวมนั่นเอง
การใช้ตรรกะที่ไม่ถูกต้องอีกรูปแบบหนึ่งที่พบได้บ่อยคือรูปแบบของ Post Hoc คือการเชื่อว่าถ้าหาก A เกิดต่อจาก B นั่นหมายความ A ทำให้เกิด B ซึ่งนั่นไม่จริงเพราะสองสิ่งนี้อาจแค่เกิดต่อกัน แต่ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น การที่ผู้จัดการเชื่อว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นเพราะสุนทรพจน์ที่น่าสนใจของบริษัทในเดือนก่อน ซึ่งต้องตรวจสอบความเชื่อนี้ให้ดีด้วยการหาหลักฐาน หรือสถิติมาพิสูจน์ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ทิศทางการทำงานผิดเพี้ยนไปได้
3. มองหาความคิดที่แตกต่าง
มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่คนมักจะจับกลุ่มกับคนที่มีความเห็นและปฏิบัติตัวเหมือนกันเสมอ และในโลกออนไลน์ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเปิดมุมมองใหม่ได้ เพราะอัลกอริทึมของโซเชียลมักจะจดจำสิ่งที่เราสนใจ และหาแต่สิ่งเหล่านั้นมาให้ และนี่คือปัญหาใหญ่ เพราะเมื่อเราอยู่แต่กับคนที่คิดเหมือนเรา เราจะยิ่งมั่นใจในความคิดของตนเองมากขึ้น และความเชื่อของเราก็จะเปลี่ยนยากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่จะก้าวออกจากบับเบิลของตัวเอง เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ก่อนก็ได้ ถ้าคุณเป็นนักบัญชี ให้ลองหาเพื่อนที่อยู่แผนกการตลาด ลองฝึกตัวเองให้เข้าหาคนที่แตกต่างกับเรามากขึ้น พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับพวกเขา รับฟังความเห็นที่แตกต่าง เวลาขอคำแนะนำจากใคร อย่าเพิ่งแสดงอคติให้เขาเห็นว่าเราโน้มเอียงไปทางไหน ให้เขาพูดความเห็นที่แท้จริงของเขาออกมาก่อน และรับฟังก่อน นั่นจะทำให้เราเป็นนักคิดที่ดีขึ้น
นิสัยเหล่านี้อาจฟังดูง่าย แต่การจะปฏิบัติให้ได้เป็นประจำนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด คุณต้องเอาชนะความคิดแบบเดิมๆ ของตัวเองก่อน อดทน มุ่งมั่น และมีสติเสมอ คุณจะทำได้เป็นประจำ และกลายเป็นนักคิดวิพากษ์ที่รู้ทันและรอบคอบไปกับทุกขณะความคิดของตนเองแน่นอน
Elon Musk ยืนยัน critical thinking เป็นทักษะที่ต้องมี อ่านต่อ
Source
- เฮเลน ลี โบยกิวส์ อดีตพาร์ทเนอร์จาก McKinsey & Company เปิดเผยว่าปัญหามากมายที่องค์กรใหญ่พบเจอมาจากสาเหตุเดียว คือ การขาดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
- ผู้นำองค์กรมักจะเชื่อมั่นในความคิดของตนมากไป ด่วนสรุป เลือกหาหลักฐานมาสนับสนุนแต่สิ่งที่ตนเองต้องการ และนั่นคือสิ่งที่ตรงข้ามกับการคิดเชิงวิพากษ์ที่ต้องคิดอย่างรอบคอบและเป็นกลาง
- Critical Thinking เป็นทักษะที่ฝึกกันได้ด้วยการฝึก 3 วิธีนี้ ได้แก่ ตั้งคำถามกับข้อสรุปของตัวเอง ตรวจสอบความถูกต้องของตรรกะ มองหาความคิดและวิธีการที่แตกต่าง และนำมาปรับใช้
หลายครั้งที่ผู้นำองค์กรใหญ่ๆ หลงมั่นใจว่าบริษัทตนเองไม่ว่าอย่างไรก็เป็นผู้นำตลาดที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ แต่สุดท้ายก็ต้องแทบเป็นลมเมื่อพบว่าลูกค้ากลับไม่เลือกที่จะต่อสัญญาแล้ว
หรือหลายครั้งที่บริษัทวิ่งหาบริษัทที่ปรึกษาเพราะการจัดการในองค์กรตนเองผิดพลาด พัฒนาตามเทคโนโลยีไม่ทัน หรือบอร์ดบริหารหัวเก่าไม่เข้าใจการทำงาน ซึ่ง เฮเลน ลี โบยกิวส์ (Helen Lee Bouygues) อดีตพาร์ทเนอร์จาก McKinsey & Company บริษัทให้คำปรึกษาชื่อดังได้เปิดเผยว่า จริงๆ แล้วสารพัดปัญหาทั้งหมดนี้เกิดจากสิ่งเดียวเลยคือการไม่มีทักษะ ‘การคิดเชิงวิพากษ์’ (Critical Thinking)
ผู้นำองค์กรที่มีปัญหามักจะไม่ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ มากพอ ไม่ประเมินให้ครอบคลุม ด่วนสรุปเกินไป หรือบางครั้งก็เลือกอิงจากหลักฐานที่สนับสนุนความต้องการของพวกเขา การไม่มีการทบทวนวิธีคิดของตนเอง ทำให้คนเรามักจะมั่นใจเกินไป และนั่นทำให้ผู้นำเหล่านี้ขาดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ไปอย่างหน้าเสียดาย
การคิดเชิงวิพากษ์คือการคิดอย่างมีเหตุผล ประเมินผลรอบด้าน คิดอย่างเป็นกลาง มองภาพจากความจริง หมั่นทบทวนวิธีคิดของตนเองเสมอ หรือทุกอย่างที่ตรงข้ามกับวิธีที่คิดของผู้นำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นแหละ การคิดแบบนี้ฝึกกันได้ไม่ต้องเป็นห่วงไป และนี่คือ 3 นิสัยง่ายๆ ที่คุณควรฝึกทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์ของคุณได้
หลายคนอาจจะบอกว่าที่ผ่านมาตนเองทำสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ถ้าหากทักษะการคิดวิพากษ์ยังไม่ดีขึ้น แสดงว่าคุณไม่ได้ทำอย่างสม่ำเสมอ การจะเพิ่มทักษะหรือนิสัยอะไรบางอย่างนั้น ต้องอาศัยการทำเป็นประจำ จนค่อยๆ ซึมซับไปจนถึงวันที่คุณทำได้เองอย่างไม่รู้ตัว
1. ตั้งคำถามกับข้อสรุปของตัวเอง
เฮเลนเล่าว่าหลายครั้งที่เธอเห็นบริษัทใหญ่ๆ ที่ไม่เคยตั้งคำถามกับข้อสรุปของตัวเอง ทำแบบเดิม ทั้งๆ ที่ถ้าคิดสักนิดอาจได้กำไรมากขึ้น เช่น บริษัทเสื้อผ้าที่มองกลุ่มลูกค้าผิดและตั้งราคาสูงเกิน ซึ่งถ้าหากตั้งต่ำกว่านี้อาจทำเงินได้มากกว่านี้
แน่นอนว่าการจะตั้งคำถามกับทุกการตัดสินใจนั้นยุ่งยากเกินไป และอาจทำให้เราเครียดเกินควรได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือเลือกจังหวะในการตั้งคำถามให้เหมาะสม กล่าวคือ ให้ตั้งคำถามกับการตัดสินใจใหญ่ๆ ที่ต้องการการคิดอย่างรอบคอบ เช่น เมื่อต้องวางกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัท ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ใหญ่ ควรตั้งคำถามกับตัวเองให้ครอบคลุม หาหลักฐานหรืองานวิจัยเกี่ยวกับการคาดการณ์ตลาดมารองรับ ใช้เวลากับการทบทวนข้อสรุปทั้งหมดนี้ มองหาตัวเลือก หรือตั้งคำถามจำพวก ‘ถ้าเกิดว่า’ เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจที่คุณเลือกนั้นมีรอยรั่วน้อยที่สุด
และการตั้งคำถามในลักษณะนี้คือเครื่องมือชั้นเยี่ยมที่ช่วยสร้างมุมมองใหม่ๆ และพัฒนากระบวนการคิดของคุณ
2. ตรวจสอบความถูกต้องของตรรกะ
เฮเลนยกตัวอย่างบริษัทผลิตชุดชั้นในที่มียอดขายตกฮวบ แต่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ เมื่อเธอเข้าไปตรวจสอบจริงๆ แล้วจึงพบว่าบริษัทนั้นผลิตชุดชั้นในแบบเดียวส่งออกไปทั่วโลก โดยเหมารวมว่าชุดชั้นในแบบนี้คือแบบที่ขายดีที่สุดและคนทั่วโลกต้องชอบ แต่จริงๆ แล้วแต่ละประเทศมีรสนิยมที่แตกต่างกัน และนั่นคือตัวอย่างการใช้ตรรกะที่ไม่ถูกต้องที่เรียกกว่าการ Generalization หรือการเหมารวมนั่นเอง
การใช้ตรรกะที่ไม่ถูกต้องอีกรูปแบบหนึ่งที่พบได้บ่อยคือรูปแบบของ Post Hoc คือการเชื่อว่าถ้าหาก A เกิดต่อจาก B นั่นหมายความ A ทำให้เกิด B ซึ่งนั่นไม่จริงเพราะสองสิ่งนี้อาจแค่เกิดต่อกัน แต่ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น การที่ผู้จัดการเชื่อว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นเพราะสุนทรพจน์ที่น่าสนใจของบริษัทในเดือนก่อน ซึ่งต้องตรวจสอบความเชื่อนี้ให้ดีด้วยการหาหลักฐาน หรือสถิติมาพิสูจน์ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ทิศทางการทำงานผิดเพี้ยนไปได้
3. มองหาความคิดที่แตกต่าง
มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่คนมักจะจับกลุ่มกับคนที่มีความเห็นและปฏิบัติตัวเหมือนกันเสมอ และในโลกออนไลน์ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเปิดมุมมองใหม่ได้ เพราะอัลกอริทึมของโซเชียลมักจะจดจำสิ่งที่เราสนใจ และหาแต่สิ่งเหล่านั้นมาให้ และนี่คือปัญหาใหญ่ เพราะเมื่อเราอยู่แต่กับคนที่คิดเหมือนเรา เราจะยิ่งมั่นใจในความคิดของตนเองมากขึ้น และความเชื่อของเราก็จะเปลี่ยนยากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่จะก้าวออกจากบับเบิลของตัวเอง เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ก่อนก็ได้ ถ้าคุณเป็นนักบัญชี ให้ลองหาเพื่อนที่อยู่แผนกการตลาด ลองฝึกตัวเองให้เข้าหาคนที่แตกต่างกับเรามากขึ้น พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับพวกเขา รับฟังความเห็นที่แตกต่าง เวลาขอคำแนะนำจากใคร อย่าเพิ่งแสดงอคติให้เขาเห็นว่าเราโน้มเอียงไปทางไหน ให้เขาพูดความเห็นที่แท้จริงของเขาออกมาก่อน และรับฟังก่อน นั่นจะทำให้เราเป็นนักคิดที่ดีขึ้น
นิสัยเหล่านี้อาจฟังดูง่าย แต่การจะปฏิบัติให้ได้เป็นประจำนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด คุณต้องเอาชนะความคิดแบบเดิมๆ ของตัวเองก่อน อดทน มุ่งมั่น และมีสติเสมอ คุณจะทำได้เป็นประจำ และกลายเป็นนักคิดวิพากษ์ที่รู้ทันและรอบคอบไปกับทุกขณะความคิดของตนเองแน่นอน
Elon Musk ยืนยัน critical thinking เป็นทักษะที่ต้องมี อ่านต่อ
Source
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture