5 เคล็ดลับ เปลี่ยนความรู้สึกเบื่องานที่ทำให้มีพลัง

ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหนก็ตาม ทุกคนมีอารมณ์ “เบื่องาน” ที่ตัวเองทำซ้ำ วนลูปไปมา แม้ว่างานนั้นจะเป็นงานที่วิเศษที่สุดในโลก หรือสร้างรายได้มหาศาลเพียงใดก็ตาม แต่มนุษย์ย่อมมีความคิดที่อยากจะเปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยนลูปชีวิต เพื่อค้นหาความท้าทายใหม่ๆ เพื่อให้ชีวิตได้มีสีสันไม่จำเจ

การเปลี่ยนงานเป็นเรื่องปกติของมนุษย์วัยทำงานทุกคน เพื่อค้นหาสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ แต่เชื่อเถอะว่าแม้จะเจอสิ่งที่ตัวเองชอบในวันนี้ อนาคตมันก็จะกลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อเหมือนเคย หากเราทำ และอยู่กับมันทุกวันเป็นเวลานาน และอารมณ์เบื่องานก็จะกลับมาครอบงำจิตใจเราอีกครั้ง

แต่การเปลี่ยนงานใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ การเปลี่ยนงานเพื่อหางานใหม่ยิ่งเป็นเรื่องที่ยาก และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะตกงานมากกว่าได้งานทำ ดังนั้นในเมื่อมีข้อจำกัดนี้มาเป็นปัจจัยให้เราได้ขบคิด ไตร่ตรอง ก็คงต้องลองเปลี่ยนความคิดที่จะอยู่กับงานเดิมๆ ให้ได้อย่างไม่รู้สึกอึดอัด เพื่อวันข้างหน้าเราเจองานที่เหมาะสมก็ค่อยโบยบินไปสู่เส้นทางที่ต้องการ กับ 7 เคล็ดลับ เปลี่ยนความรู้สึกเบื่องานที่ทำให้มีพลัง
  1. รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร
เราต้องรู้ว่าที่เรามาอยู่ตรงนี้ ในองค์กรแห่งนี้ เรามาทำงาน ทำงานเพื่อหาเงิน หารายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เลี้ยงครอบครัว ดังนั้นเราต้องรู้ใจตัวเองก่อนว่า ตอนนี้เรามาทำงานเพื่ออะไร เป้าหมายของการทำงานที่ทำคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป้าหมายของเราคือ การหาเงินเพื่อไปซื้อความสุขในแบบที่เราต้องการ ก็ให้มองที่เป้าหมายไว้ก่อนว่าที่เราทำก็เพื่อความสุขของตัวเราเอง ทำเพื่อเติมเต็มความฝันที่ไม่เคยทำได้ ให้สามารถได้ หรือหากว่าเราต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ก็คงต้องมองไปที่ครอบครัวที่อยู่ข้างหลัง เพื่อให้เป็นเหมือนแรงผลักดันในการต่อสู้กับความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ เพราะครอบครัวที่เราต้องดูแล ต่างมองเราคือฮีโร่ที่จะพากันไปสู่ชีวิตที่ดีในแต่ละช่วงเวลา

2. รู้จักงานของตัวเอง และรู้จักองค์กรที่ทำงานดีพอหรือยัง

เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เราเลือกจะมาสมัครงานในองค์กรที่เราอยากจะเข้าไปทำงานด้วย ว่าตัวเรารู้ว่ามีหน้าที่หรือขอบเขตการทำงานอย่างชัดเจนดีเพียงพอก่อนจะตัดสินใจเซ็นสัญญาเพื่อเริ่มงานหรือไม่ รวมทั้งศึกษากฎระเบียบ ข้อปฏิบัติขององค์กร ตลอดจนผลประโยชน์และสวัสดิการที่องค์กรจะมอบให้ว่าเป็นอย่างไรเหมาะสมหรือไม่

หลายครั้งที่คนเรามักจะพลาดในการเลือกที่ทำงานไม่ตรงกับสิ่งที่ตัวเองถนัดหรือต้องการทำ เพียงเพราะต้องรีบหางานทำ หาเงินมาใช้จ่าย หรือคว้างานนี้ไว้ก่อนดีกว่าที่จะปล่อยให้ตัวเองตกงาน แต่พอเข้ามาทำงานจริงแล้ว กลับรู้สึกไม่มีความสุข หรืองานที่ทำอยู่ไม่ตรงกับความถนัด แต่ในเมื่อเข้ามาทำแล้วก็คงต้องเรียนรู้ศึกษามันให้รอบด้าน เพราะในทุกๆ เรื่องราวใหม่ที่เข้ามาในชีวิต มันมีอะไรให้เราได้เรียนรู้และทดสอบตัวเองอยู่เสมอ ดังนั้นลองเปลี่ยนมุมมองว่า ที่เรามาทำงานในทุกวันนี้ก็เหมือนเป็นการมาเรียนรู้สิ่งต่างๆ แต่เป็นการเรียนที่ได้เงินทุกเดือน ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกว่า การมาทำงานในทุกๆ วันจะทำให้เราเพิ่มพูนทักษะชีวิต แถมยังได้เงินจากการเรียนอีกด้วย

3. รู้ว่าเรามาที่ทำงาน เพื่อทำงาน

การทำงานก็เพื่องาน เพื่อเงิน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่หลายครั้งมันมักถูกหล่อหลอมความรู้สึกไปด้วยสังคมเพื่อนร่วมงาน ที่อาจจะมีทั้งดีและแย่ แต่เราต้องตั้งสติ และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนก่อนว่า ไม่มีที่ไหนสมบูรณ์แบบ ไม่ไม่มีที่ไหนไม่มีปัญหา ดังนั้นสังคมการทำงานย่อมมีทั้งปัญหาที่เราควบคุมได้แบบเล็กๆ น้อยๆ หรือควบคุมไม่ได้โดยเฉพาะจากความคิดของคนอื่น

Photo from: Unsplash

เพื่อนร่วมงานคือคนที่เราไม่ได้รู้จักเขามาตั้งแต่เด็ก หรือเป็นเพื่อนที่เติบโตมาด้วยกันเหมือนสมัยเรียน เราอาจต้องแบ่งความรู้สึกให้ชัดเจนว่า เพื่อนร่วมงาน ก็คือ เพื่อนร่วมงาน ที่อาจมีทั้งดีและร้าย อาจมีทั้งการให้ใจ และการใส่ร้ายป้ายสี หรืออิจฉาริษยา

ถ้าเป็นอย่างนี้ให้คิดเสียว่า “เขาก็แค่คนที่ทำงานให้องค์กรเหมือนๆ กับเรา” ไม่จำเป็นต้องคาดหวังว่าเขาจะดีเหมือนเพื่อนสมัยเรียน หรือว่าจะคบหากันได้สนิทใจเหมือนเพื่อนเก่าทั้งนี้ก็เพื่อความสบายใจของตัวเราเอง มีความสัมพันธ์แบบพอประมาณเพื่อให้รู้ว่าเรายังมีสังคมนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของชีวิต เพื่อให้เราไม่ต้องคาดหวังหรือไว้ใจคนผิดจนต้องมาเจ็บใจภายหลัง และพาลเบื่องาน เบื่อที่ทำงาน กระทบต่อสภาพจิตใจตัวเองไปอีก ขอเลือกวางความรู้สึกและสถานะให้ถูกจุด แล้วมันจะทำให้เรามีความสุขกับสังคมที่ทำงานเอง

4. รู้จักพักผ่อนทั้งกาย ใจ และสมอ

การพักผ่อนเป็นเหมือนรางวัลของชีวิต ในวันที่เราตรากตรำทำงานหนักมาตลอดหลายเดือนหรือหลายปี บางทีมันก็ย่อมมีความรู้สึกเหนื่อยหน่าย และหมดไฟบ้าง ฉะนั้นเราต้องให้เวลาตัวเองพักผ่อนบ้าง พักเพื่อชาร์จพลัง ชาร์จความรู้สึก หยุดลูปชีวิตหนูถีบจักรชั่วคราวแล้วสร้างความสุขให้กับตัวเองโดยที่ไม่มีอะไรมากั้น

หากไม่รู้ว่าจะมีเวลาไปพักผ่อนยาวๆ ได้ตอนไหน ลองใช้เวลาหลังเลิกงานหรือหยุดเสาร์ – อาทิตย์ พักผ่อนเป็นช่วงสั้นๆ ดู ง่ายที่สุดก็คือ การวางมือถือ แท็บเล็ต หรือโน๊ตบุ๊ก ไว้ไกลๆ ตัวเป็นการชั่วคราว แล้วหาอะไรอย่างอื่นทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำงานบ้านๆ เล็กๆ น้อยๆ หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงตัวโปรดเพื่อให้เราได้หยุดคิดเรื่องงานบ้าง แต่ถ้าหากมีเวลาพักผ่อนหลายวัน ก็ควรให้เวลากับตัวเองในการไปพักผ่อนต่างจังหวัด โดยไม่ต้องเอางานไปทำ เพื่อให้ทั้งกาย ใจ และสมองได้มีเวลาพักอย่างจริงจัง เชื่อสิว่าเราจะรู้สึกดีขึ้นอย่างแน่อน
Photo from: Unsplash

5. รู้จักตั้งสติ และมีสมาธิกับตัวเองทุกครั้งเมื่อเจอปัญหา

แน่นอนว่าการทำงานทุกๆ อาชีพ ทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ย่อมมีอุปสรรคเข้ามาเสมอ จงอย่าสติแตกหรือตื่นเต้นตกใจไปกับมัน ให้พยายามตั้งสติแล้วค่อยๆ คิดหาทางแก้ไข ให้ถือว่าปัญหาและอุปสรรคเป็นเรื่องท้าทายที่เราต้องผ่านไปให้ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกๆ ครั้ง มันคือบททดสอบความสามารถของตัวเราที่จะทำให้เราพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกระดับ หากเรามองว่าความรู้สึกเบื่องานเพราะได้ทำแต่สิ่งซ้ำๆ เดิมๆ ทุกวัน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาให้รับมือก็ให้ลองปรับแนวคิดจากวิกฤตมาเป็นโอกาส เพื่อให้เราสามารถแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ ไม่แน่ว่าการแก้ปัญหาหรือวิกฤตในการทำงานครั้งนั้น อาจจะไปเตะตาผู้หลักผู้ใหญ่กลายเป็นเป็นใบเบิกทางต่อความก้าวหน้าของตัวเราเองก็เป็นได้

หากคุณอยากเรียนรู้วิธีการออกแบบชีวิตอย่างไรให้ตัวคุณเองสามารถมีชีวิตที่มีความสุขได้ทั้งหน้าที่การงาน ชีวิตส่วนตัว รวมทั้งการรับมือกับสิ่งรอบตัวที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ให้มันถูกควบคุมได้จากตัวเราเอง

คอร์ส ‘Designing Your Work Life: ออกแบบชีวิตการทำงานให้ลงตัว’

สอนโดย ดร. เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิ์ผล (ดร.ปัง) นักจิตวิทยาที่ปรึกษาที่คอยให้คำปรึกษาและเป็นเทรนเนอร์ให้องค์กรในเรื่อง Design Thinking และวิทยากรที่ได้รับการรับรองเพียงคนเดียวในประเทศไทยจาก บิล เบอร์เนตต์ (Bill Burnett) และ เดฟ อีวานส์ (Dave Evans) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชีวิตผู้เขียน Designing Your Life และ Designing Your Work Life หนังสือขายดีติดอันดับ New York Times ที่สร้างความฮือฮามาแล้วทั่วโลก

เรียนผ่านระบบการเรียนออนไลน์ของ SHiFT ACADEMY ที่มาพร้อมรูปแบบการเรียนที่เข้าใจง่าย เรียนออนไลนได้ทุกที่ทุกเวลา เรียนซ้ำได้เท่าที่ต้องการ
Created with