8 เหตุผลที่นักลงทุนไม่ควรลงทุนแบบ VC (Venture Capital)
เชื่อว่านักลงทุนประเภท Angel Investor หรือนักลงทุนใจดี มีทุนเบื้องต้นสนับสนุนสตาร์ทอัพทั้งหลาย อาจจะเคยมีความคิดอยากจะเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนเป็นแบบ VC (Venture Capital) หรือบริษัทร่วมลงทุนบ้าง ด้วยเหตุผลของการมีทุนมากขึ้น มองกำไรในอนาคต หรือมองเห็นศักยภาพของบริษัทก็ตามแต่ ซึ่งแน่นอนว่า การลงทุนทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ตั้งแต่เรื่องของวิธีการทำงานไปจนถึงผลลัพธ์
แต่อย่างไรก็ตาม บทความนี้กำลังจะบอกคุณว่า การเป็น Angel Investor นั้น จริงๆ แล้วก็มีข้อดีอยู่มากมาย โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแนวไปเป็นนักลงทุนแบบ Venture Capital อย่างที่ใครๆ บอกกัน
แต่อย่างไรก็ตาม บทความนี้กำลังจะบอกคุณว่า การเป็น Angel Investor นั้น จริงๆ แล้วก็มีข้อดีอยู่มากมาย โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแนวไปเป็นนักลงทุนแบบ Venture Capital อย่างที่ใครๆ บอกกัน
แล้วข้อดีของ Angel Investor มีอะไรบ้าง?
1. มีความยืดหยุ่นมากกว่า
ถ้าให้พูดรวมๆ ก็คือ คุณสามารถทำอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ คุณจะลงทุนกับบริษัทในแอฟริกา แล้ววันต่อมาคุณจะลงทุนกับบริษัทในตะวันออกกลางก็ยังได้ โดยที่คุณไม่ต้องอธิบายถึงกลยุทธ์หรือความคิดอะไรให้ใครรับรู้ หลักๆ แล้วคุณก็เหมือนกับเปิดโอกาสให้ตัวเองมากขึ้นนั่นแหละ บางคนอาจจะชอบการมีคนคอยช่วยเหลือหรือตัดสินใจ แต่สำหรับใครที่อยากทำงานแบบไม่คิดมาก อยากปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา การลงทุนแบบนี้นี่แหละ เหมาะที่สุด
2. คุณสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้
เชื่อมโยงต่อจากเรื่องความยืดหยุ่น การลงทุนประเภทนี้จะช่วยให้คุณสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้และเวลาไหนก็ได้ในโลก เพราะนักลงทุนพวก Angel Investor จะไม่ได้นั่งเป็นบอร์ดในบริษัทมากมาย คุณสามารถคุยกันผ่าน VDO call ใดๆ ก็ได้เพราะฉะนั้นเวลาและสถานที่การนัดประชุมก็ไม่จำเป็นต้องจริงจังหรือจำกัดอิสรภาพของคุณขนาดนั้น
3. สามารถเจรจากับสตาร์ทอัพได้รวดเร็วกว่า
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนประเภท VC กว่าคุณจะสามารถปิดดีลหรือผ่านกระบวนการมากมายให้สำเร็จลุล่วงได้ คุณต้องลงทุนด้วยเงินเป็นจำนวนมากแถมยังต้องใช้เวลาไปกับการโน้มน้าวให้ผู้บริหารของสตาร์ทอัพนั้นๆ มาเลือกนักลงทุนอย่างคุณอีกต่างหาก แต่ถ้าเป็น Angel Investor ด้วยจำนวนเงินลงทุนที่ไม่มากจนเกินไปนัก เช่นตั้งงบไว้ที่ประมาณ 50,000-150,000 เหรียญ ไม่เกินนี้ ความยุ่งยากในการพูดคุยเจรจาก็จะลดลงไปด้วยโดยปริยาย
4. คุณสามารถสร้างผลงานให้สำเร็จได้โดยไม่ต้องแข่งกับคนอื่น
เมื่อคุณไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาลเพื่อแข่งกับใครแล้วนั้น คุณก็สามารถที่จะอยู่ในวงการนี้และเป็นมิตรกับนักลงทุนรายอื่นๆ ได้อย่างสบายใจ เพราะถ้าคุณทุ่มไปที่บริษัทใดมากเกินไป นักลงทุนรายอื่นก็ไม่สามารถลงทุนได้มากเท่าที่เขาตั้งใจ ซึ่งก็จะนำไปสู่การเจรจาที่วุ่นวายยากลำบากอีก ถ้าอยากอยู่ในวงการนักลงทุนแบบสงบสุข การเป็น Angel Inverstor นี่แหละเหมาะแล้ว
5. ไม่ต้องมีปัญหากับการ signaling
การลงทุนแบบ Angel Investor ไม่มีข้อจำกัดที่น่ากังวลมาก ถ้าหากวันหนึ่งอยากจะถอนตัวและถอยออกมา ก็สามารถทำได้ เพราะตลาดไม่ได้มีความคาดหวังหรือติดตามรายงานมากเท่ากับ VC ซึ่งในการลงทุนแบบ VC คุณจะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เพราะนักลงทุนคนอื่นๆ กำลังจับตามองว่าคุณกำลังตัดสินใจอะไรอยู่ (signaling) ถ้าคุณไม่ตัดสินใจลงทุน คุณอาจจะทำให้บริษัทนั้นๆ ไปต่อไม่ได้หรือถึงจุดจบได้เลย
6. ไม่ต้องวุ่นวายกับงานบริหารมากมาย
ถ้าคุณเป็นผู้ลงทุนแบบ VC บอกได้เลยว่าสิ่งที่ยุ่งยากไม่แพ้เรื่องอื่นๆ คือการจัดการบัญชี คุณจะต้องคอยรายงานทำสรุปให้กับบริษัทอื่นๆ ทั้งเรื่องภาษี เรื่องการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี หรือจะต้องมาดูแลเรื่องอีกสารพัดที่คุณไม่คิดว่าจะต้องสนใจมาก่อน พูดง่ายๆ ว่าการลงทุนแบบ VC อาจทำให้คุณใช้เวลาเกือบปีกว่าจะจัดการเรื่องเหล่านี้ให้เข้าที่เข้าทางได้
7. ไม่มีการผูกมัดในระยะยาว
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ว่ากันว่า คุณไม่ควรระดมทุนใดๆ ถ้าคุณไม่ได้คิดว่าจะทำสิ่งนั้นไปอีกเป็นสิบปีข้างหน้า โดยทั่วไปแล้ว กองทุนส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานอยู่ที่ประมาณ 10 ปีหรืออาจจะต่อยอดไปอีกสัก 1-2 ปี ดังนั้นมันอาจจะฟังดูเข้าใจได้ถ้าคุณจะลงทุนในจำนวนเริ่มแรก (Seed funding) แล้วมันต้องใช้เวลาสักสิบปีเพื่อ exit ด้วยเงินจำนวนมหาศาลเกินคุ้ม
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณตั้งบริษัท VC ละก็ คุณอาจจะต้องลงเอยด้วยการลงทุนในบริษัทหนึ่ง แล้วตามด้วยอีกบริษัทหนึ่งไปเรื่อยๆ ไม่หยุดหย่อนไปจนถึงเวลาเกษียณเลยก็เป็นได้ เพราะการเป็น VC มันเป็นเรื่องของการหาบริษัทลงทุนเพื่อทำกำไรไปเรื่อยๆ นั่นเอง
8. คุณไม่จำเป็นต้องมี Unicorn เพื่อที่จะอยู่รอด
อย่างที่ Jason M. Lemkin (หนึ่งในนักลงทุนในแวดวงสตาร์ทอัพ) กล่าวไว้ว่า นักลงทุนแบบ VC จะต้องการ Unicorn เพื่อที่จะอยู่รอด ซึ่งจะตรงกันข้ามกับนักลงทุนที่มาด้วยจำนวนเงินลงทุนขนาดเล็กแบบ Angel investor ยิ่งถ้าหากมีโอกาสได้เข้าลงทุนเร็ว โอกาสและผลลัพธ์ที่ได้ก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า ถึงแม้ว่าบริษัทที่ลงทุนไปจะไม่ได้มีมูลค่าของยริษัทสูงมากก็ได้
เอาละ และทั้ง 8 เหตุผลนี้ ก็คือเหตุผลที่นักลงทุนแบบ Angel Investor ควรเลือกที่จะลงทุนในรูปแบบเดิมต่อไป
แล้วถ้าถามว่า ตกลงการย้ายมาเป็นนักลงทุนแบบ VC นั้นมันแย่ขนาดนั้นเลยหรือ? คำตอบคือก็ไม่ถึงขนาดนั้น และไม่ได้แปลว่าจะไม่ดีเสมอไปด้วย เพราะจริงๆ รูปแบบของนักลงทุนแบบ VC ก็มีข้อดีอยู่ไม่แพ้กัน
1. มีความยืดหยุ่นมากกว่า
ถ้าให้พูดรวมๆ ก็คือ คุณสามารถทำอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ คุณจะลงทุนกับบริษัทในแอฟริกา แล้ววันต่อมาคุณจะลงทุนกับบริษัทในตะวันออกกลางก็ยังได้ โดยที่คุณไม่ต้องอธิบายถึงกลยุทธ์หรือความคิดอะไรให้ใครรับรู้ หลักๆ แล้วคุณก็เหมือนกับเปิดโอกาสให้ตัวเองมากขึ้นนั่นแหละ บางคนอาจจะชอบการมีคนคอยช่วยเหลือหรือตัดสินใจ แต่สำหรับใครที่อยากทำงานแบบไม่คิดมาก อยากปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา การลงทุนแบบนี้นี่แหละ เหมาะที่สุด
2. คุณสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้
เชื่อมโยงต่อจากเรื่องความยืดหยุ่น การลงทุนประเภทนี้จะช่วยให้คุณสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้และเวลาไหนก็ได้ในโลก เพราะนักลงทุนพวก Angel Investor จะไม่ได้นั่งเป็นบอร์ดในบริษัทมากมาย คุณสามารถคุยกันผ่าน VDO call ใดๆ ก็ได้เพราะฉะนั้นเวลาและสถานที่การนัดประชุมก็ไม่จำเป็นต้องจริงจังหรือจำกัดอิสรภาพของคุณขนาดนั้น
3. สามารถเจรจากับสตาร์ทอัพได้รวดเร็วกว่า
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนประเภท VC กว่าคุณจะสามารถปิดดีลหรือผ่านกระบวนการมากมายให้สำเร็จลุล่วงได้ คุณต้องลงทุนด้วยเงินเป็นจำนวนมากแถมยังต้องใช้เวลาไปกับการโน้มน้าวให้ผู้บริหารของสตาร์ทอัพนั้นๆ มาเลือกนักลงทุนอย่างคุณอีกต่างหาก แต่ถ้าเป็น Angel Investor ด้วยจำนวนเงินลงทุนที่ไม่มากจนเกินไปนัก เช่นตั้งงบไว้ที่ประมาณ 50,000-150,000 เหรียญ ไม่เกินนี้ ความยุ่งยากในการพูดคุยเจรจาก็จะลดลงไปด้วยโดยปริยาย
4. คุณสามารถสร้างผลงานให้สำเร็จได้โดยไม่ต้องแข่งกับคนอื่น
เมื่อคุณไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาลเพื่อแข่งกับใครแล้วนั้น คุณก็สามารถที่จะอยู่ในวงการนี้และเป็นมิตรกับนักลงทุนรายอื่นๆ ได้อย่างสบายใจ เพราะถ้าคุณทุ่มไปที่บริษัทใดมากเกินไป นักลงทุนรายอื่นก็ไม่สามารถลงทุนได้มากเท่าที่เขาตั้งใจ ซึ่งก็จะนำไปสู่การเจรจาที่วุ่นวายยากลำบากอีก ถ้าอยากอยู่ในวงการนักลงทุนแบบสงบสุข การเป็น Angel Inverstor นี่แหละเหมาะแล้ว
5. ไม่ต้องมีปัญหากับการ signaling
การลงทุนแบบ Angel Investor ไม่มีข้อจำกัดที่น่ากังวลมาก ถ้าหากวันหนึ่งอยากจะถอนตัวและถอยออกมา ก็สามารถทำได้ เพราะตลาดไม่ได้มีความคาดหวังหรือติดตามรายงานมากเท่ากับ VC ซึ่งในการลงทุนแบบ VC คุณจะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เพราะนักลงทุนคนอื่นๆ กำลังจับตามองว่าคุณกำลังตัดสินใจอะไรอยู่ (signaling) ถ้าคุณไม่ตัดสินใจลงทุน คุณอาจจะทำให้บริษัทนั้นๆ ไปต่อไม่ได้หรือถึงจุดจบได้เลย
6. ไม่ต้องวุ่นวายกับงานบริหารมากมาย
ถ้าคุณเป็นผู้ลงทุนแบบ VC บอกได้เลยว่าสิ่งที่ยุ่งยากไม่แพ้เรื่องอื่นๆ คือการจัดการบัญชี คุณจะต้องคอยรายงานทำสรุปให้กับบริษัทอื่นๆ ทั้งเรื่องภาษี เรื่องการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี หรือจะต้องมาดูแลเรื่องอีกสารพัดที่คุณไม่คิดว่าจะต้องสนใจมาก่อน พูดง่ายๆ ว่าการลงทุนแบบ VC อาจทำให้คุณใช้เวลาเกือบปีกว่าจะจัดการเรื่องเหล่านี้ให้เข้าที่เข้าทางได้
7. ไม่มีการผูกมัดในระยะยาว
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ว่ากันว่า คุณไม่ควรระดมทุนใดๆ ถ้าคุณไม่ได้คิดว่าจะทำสิ่งนั้นไปอีกเป็นสิบปีข้างหน้า โดยทั่วไปแล้ว กองทุนส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานอยู่ที่ประมาณ 10 ปีหรืออาจจะต่อยอดไปอีกสัก 1-2 ปี ดังนั้นมันอาจจะฟังดูเข้าใจได้ถ้าคุณจะลงทุนในจำนวนเริ่มแรก (Seed funding) แล้วมันต้องใช้เวลาสักสิบปีเพื่อ exit ด้วยเงินจำนวนมหาศาลเกินคุ้ม
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณตั้งบริษัท VC ละก็ คุณอาจจะต้องลงเอยด้วยการลงทุนในบริษัทหนึ่ง แล้วตามด้วยอีกบริษัทหนึ่งไปเรื่อยๆ ไม่หยุดหย่อนไปจนถึงเวลาเกษียณเลยก็เป็นได้ เพราะการเป็น VC มันเป็นเรื่องของการหาบริษัทลงทุนเพื่อทำกำไรไปเรื่อยๆ นั่นเอง
8. คุณไม่จำเป็นต้องมี Unicorn เพื่อที่จะอยู่รอด
อย่างที่ Jason M. Lemkin (หนึ่งในนักลงทุนในแวดวงสตาร์ทอัพ) กล่าวไว้ว่า นักลงทุนแบบ VC จะต้องการ Unicorn เพื่อที่จะอยู่รอด ซึ่งจะตรงกันข้ามกับนักลงทุนที่มาด้วยจำนวนเงินลงทุนขนาดเล็กแบบ Angel investor ยิ่งถ้าหากมีโอกาสได้เข้าลงทุนเร็ว โอกาสและผลลัพธ์ที่ได้ก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า ถึงแม้ว่าบริษัทที่ลงทุนไปจะไม่ได้มีมูลค่าของยริษัทสูงมากก็ได้
เอาละ และทั้ง 8 เหตุผลนี้ ก็คือเหตุผลที่นักลงทุนแบบ Angel Investor ควรเลือกที่จะลงทุนในรูปแบบเดิมต่อไป
แล้วถ้าถามว่า ตกลงการย้ายมาเป็นนักลงทุนแบบ VC นั้นมันแย่ขนาดนั้นเลยหรือ? คำตอบคือก็ไม่ถึงขนาดนั้น และไม่ได้แปลว่าจะไม่ดีเสมอไปด้วย เพราะจริงๆ รูปแบบของนักลงทุนแบบ VC ก็มีข้อดีอยู่ไม่แพ้กัน
และนี่คือข้อดีทั้ง 4 ข้อของการเป็นนักลงทุนแบบ Venture Capital
1. คุณเปิดโอกาสให้บริษัทที่ร่วมลงทุนได้มากขึ้น
การลงทุนแบบ VC จะช่วยเปิดโอกาสในการเติบโตให้กับบริษัทนั้นๆ มากขึ้น เพราะถ้าเป็น Angel Investor การลงทุนในแต่ละครั้งมักจะเกิดขึ้นด้วยตัวนักลงทุนคนเดียวเดี่ยวๆ หรือต่อให้มีการลงขันร่วมกับผู้ลงทุนรายอื่นๆ แต่ยังเป็นเงินลงทุนในระดับ Seed Fund ก็ถือว่าไม่ได้มีเงินทุนเพิ่มขึ้นมากมายนัก ในทางกลับกัน VC จะช่วยให้แต่ละบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนทำธุรกิจได้นานขึ้น สามารถวางแผนการทำธุรกิจในระยะยาวได้เลย
2. สร้าง connection ได้มากขึ้น
เมื่อได้ร่วมลงทุนกับทีมที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับบริษัทนั้นๆ แล้ว ตัวคุณเองในฐานะ VC ยังได้คอนเนคชั่นหรือการสร้างสายสัมพันธ์ที่อาจเหนียวแน่นมั่นคงเหมือนคนในครอบครัวเดียวกันเลยก็ได้ (เพราะต้องลงทุนกันไปยาวๆ ) ตรงกันข้ามกับ Angel Investor ที่อาจจะไม่ได้ทำงานร่วมกับคนอื่นมากและยาวนานเพียงพอ (พูดง่ายๆ คือ เข้าเร็วออกเร็ว)
3. ได้ทำงานเป็นทีม
การมีทีมงาน (อย่าลืมว่าต่างจาก Angel Investor ที่เป็นประเภทข้ามาคนเดียว) ย่อมจะทำให้มีการตัดสินใจลงทุนได้เฉียบคมขึ้นและก่อให้เกิดผลดีกับพอร์ตฟอลิโอของบริษัทด้วย ที่สำคัญคุณจะรู้สึกสนุกมาก แต่ถ้าหากคุณมีงานประจำอยู่แล้วและคิดว่าการลงทุนแบบ Angel Investing เป็นแค่งานอดิเรกที่คุณพอใจแล้ว
การลงทุนแบบ Venture Capital ก็ไม่น่าจะเหมาะกับคุณ
4. มีความสุขกับการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ผู้ประกอบการแทบทุกคนจะต้องมีความสุขและมีความสนุกในการลงทุนอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทร่วมลงทุนบางแห่งก็จะมีความตั้งใจในการทำงานสูงมาก มีกิจกรรม และการทำงานที่ละเอียดและสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทสตาร์ทอัพ เพื่อที่จะหาวิธีช่วยพัฒนาหากลยุทธ์ที่ดีขึ้นให้พวกเขา ใครที่ชื่นชอบในการทำงานแบบนี้ก็ถือว่าคุณหาที่ที่ใช่เจอแล้ว แต่ถ้าใครที่ชอบการทำงานแบบสันโดษ ก็ไม่ผิดที่คุณจะหันไปในทางของ Angel Investor
เอาเป็นว่า การลงทุนแต่ละแบบก็มีความเสี่ยง และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน คงไม่เกี่ยวว่าคุณจะใช้เงินลงทุนมากแค่ไหน แค่เลือกเป็นนักลงทุนในแบบที่คุณสบายใจและเป็นตัวของตัวเองนั่นแหละดีที่สุด
ที่มา https://medium.com/point-nine-news/8-reasons-why-you-shouldnt-raise-a-vc-fund-and-4-why-i-love-being-a-vc-regardless-a6a9addb31a2
1. คุณเปิดโอกาสให้บริษัทที่ร่วมลงทุนได้มากขึ้น
การลงทุนแบบ VC จะช่วยเปิดโอกาสในการเติบโตให้กับบริษัทนั้นๆ มากขึ้น เพราะถ้าเป็น Angel Investor การลงทุนในแต่ละครั้งมักจะเกิดขึ้นด้วยตัวนักลงทุนคนเดียวเดี่ยวๆ หรือต่อให้มีการลงขันร่วมกับผู้ลงทุนรายอื่นๆ แต่ยังเป็นเงินลงทุนในระดับ Seed Fund ก็ถือว่าไม่ได้มีเงินทุนเพิ่มขึ้นมากมายนัก ในทางกลับกัน VC จะช่วยให้แต่ละบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนทำธุรกิจได้นานขึ้น สามารถวางแผนการทำธุรกิจในระยะยาวได้เลย
2. สร้าง connection ได้มากขึ้น
เมื่อได้ร่วมลงทุนกับทีมที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับบริษัทนั้นๆ แล้ว ตัวคุณเองในฐานะ VC ยังได้คอนเนคชั่นหรือการสร้างสายสัมพันธ์ที่อาจเหนียวแน่นมั่นคงเหมือนคนในครอบครัวเดียวกันเลยก็ได้ (เพราะต้องลงทุนกันไปยาวๆ ) ตรงกันข้ามกับ Angel Investor ที่อาจจะไม่ได้ทำงานร่วมกับคนอื่นมากและยาวนานเพียงพอ (พูดง่ายๆ คือ เข้าเร็วออกเร็ว)
3. ได้ทำงานเป็นทีม
การมีทีมงาน (อย่าลืมว่าต่างจาก Angel Investor ที่เป็นประเภทข้ามาคนเดียว) ย่อมจะทำให้มีการตัดสินใจลงทุนได้เฉียบคมขึ้นและก่อให้เกิดผลดีกับพอร์ตฟอลิโอของบริษัทด้วย ที่สำคัญคุณจะรู้สึกสนุกมาก แต่ถ้าหากคุณมีงานประจำอยู่แล้วและคิดว่าการลงทุนแบบ Angel Investing เป็นแค่งานอดิเรกที่คุณพอใจแล้ว
การลงทุนแบบ Venture Capital ก็ไม่น่าจะเหมาะกับคุณ
4. มีความสุขกับการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ผู้ประกอบการแทบทุกคนจะต้องมีความสุขและมีความสนุกในการลงทุนอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทร่วมลงทุนบางแห่งก็จะมีความตั้งใจในการทำงานสูงมาก มีกิจกรรม และการทำงานที่ละเอียดและสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทสตาร์ทอัพ เพื่อที่จะหาวิธีช่วยพัฒนาหากลยุทธ์ที่ดีขึ้นให้พวกเขา ใครที่ชื่นชอบในการทำงานแบบนี้ก็ถือว่าคุณหาที่ที่ใช่เจอแล้ว แต่ถ้าใครที่ชอบการทำงานแบบสันโดษ ก็ไม่ผิดที่คุณจะหันไปในทางของ Angel Investor
เอาเป็นว่า การลงทุนแต่ละแบบก็มีความเสี่ยง และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน คงไม่เกี่ยวว่าคุณจะใช้เงินลงทุนมากแค่ไหน แค่เลือกเป็นนักลงทุนในแบบที่คุณสบายใจและเป็นตัวของตัวเองนั่นแหละดีที่สุด
ที่มา https://medium.com/point-nine-news/8-reasons-why-you-shouldnt-raise-a-vc-fund-and-4-why-i-love-being-a-vc-regardless-a6a9addb31a2
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture