เข้าใจ Agile ทำไมถึงสำคัญนัก ในยุคการสร้างประสบการณ์ดิจิทัล?
Hilight
- ผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักฟันธงแล้วว่า โปรเจ็กต์การตลาดดิจิทัลใดก็ตามที่ใช้แนวทาง agile โปรเจ็กต์นั้นมีโอกาสสูงที่จะสร้าง “อิมแพค” ได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นโปรเจ็กต์ปั้นแคมเปญโฆษณาที่กำหนดเป้าหมายตามพื้นที่ลูกค้า โครงการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผนสร้างหน้าแลนดิ้งเพจแบบอินเทอร์แอคทีฟ หรืออะไรก็ตามที่ถูกจัดกลุ่มเป็นประสบการณ์ดิจิทัล (digital experiences)
- แนวทาง agile จึงเป็นคีย์สำคัญที่แทบทุกบริษัทหันมาใช้แทน waterfall methodology หรือแนวทางที่เทงบปรับโฉมบริการแบบยิ่งใหญ่ตู้มเดียว แล้วตามมาด้วยปัญหาให้ตามแก้จนพนักงานเสียขวัญกำลังใจกระเจิดกระเจิง
- วิธีเดียวที่สร้างประสบการณ์ดิจิทัลเปี่ยมล้นอิมแพคได้เร็วที่สุด คือการทำ agile ด้านเนื้อหา ซึ่งมักทำได้ในบริษัทที่กล้าทดลอง ความกล้าที่ถือเป็นหนึ่งในสี่นิสัยที่คนเน้น agile ควรมี
การทำงานแบบอไจล์หรือ agile เป็นคำที่ถูกใช้ในหลายวงการ ประเด็นของ agile อยู่ที่การไม่เสียเวลานั่งคิดทุกอย่างแล้วทำให้เสร็จเรียบร้อยตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโปรเจ็กต์จึงค่อยเปิดบริการ แต่จะใช้วิธีพัฒนาโปรเจ็กต์ไปพร้อมกับให้บริการ ซึ่งจะทำให้ทีมรู้ปัญหาและนำมาแก้ไขได้ก่อนการทำงานแบบทำให้เสร็จทีละอย่าง
หรือถ้ามองอุตสาหกรรมการผลิตวันนี้ เราจะเห็นได้ชัดถึงการทำงานแบบ agile หรือเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากล็อตใหญ่หรือสินค้าจำนวนมากในอดีต มาเป็นการผลิตด้วยความยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มผู้บริโภค ความสามารถในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการที่เปลี่ยนไป ทำให้ธุรกิจต้องปรับขั้นตอนการทำงานให้สอดคล้องกันมากขึ้น
สำหรับธุรกิจทั่วไป ตอนนี้ธุรกิจทั่วไทยและทั่วโลกล้วนต้องปรับตัวและบริหารความเสี่ยงอย่างสุดฝีมือ เพราะโควิด-19 และการล็อกดาวน์ทำให้หลายร้านค้าพบกับปัญหาที่ไม่เคยเจอ กลายเป็นช่วงที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้เก่ง และต้อง agile สถานเดียว
agile รายเดือน
การทำเว็บไซต์ น่าจะเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดว่า เหมาะกับ agile ขนาดไหน เพราะการทำให้เว็บไซต์มีความสดใหม่ด้วยสุดยอดฟังก์ชั่น การออกแบบ และเนื้อหาทันสมัย งานที่มีทุนสูง-ใช้เวลานาน-มีกระบวนการที่ซับซ้อน แถมยังเสี่ยงเจ็บตัวขาดทุนได้ง่ายแบบนี้ วิธีแบบ agile จึงเหมาะสมเอามากๆ
ตอกย้ำเรื่องนี้โดย Sarah Fruy ผู้อำนวยการฝ่ายแบรนด์และประสบการณ์ดิจิทัล บริษัท Pantheon ที่กล่าวระหว่างการบรรยายเรื่อง Kill the Website Relaunch ที่งานสัมนา Discover MarTech ว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจให้หลายบริษัท มักไม่ได้มาจากโครงการเปิดตัวเว็บใหม่หรือ Website Relaunch แบบตู้มเดียว แต่มักเป็นเว็บไซต์ที่อัปเดทเสมอเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
Fruy บอกว่าหัวใจสำคัญของ agile คือความสามารถในการหั่นชิ้นงานแล้วแบ่งออกมาเผยแพร่ ซึ่งในกรณีของเว็บไซต์ การ agile จะทำให้เว็บไซต์สามารถอัปเดทเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส แทนที่จะเป็นโปรเจ็กต์อัปเดทเว็บแบบรายปีครั้งใหญ่
การค่อยๆปล่อยฟีเจอร์บนเว็บแบบ agile นี้มีความเสี่ยงต่ำ สามารถตรวจสอบแนวโน้มหรือเทรนด์ตลาดได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ธุรกิจชนะได้รวดเร็ว ทั้งหมดนี้ Fruy กล่าวเทียบกับแนวทาง waterfall (นึกภาพเหมือนน้ำตกสาดโครมลงมารวดเดียว) ซึ่งจะรวมกลุ่มฟีเจอร์ทั้งหมดเพื่ออัปเดทแบบ “บิ๊กแบง” ในตู้มเดียว โดยบอกว่าแนวทาง waterfall นั้นกำลังถึงกาลอวสาน
5 เหตุผลที่ทำให้ waterfail หมดยุค คือ
1. งบประมาณทั้งหมด มักจะถูกใช้ไปกับโครงการ “บิ๊กแบง” เพื่อเปิดตัวเว็บโฉมใหม่
2. รายการปัญหาที่จำเป็นต้องถูกแก้ไขมักจะยาวเป็นหางว่าว
3. การเปิดตัวล่าช้าย่อมส่งผลถึงแผนการตลาดที่ไม่สมเหตุสมผล
4. ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียจะคันปากอยากบ่น ขณะที่ขวัญกำลังใจของทีมก็แย่ลง
5. พนักงานอาจถูกไล่ออก
แม้จะฟังดูดราม่าสุดขีด แต่หลายข้อก็มีมูลจนทำให้หลายองค์กรตื่นตัวเปลี่ยนจุดยืนมาเป็น agile เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เข้ากับยุคสมัยที่ไม่เหมือนเดิม
เนื้อหายังคงเป็นราชา
สำหรับธุรกิจทั่วไป ตอนนี้ธุรกิจทั่วไทยและทั่วโลกล้วนต้องปรับตัวและบริหารความเสี่ยงอย่างสุดฝีมือ เพราะโควิด-19 และการล็อกดาวน์ทำให้หลายร้านค้าพบกับปัญหาที่ไม่เคยเจอ กลายเป็นช่วงที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้เก่ง และต้อง agile สถานเดียว
agile รายเดือน
การทำเว็บไซต์ น่าจะเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดว่า เหมาะกับ agile ขนาดไหน เพราะการทำให้เว็บไซต์มีความสดใหม่ด้วยสุดยอดฟังก์ชั่น การออกแบบ และเนื้อหาทันสมัย งานที่มีทุนสูง-ใช้เวลานาน-มีกระบวนการที่ซับซ้อน แถมยังเสี่ยงเจ็บตัวขาดทุนได้ง่ายแบบนี้ วิธีแบบ agile จึงเหมาะสมเอามากๆ
ตอกย้ำเรื่องนี้โดย Sarah Fruy ผู้อำนวยการฝ่ายแบรนด์และประสบการณ์ดิจิทัล บริษัท Pantheon ที่กล่าวระหว่างการบรรยายเรื่อง Kill the Website Relaunch ที่งานสัมนา Discover MarTech ว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจให้หลายบริษัท มักไม่ได้มาจากโครงการเปิดตัวเว็บใหม่หรือ Website Relaunch แบบตู้มเดียว แต่มักเป็นเว็บไซต์ที่อัปเดทเสมอเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
Fruy บอกว่าหัวใจสำคัญของ agile คือความสามารถในการหั่นชิ้นงานแล้วแบ่งออกมาเผยแพร่ ซึ่งในกรณีของเว็บไซต์ การ agile จะทำให้เว็บไซต์สามารถอัปเดทเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส แทนที่จะเป็นโปรเจ็กต์อัปเดทเว็บแบบรายปีครั้งใหญ่
การค่อยๆปล่อยฟีเจอร์บนเว็บแบบ agile นี้มีความเสี่ยงต่ำ สามารถตรวจสอบแนวโน้มหรือเทรนด์ตลาดได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ธุรกิจชนะได้รวดเร็ว ทั้งหมดนี้ Fruy กล่าวเทียบกับแนวทาง waterfall (นึกภาพเหมือนน้ำตกสาดโครมลงมารวดเดียว) ซึ่งจะรวมกลุ่มฟีเจอร์ทั้งหมดเพื่ออัปเดทแบบ “บิ๊กแบง” ในตู้มเดียว โดยบอกว่าแนวทาง waterfall นั้นกำลังถึงกาลอวสาน
5 เหตุผลที่ทำให้ waterfail หมดยุค คือ
1. งบประมาณทั้งหมด มักจะถูกใช้ไปกับโครงการ “บิ๊กแบง” เพื่อเปิดตัวเว็บโฉมใหม่
2. รายการปัญหาที่จำเป็นต้องถูกแก้ไขมักจะยาวเป็นหางว่าว
3. การเปิดตัวล่าช้าย่อมส่งผลถึงแผนการตลาดที่ไม่สมเหตุสมผล
4. ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียจะคันปากอยากบ่น ขณะที่ขวัญกำลังใจของทีมก็แย่ลง
5. พนักงานอาจถูกไล่ออก
แม้จะฟังดูดราม่าสุดขีด แต่หลายข้อก็มีมูลจนทำให้หลายองค์กรตื่นตัวเปลี่ยนจุดยืนมาเป็น agile เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เข้ากับยุคสมัยที่ไม่เหมือนเดิม
เนื้อหายังคงเป็นราชา
Content is still king ยังเป็นคำพูดที่ถูกต้องเสมอ เพราะไม่ว่านักการตลาดที่เน้นเทคโนโลยีทั้งหลาย จะลุยพัฒนาประสบการณ์ดิจิทัลที่ยอดเยี่ยมขนาดไหน คอนเทนต์หรือเนื้อหาก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้การ agile นั้นได้ผล
Tess Needham ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท WordPress VIP Content กล่าวในทางเดียวกับ Fruy ว่าประสบการณ์ดิจิทัลล้วนมีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือคอนเทนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักการตลาดหันมาใช้คอนเทนต์มากขึ้นเพื่อสร้างปริมาณการเข้าชม การมีส่วนร่วมของลูกค้า และอัตรา conversion rate ที่เพิ่มขึ้น โดย Needham ย้ำว่า agile เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการสร้างประสบการณ์ด้านเนื้อหาที่ได้รับความสำเร็จเช่นกัน
Needham ยังมองว่างานสร้างคอนเทนต์นั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจอยู่ในจุดยืนที่คาดเดาตลาดได้ยาก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่บริษัทต้องสามารถเปลี่ยนแปลงคอนเทนต์ได้ทันตามสถานการณ์
Needham ทิ้งท้ายว่าทีมการตลาดที่มีพลังในการตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์ มีแนวโน้มที่จะเห็นผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้จะสามารถสร้างเนื้อหาที่เป็นของแท้ มีความเกี่ยวข้องและสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งสามารถตอบสนองต่อบริบทของหลายช่วงเวลา รวมถึงเวลาที่พวกเรากำลังอยู่ในขณะนี้
4 นิสัยของนักการตลาด agile
ก้าวแรกของการทำ agile คือการปรับทัศนคติ เพื่อให้ตามทันพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทัศนคติหรือนิสัย 4 แบบที่องค์กรหรือคนในองค์กรควรมีเพื่อการเป็นทีมงาน agile ชั้นยอด
นิสัยแรกที่นักการตลาด agile ควรมีคือ การเลือกวางเดิมพันที่น้อยแต่มีโอกาสชนะครั้งใหญ่ เห็นได้ชัดจากนักการตลาดหลายรายเริ่มทำแคมเปญการตลาดในวงเล็กๆ หรือ micro marketing campaigns เพื่อทดลองโยนหินถามทางในตลาดใหม่เพื่อกรุยทางทำการสำรวจที่ลึกกว่าเดิม
นักการตลาด agile ควรมองการทดลองให้เหมือนการวางแผนครั้งใหม่ด้วย เหตุผลเพราะวันนี้ทุกสิ่งล้วนไม่แน่นอน สิ่งที่เคยได้รับความนิยมอาจจะไม่ปังเหมือนเดิมแล้วในวันรุ่งขึ้น ภาวะคาดเดาไม่ได้ทำให้นักการตลาด agile ควรมีนิสัย “เน้นพัฒนาตัวเอง มากกว่ายึดความสมบูรณ์แบบ” ซึ่งเป็นนิสัยที่ 3 ที่สำคัญกับนักการตลาด agile
นิสัยสุดท้ายคือการแปลงข้อมูลให้ตกผลึกเป็นองค์ความรู้เชิงลึก เพราะแคมเปญหรือบริการที่ถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ล้วนต้องแน่ใจได้ว่าสามารถวัดผลได้แม่นยำและพร้อมสำหรับการแชร์ข้อมูลในทีม และเป็นประโยชน์กันถ้วนหน้าเพราะบริษัทไม่ต้องเทงบจนสุด แถมพนักงานก็แฮปปี้
บอกแล้ว ว่ายุคนี้ต้อง agile สถานเดียว
ที่มา : https://resources.collab.net/agile-101
https://martechtoday.com/why-an-agile-approach-to-digital-experience-is-a-must-242103
https://www.business2community.com/digital-marketing/agile-marketing-the-4-habits-of-adaptable-marketers-02314367
Tess Needham ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท WordPress VIP Content กล่าวในทางเดียวกับ Fruy ว่าประสบการณ์ดิจิทัลล้วนมีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือคอนเทนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักการตลาดหันมาใช้คอนเทนต์มากขึ้นเพื่อสร้างปริมาณการเข้าชม การมีส่วนร่วมของลูกค้า และอัตรา conversion rate ที่เพิ่มขึ้น โดย Needham ย้ำว่า agile เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการสร้างประสบการณ์ด้านเนื้อหาที่ได้รับความสำเร็จเช่นกัน
Needham ยังมองว่างานสร้างคอนเทนต์นั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจอยู่ในจุดยืนที่คาดเดาตลาดได้ยาก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่บริษัทต้องสามารถเปลี่ยนแปลงคอนเทนต์ได้ทันตามสถานการณ์
Needham ทิ้งท้ายว่าทีมการตลาดที่มีพลังในการตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์ มีแนวโน้มที่จะเห็นผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้จะสามารถสร้างเนื้อหาที่เป็นของแท้ มีความเกี่ยวข้องและสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งสามารถตอบสนองต่อบริบทของหลายช่วงเวลา รวมถึงเวลาที่พวกเรากำลังอยู่ในขณะนี้
4 นิสัยของนักการตลาด agile
ก้าวแรกของการทำ agile คือการปรับทัศนคติ เพื่อให้ตามทันพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทัศนคติหรือนิสัย 4 แบบที่องค์กรหรือคนในองค์กรควรมีเพื่อการเป็นทีมงาน agile ชั้นยอด
นิสัยแรกที่นักการตลาด agile ควรมีคือ การเลือกวางเดิมพันที่น้อยแต่มีโอกาสชนะครั้งใหญ่ เห็นได้ชัดจากนักการตลาดหลายรายเริ่มทำแคมเปญการตลาดในวงเล็กๆ หรือ micro marketing campaigns เพื่อทดลองโยนหินถามทางในตลาดใหม่เพื่อกรุยทางทำการสำรวจที่ลึกกว่าเดิม
นักการตลาด agile ควรมองการทดลองให้เหมือนการวางแผนครั้งใหม่ด้วย เหตุผลเพราะวันนี้ทุกสิ่งล้วนไม่แน่นอน สิ่งที่เคยได้รับความนิยมอาจจะไม่ปังเหมือนเดิมแล้วในวันรุ่งขึ้น ภาวะคาดเดาไม่ได้ทำให้นักการตลาด agile ควรมีนิสัย “เน้นพัฒนาตัวเอง มากกว่ายึดความสมบูรณ์แบบ” ซึ่งเป็นนิสัยที่ 3 ที่สำคัญกับนักการตลาด agile
นิสัยสุดท้ายคือการแปลงข้อมูลให้ตกผลึกเป็นองค์ความรู้เชิงลึก เพราะแคมเปญหรือบริการที่ถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ล้วนต้องแน่ใจได้ว่าสามารถวัดผลได้แม่นยำและพร้อมสำหรับการแชร์ข้อมูลในทีม และเป็นประโยชน์กันถ้วนหน้าเพราะบริษัทไม่ต้องเทงบจนสุด แถมพนักงานก็แฮปปี้
บอกแล้ว ว่ายุคนี้ต้อง agile สถานเดียว
ที่มา : https://resources.collab.net/agile-101
https://martechtoday.com/why-an-agile-approach-to-digital-experience-is-a-must-242103
https://www.business2community.com/digital-marketing/agile-marketing-the-4-habits-of-adaptable-marketers-02314367
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture