Agile Marketing สิ่งที่องค์กรต้องทำ เพื่อรับมือกับการปรับพฤติกรรมของลูกค้าอย่างรวดเร็ว

สมัยนี้ใครๆ ก็อยาก " Agile"  เพราะความคล่องตัวเป็นวิธีสำหรับพัฒนาบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยีการตลาด ให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ในบริบททางการตลาดแบบ Agile หมายถึง การใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อจัดหาโอกาสที่มีแนวโน้มหรือวิธีแก้ไขปัญหาในแบบเรียลไทม์อย่างต่อเนื่อง ปรับใช้การทดสอบอย่างรวดเร็ว ประเมินผลลัพธ์ และทำซ้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งองค์กรการตลาดที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพสูง จะสามารถเรียกใช้แคมเปญหลายร้อยรายการพร้อมกัน และเกิดแนวคิดใหม่หลายรายการทุกสัปดาห์

องค์กรการตลาดหลายแห่งคิดว่าพวกเขากำลังทำงานอย่างคล่องตัว เพราะพวกเขาได้นำหลักการของ " Agile" มาใช้ แต่เมื่อมองลึกลงไปกลับพบว่า การทำงานมีความว่องไวเพียงบางส่วน เช่น การตลาดมักไม่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายกฎหมาย ไอที หรือการเงิน ดังนั้นการอนุมัติ การพึ่งพาระบบหลังบ้าน หรือการจัดสรรการใช้จ่ายจึงล่าช้า

ในบทความนี้ SHiFT Your Future จะมาแนะนำขั้นตอนการทำ Agile marketing ที่องค์กรต้องรู้

ทำงานสอดคล้องกับความเป็นผู้นำ และกำหนดความคาดหวังของทีม
เมื่อรวมทีมวอร์รูม (War-room) แล้ว ทีมนี้จะทำงานร่วมกับหัวหน้าฝ่ายการตลาดและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอื่นๆ เพื่อให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายของความคิดริเริ่ม

จากนั้น ทีมวอร์รูมจะประชุมเพื่อกำหนดกฎและบรรทัดฐานใหม่อย่างชัดเจน ให้มีการทำงานร่วมกันอย่างความเร็ว ต่อเนื่อง โดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจทั้งหมด

วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างโอกาส
ขั้นตอนที่ 2 คือ การพัฒนาข้อมูลเชิงลึก การวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป้าหมาย ข้อมูลเชิงลึกควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุความผิดปกติ จุดบกพร่อง ปัญหา หรือโอกาสในเส้นทางการตัดสินใจของลูกค้าหลัก หรือกลุ่มผู้มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้า

สมาชิกในทีมแต่ละคนจะรายงานถึงสิ่งที่ทำสำเร็จในวันก่อน และสิ่งที่วางแผนจะทำในวันนี้ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดความรับผิดชอบ

ออกแบบและจัดลำดับความสำคัญก่อนการทดสอบ
ทีมงานจะพัฒนาทั้งแนวคิดเกี่ยวกับวิธีปรับปรุงแผนการตลาด และทดสอบแนวคิด สำหรับแต่ละสมมติฐาน

เมื่อสร้างรายการการทดสอบที่เป็นไปได้เสร็จแล้ว จะมีการจัดลำดับความสำคัญตามเกณฑ์สองประการ คือ ผลกระทบทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น และความง่ายในการใช้งาน

ทั้งนี้แนวคิดที่ถูกจัดลำดับความสำคัญมากที่สุดจะถูกทำการทดสอบในทันที

การทดสอบ
ทีมงานดำเนินการทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าแนวทางที่เสนอใช้ได้ผลหรือไม่ เช่น การปรับรูปแบบการให้บริการขององค์กรของลูกค้า ซึ่งในการทดสอบแต่ละครั้งนั้น ทีมงานจะประชุมสั้นๆ ตรงประเด็น และคุยกันเพียงไม่กี่ครั้ง ให้เกิดกระบวนการพัฒนาและการอนุมัติที่รวดเร็ว

ติดตามผลลัพธ์
ทีมต้องมีกลไกการติดตามเพื่อรายงานประสิทธิภาพของการทดสอบแต่ละครั้งอย่างรวดเร็ว โดย Scrum Master จะนำการประชุมไปทบทวนผลการทดสอบ และตัดสินใจว่าจะปรับขนาดการทดสอบที่ให้ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้อย่างไร ปรับให้เข้ากับข้อเสนอแนะ และกำจัดสิ่งที่ไม่ได้ผล ทำทั้งหมดภายในกรอบเวลาที่จำกัด

ซึ่งกระบวนการติดตามผลลัพธ์ในแต่ละรอบ จะใช้ทีมวอร์รูมทำหน้าที่ซักถามคนในทีม เพื่อรวมสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสื่อสารผลลัพธ์ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักทั้งหมด

สุดท้ายนี้ นักการตลาดสามารถเปลี่ยนองค์กรให้เป็นทีมที่คล่องตัว ทำงานเชิงรุก เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในยุคที่ความต้องการผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ที่มา mckinsey

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

-“เข้าใจตัวเอง เข้าใจลูกค้า” วิธีสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจแบบ Makoto Marketing
-Marketing Automation การบริหารยอดขายด้วย “ข้อมูล” และ “เทคโนโลยี”
Created with