ทักษะการสื่อสารหรือ Communication Skill ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

สำหรับอาชีพวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือ Software Engineer นั้น เมื่อถึงเวลาต้องสมัครงาน ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) มักจะเป็นทักษะที่หลายๆ คนบอกว่าตัวเองมีพร้อมแล้วและมั่นใจในทักษะด้านนี้ หรือไม่ก็อาจจะเป็นทักษะที่ง่ายต่อการบอกว่า ต้องการพัฒนาและปรับปรุงมากที่สุด

แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่ามันมีหลากหลายประเภทของ Communication Skill ที่เราเองมักจะยังไม่รู้ เพราะถ้าให้ย่อยเป็นลิสต์ออกมานั้น บอกได้เลยว่าคุณจะรู้ว่าคุณยังต้องพัฒนาทักษะการสื่อสารเหล่านี้อีกเยอะเลยทีเดียว

ลองดูตัวอย่างของทักษะที่เห็นได้บ่อยๆ ในการรับสมัครพนักงานสำหรับตำแหน่ง Software Engineer ที่โชว์ขึ้นมาเมื่อลองเสิร์ชดูใน Google ที่เห็นบ่อยๆ
คุณสมบัติและทักษะที่ต้องการ :

  • มีความรู้ทั่วไปในด้าน processor architecture และ micro-architecture รวมไปถึงความรู้เรื่อง cache และ MMUs & interrupt handling (โดยเฉพาะด้าน ARM)
  • มีประสบการณ์ใช้งาน boot loader, kernel mode, และ user app debugging
  • มีประสบการณ์ใช้งาน Assembly language and C/C programming สำหรับ embedded systems or drivers
  • คุ้นเคยกับ Ethernet, Wireless, USB, DSL drivers
  • มีประสบการณ์ทำงานกับ network sniffers, IXIA/Smartbits test equipment
  • มีประสบการณ์เกี่ยวกับ source code control (โดยเฉพาะ Git, Gerrit)
  • ผู้สมัครต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี รวมไปถึงมีความตั้งใจทำงาน ฝักใฝ่ และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ

จากที่เห็นในลิสต์ที่กล่าวมา เห็นได้ว่าสำหรับทักษะด้านวิศวกรรมนั้นจะมีความละเอียดเป็นอย่างมาก เจาะจงรายละเอียดสายงานและประสบการณ์อย่างชัดเจน ซึ่งบางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์เพียงแค่ 2 อย่างจากทั้งหมดด้วยซ้ำ

ในทางกลับกันสำหรับคุณสมบัติ “ทักษะการสื่อสารที่ดี” นั้นแทบจะแยกไม่ออกว่าจริงๆ มันหมายถึงอะไรกันแน่ บางทีอาจจะไม่สามารถวัดได้อย่างชัดเจนว่าดีหรือไม่ดีพอ ยกตัวอย่าง บางคนมีสกิลการพรีเซนต์ที่ดี สามารถใช้โปรแกรมได้อย่างชำนาญ แต่ก็ยังต้องการที่จะพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา บางคนเป็นผู้ฟังที่ดีแต่ก็มีปัญหาเมื่อต้องเผชิญหน้าแบบตัวต่อตัวเพราะต้องการเวลาประมวลผลข้อมูลต่างๆ หรือบางคนที่พูดคุยกับวิศวกรได้อย่างคล่องแคล่วแต่หัวหน้ากลับมองว่าอาจจะลงรายละเอียดเยอะไป

เพราะฉะนั้น “ทักษะการสื่อสาร” เหล่านี้ แบบไหนล่ะที่ดีพอ? แน่ล่ะว่ามันน่าจะเวิร์คกับงานด้านผู้จัดการหรือผู้พัฒนาทีม แต่สำหรับด้านวิศวกรรมล่ะ? มาดูกันดีกว่าว่า “Communication Skills” จริงๆ แล้วจะมีอะไรบ้าง

  • สามารถช่วยให้คนอื่นผ่อนคลายและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยเริ่มจากบทสนทนาเล็กๆ น้อยๆ
  • สามารถโฟกัสเข้าเรื่องตรงประเด็นได้อย่างดี
  • สามารถตรวจสอบและรู้ได้ว่าอีกฝ่ายเข้าใจในสิ่งที่เราพูดจริงๆ
  • เปลี่ยนหัวข้อการสนทนาได้อย่างราบรื่น
  • โน้มน้าวให้คนอื่นตอบคำถามที่เราต้องการได้โดยไม่รู้สึกอึดอัด
  • สามารถทำให้คนอื่นทำตามที่เราขอได้
  • ช่วยสอนและส่งต่อความรู้ให้กับผู้อื่นได้
  • มีทักษะการนำเสนอได้เป็นอย่างดี
  • เตรียมตัวจัดการกับการทำสไลด์ได้อย่างเหมาะสม
  • เล่าเรื่องสนุกและเอนเตอร์เทนได้
  • สามารถอธิบายเรื่องต่างๆ ผ่านไวท์บอร์ดให้เห็นภาพ
  • สามารถเขียน จัดการ และวางแผนให้เข้าใจง่าย
  • สามารถพูดหรือโน้มน้าวให้อีกฝ่ายเข้าใจถึงมุมมองของคุณได้ ถึงแม้ว่าเค้าจะเห็นไม่ตรงกันก็ตาม
  • พูดให้อีกฝ่ายทำตามวิธีของคุณได้ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
  • สามารถทำให้คนอื่นเป็นตัวแทนพูดในเรื่องที่คุณต้องการได้
  • ทำให้คนอื่นรู้ได้ว่าคุณเข้าใจในเรื่องที่เค้าพูด
  • เข้าใจว่าต้องทำอย่างไรให้คนอื่นๆ สามารถเชื่อใจตัวคุณได้
  • สามารถแสดงออกถึงความมั่นใจได้น่าเชื่อถือ
  • สามารถเป็นผู้ควบคุมบทสนทนาได้โดยที่อีกฝ่ายไม่รู้ตัว
  • ยอมรับกับผลตอบรับหรือ feed back ได้เป็นอย่างดี
  • สามารถทำให้คนอื่นรู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขามีความสำคัญจริงๆ
  • รับรู้และสังเกตอารมณ์ของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
  • สามารถทำงานได้โดยที่ไม่เอาอารมณ์เข้ามาข้องเกี่ยว
  • สามารถโฟกัสและตั้งใจฟังกับบทสนทนาตรงหน้าโดยที่ไม่เบี่ยงเบนไปสนใจเรื่องอื่น
  • รู้ว่าควรแทรกความคิดเห็น ไอเดีย หรือความรู้สึกเข้าไปในบทสนทนาได้อย่างไหลลื่น
  • รู้ว่าตอนไหนควรหรือไม่ควรพูด

นี่ก็ถือว่าเป็นลิสต์ที่ละเอียดพอประมาณสำหรับทักษะด้านการสื่อสาร เพราะฉะนั้นแล้วบริษัทไหนที่กำลังมองหาพนักงานใหม่อยู่ แล้วต้องการประเมินว่าพวกเค้ามีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์หรือไม่ การลงรายละเอียดดีเทลพวกนี้จะช่วยให้สามารถตรวจสอบหรือวัดผลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ที่มา https://medium.com/@gwenshapira/i-have-people-skills-5427d76d9c7c
Created with