งานท่วมหัว ต้องเอาตัวให้รอดกับ 5 เทคนิค
In Summary
ถ้าคุณมีโมเมนต์ที่รู้สึกว่างานของคุณมันกองสุมหัวจนคุณแทบหายใจไม่ออกแบบนี้ ลองทำตามคำแนะนำของเราดู อาจจะใช้ไม่ได้ผลทุกข้อ แต่ให้ลองเลือกข้อที่เหมาะกับคุณ
แต่อย่าลืมว่าก่อนที่จะเริ่มทำอะไร ให้คุณสูดหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ และตั้งสติก่อน การหายใจช้าๆ จะช่วยลดอาการแพนิก ช่วยให้คุณมีสติ และปรับสมองเข้าสู่โหมดการเตรียมพร้อมและการวางแผน ซึ่งเวลาที่คุณมีงานสุมหัวเยอะ คุณมักจะข้ามโหมดนี้ไปเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
คำแนะนำของเรามีทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อมกันเลย
- ‘งานท่วมหัวเอาตัวไม่รอด’ หลายคนคงเคยรู้สึกแบบคำกล่าวนี้ ท้อแท้ทุกครั้งที่มองไปเห็นงานที่โผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุด และแทบจะหมดไฟไปหลายครั้ง
- ความรู้สึกแบบนี้เป็นสิ่งที่จัดการได้ อาจจะด้วยการลดจำนวนงานลง เปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือเปลี่ยนมายด์เซ็ทของเราเอง ซึ่งทำได้ตามเคล็ดลับที่เราจะเอามาฝากกันในวันนี้
- เราสามารถเยียวยาตัวเองจากความรู้สึกแย่เรื่องจำนวนงานได้ด้วยการฝึกสกิลในการยอมรับ และหัดพูดคุยทบทวนกับตัวเองอย่างใจเย็น จับเวลาเพื่อดูว่าจริงๆ แล้วเราทำงานแค่ไหน และรู้สึกแย่เกินจริงรึเปล่า ตรวจเช็คว่าคุณกำลังมองความคาดหวังของคนอื่นที่มีต่อคุณอย่างถูกต้องรึเปล่า ทบทวนข้อสันนิษฐานของตนเองในเรื่องปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ เริ่มหยุดพักตั้งแต่วันนี้ เลิกบอกตัวเองว่ามันยังไม่ถึงเวลาพัก
ถ้าคุณมีโมเมนต์ที่รู้สึกว่างานของคุณมันกองสุมหัวจนคุณแทบหายใจไม่ออกแบบนี้ ลองทำตามคำแนะนำของเราดู อาจจะใช้ไม่ได้ผลทุกข้อ แต่ให้ลองเลือกข้อที่เหมาะกับคุณ
แต่อย่าลืมว่าก่อนที่จะเริ่มทำอะไร ให้คุณสูดหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ และตั้งสติก่อน การหายใจช้าๆ จะช่วยลดอาการแพนิก ช่วยให้คุณมีสติ และปรับสมองเข้าสู่โหมดการเตรียมพร้อมและการวางแผน ซึ่งเวลาที่คุณมีงานสุมหัวเยอะ คุณมักจะข้ามโหมดนี้ไปเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
คำแนะนำของเรามีทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อมกันเลย
ฝึกสกิลในการยอมรับ และหัดพูดคุยทบทวนกับตัวเองอย่างใจเย็น
การพูดคุยกับตัวเองจะช่วยให้คุณรู้สึกสงบลง และควบคุมตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งนั่นรวมถึงการใจดีกับตัวเองด้วย รู้ขีดจำกัดว่าเราสามารถรับผิดชอบงานได้แค่ไหน การที่เรารับผิดชอบมากไปทำให้เรามีแนวโน้มที่จะกังวลมากขึ้น การฝึกคุยกับตัวเองหลายๆ แบบจะช่วยให้คุณเจอทางที่ดีที่สุดได้ อาจเริ่มต้นด้วยการพูดประโยคต่อไปนี้กับตัวเอง
(การพูดประโยคในแนวทางนี้ช่วยบำบัดพฤติกรรมโดยให้คนค่อยๆ ลบภาพจำของคำว่า “ควรทำอะไร” หรือ “อยากทำอะไร” ออกไปจากหัว และโฟกัสที่ว่าเรา “สามารถทำอะไร” มากกว่า เพื่อลดความกังวลและทำให้รู้สึกมีพลังมากขึ้น)
จับเวลาเพื่อดูว่าจริงๆ แล้วเราทำงานแค่ไหน และรู้สึกแย่เกินจริงรึเปล่า
มีหลักฐานจากงานวิจัยที่เปรียบเทียบผลการจับเวลาการทำงานว่าคนที่บอกว่าตัวเองทำงานได้หลายชั่วโมงนั้นมักจะเป็นการประเมินตัวเองสูงเกินจริง งานวิจัยมากมายชี้ให้เห็นว่ามีคนแค่ 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าคุณคิดว่าคุณทำงานได้มากกว่า 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั่นหมายความว่าสมองของคุณอาจรับรู้แบบนั้น แต่แท้จริงแล้วมันเป็นการประเมินที่เกินจริง
หลายครั้งที่สมองของเราประเมินเหตุการณ์ด้วยการตัดสินจากอารมณ์ของเรา ตอนที่เรากำลังกังวลกับงาน เราจะรู้สึกว่างานที่เราทำนั้นเยอะเกินกว่าความเป็นจริง และนั่นก็จะทำให้เรากลับไปกังวลอีกรอบ กลายเป็นวงจรอุบาทว์ไม่สิ้นสุด ทำให้คุณสิ้นหวัง ซึมเศร้า และเริ่มที่จะต่อต้านทุกอย่าง
ลองจับเวลาการทำงานของตัวเองสักอาทิตย์ คุณอาจจะใช้เครื่องมือออนไลน์ก็ได้ หรือจะแค่จดเวลางานใส่ในสมุด ลองจับเวลาโดยไม่ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมอะไร พฤติกรรมของคุณจะค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเองจากการจับเวลา ไม่จำเป็นต้องมีการบังคับตัวเองหรืออะไรทั้งนั้น
อีกสิ่งสำคัญคือการพยายามลดจำนวนกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานที่คุณมักเผลอทำในเวลาการทำงานลง เช่น การเช็คโทรศัพท์ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเวลาสั้นๆ แต่มันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณรู้สึกว่าเสียเวลาการทำงานมาก ปรับลดนิสัยเหล่านี้ลงซะ
ในทางตรงกันข้าม การแวบมาทำสิ่งดีๆ ที่อยู่นอกเหนือจากงานบ้างอย่างสั้นๆ ในแต่ละวัน จะทำให้คุณรู้สึกถึงสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานมากขึ้น เช่น หันไปกอดลูกสักครั้งในขณะที่นั่งทำงาน นั่นจะทำให้คุณรู้สึกถึงการทำหน้าที่พ่อแม่ที่ดี และรู้สึกว่าชีวิตสมดุลมากขึ้น และการหยุดมาคุยกับคนรอบข้างอย่างต่อเนื่อง 5 นาที มีคุณภาพกว่าการคุยกันแบบติดๆ ขัดๆ ในขณะที่ทำงานไปด้วย 10 นาทีมาก
การพูดคุยกับตัวเองจะช่วยให้คุณรู้สึกสงบลง และควบคุมตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งนั่นรวมถึงการใจดีกับตัวเองด้วย รู้ขีดจำกัดว่าเราสามารถรับผิดชอบงานได้แค่ไหน การที่เรารับผิดชอบมากไปทำให้เรามีแนวโน้มที่จะกังวลมากขึ้น การฝึกคุยกับตัวเองหลายๆ แบบจะช่วยให้คุณเจอทางที่ดีที่สุดได้ อาจเริ่มต้นด้วยการพูดประโยคต่อไปนี้กับตัวเอง
- “ถึงแม้ว่าฉันจะมีงานเยอะแค่ไหน แต่ฉันสามารถจดจ่อกับงานได้ทีละอย่างเท่านั้น และนั่นทำให้ฉันรู้สึกดีกับตัวเองมากกว่า”
- “ฉันรู้ว่าฉันมีความสุขมากกว่าเวลาที่ทำงานหลายอย่างเสร็จในวันเดียว แต่ฉันก็ต้องยอมรับความจริงว่าจริงๆ แล้วฉันทำได้แค่ไหน”
(การพูดประโยคในแนวทางนี้ช่วยบำบัดพฤติกรรมโดยให้คนค่อยๆ ลบภาพจำของคำว่า “ควรทำอะไร” หรือ “อยากทำอะไร” ออกไปจากหัว และโฟกัสที่ว่าเรา “สามารถทำอะไร” มากกว่า เพื่อลดความกังวลและทำให้รู้สึกมีพลังมากขึ้น)
- “อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้ตอนนี้?” นี่คือคำถามที่ดีมากที่เหมาะจะถามตัวเอง เพราะช่วยให้เรารู้สึกแย่กับข้อผิดพลาดที่ผ่านมาน้อยลง และลดความกังวลที่มีต่ออนาคต ซึ่งจะทำให้เราโฟกัสและจัดลำดับความสำคัญได้ดีกว่า
- หรือเราอาจจะให้กำลังใจตัวเองเวลาต้องทำงานหนักด้วยการบอกตัวเองว่า “ฉันรักงานของฉัน และฉันชอบเวลาที่มีอะไรทำเยอะๆ เพราะฉะนั้นการมีงานล้นมือในบางครั้งก็เป็นเรื่องปกติ ฉันสามารถจัดการอารมณ์ และปรับตัวเข้ากับการทำงานได้”
จับเวลาเพื่อดูว่าจริงๆ แล้วเราทำงานแค่ไหน และรู้สึกแย่เกินจริงรึเปล่า
มีหลักฐานจากงานวิจัยที่เปรียบเทียบผลการจับเวลาการทำงานว่าคนที่บอกว่าตัวเองทำงานได้หลายชั่วโมงนั้นมักจะเป็นการประเมินตัวเองสูงเกินจริง งานวิจัยมากมายชี้ให้เห็นว่ามีคนแค่ 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าคุณคิดว่าคุณทำงานได้มากกว่า 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั่นหมายความว่าสมองของคุณอาจรับรู้แบบนั้น แต่แท้จริงแล้วมันเป็นการประเมินที่เกินจริง
หลายครั้งที่สมองของเราประเมินเหตุการณ์ด้วยการตัดสินจากอารมณ์ของเรา ตอนที่เรากำลังกังวลกับงาน เราจะรู้สึกว่างานที่เราทำนั้นเยอะเกินกว่าความเป็นจริง และนั่นก็จะทำให้เรากลับไปกังวลอีกรอบ กลายเป็นวงจรอุบาทว์ไม่สิ้นสุด ทำให้คุณสิ้นหวัง ซึมเศร้า และเริ่มที่จะต่อต้านทุกอย่าง
ลองจับเวลาการทำงานของตัวเองสักอาทิตย์ คุณอาจจะใช้เครื่องมือออนไลน์ก็ได้ หรือจะแค่จดเวลางานใส่ในสมุด ลองจับเวลาโดยไม่ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมอะไร พฤติกรรมของคุณจะค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเองจากการจับเวลา ไม่จำเป็นต้องมีการบังคับตัวเองหรืออะไรทั้งนั้น
อีกสิ่งสำคัญคือการพยายามลดจำนวนกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานที่คุณมักเผลอทำในเวลาการทำงานลง เช่น การเช็คโทรศัพท์ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเวลาสั้นๆ แต่มันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณรู้สึกว่าเสียเวลาการทำงานมาก ปรับลดนิสัยเหล่านี้ลงซะ
ในทางตรงกันข้าม การแวบมาทำสิ่งดีๆ ที่อยู่นอกเหนือจากงานบ้างอย่างสั้นๆ ในแต่ละวัน จะทำให้คุณรู้สึกถึงสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานมากขึ้น เช่น หันไปกอดลูกสักครั้งในขณะที่นั่งทำงาน นั่นจะทำให้คุณรู้สึกถึงการทำหน้าที่พ่อแม่ที่ดี และรู้สึกว่าชีวิตสมดุลมากขึ้น และการหยุดมาคุยกับคนรอบข้างอย่างต่อเนื่อง 5 นาที มีคุณภาพกว่าการคุยกันแบบติดๆ ขัดๆ ในขณะที่ทำงานไปด้วย 10 นาทีมาก
ตรวจเช็คว่าคุณกำลังมองความคาดหวังของคนอื่นที่มีต่อคุณอย่างถูกต้องรึเปล่า
เรามักจะออกกฎให้ตัวเองอย่างไม่รู้ตัว เช่น การบอกตัวเองว่า “ฉันต้องตอบอีเมลทั้งหมดให้เสร็จภายในหนึ่งวัน” ลองดูก่อนว่าคนอื่นทำแบบเดียวกับคุณรึเปล่า การที่คนอื่นตอบอีเมลแค่ตอนว่างเท่านั้น นั้นหมายความว่าเขากำลังจัดลำดับความสำคัญกับงานก่อน และนั่นอาจทำให้คนอื่นรู้จักเคารพเวลาของคุณมากขึ้น
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณได้รับอีเมลตอนดึกวันศุกร์ คุณอาจรู้สึกว่าคุณต้องตอบอีเมลในวันหยุด ไม่งั้นคนที่ส่งมาจะต้องรอนานและการทำงานต้องหยุดชะงัก แต่คุณอาจจะลืมไปว่าเขาอาจไม่ต้องการรับอีเมลรบกวนในช่วงวันหยุดก็ได้
เรามักจะออกกฎให้ตัวเองอย่างไม่รู้ตัว เช่น การบอกตัวเองว่า “ฉันต้องตอบอีเมลทั้งหมดให้เสร็จภายในหนึ่งวัน” ลองดูก่อนว่าคนอื่นทำแบบเดียวกับคุณรึเปล่า การที่คนอื่นตอบอีเมลแค่ตอนว่างเท่านั้น นั้นหมายความว่าเขากำลังจัดลำดับความสำคัญกับงานก่อน และนั่นอาจทำให้คนอื่นรู้จักเคารพเวลาของคุณมากขึ้น
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณได้รับอีเมลตอนดึกวันศุกร์ คุณอาจรู้สึกว่าคุณต้องตอบอีเมลในวันหยุด ไม่งั้นคนที่ส่งมาจะต้องรอนานและการทำงานต้องหยุดชะงัก แต่คุณอาจจะลืมไปว่าเขาอาจไม่ต้องการรับอีเมลรบกวนในช่วงวันหยุดก็ได้
- พยายามฝึกตัวเองไม่ให้ตอบข้อความนอกเวลางาน บางคนอาจรู้สึกซาบซึ้งใจกับการที่คุณยอมช่วยเขานอกเวลางาน แต่เวลาที่คุณจัดการการตอบอีเมลทั้งหมดให้อยู่ในเวลางาน จะช่วยให้คุณจัดลำดับความสำคัญของการทำงานได้ดีขึ้น มากกว่าที่จะรีบพุ่งตัวไปตอบไม่ว่าจะได้อีเมลตอนไหนก็คาม
- พยายามพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของความคาดหวังที่คนอื่นมีต่อคุณให้เคลียร์ อย่าคิดไปเองว่าบอสต้องการให้คุณทำงานให้เสร็จเดี๋ยวนั้น ถามเลยดีกว่าว่าอยากได้ตอนไหน
- เวลาไม่ว่าง บอกให้คนอื่นรู้ บอกตรงๆ ว่าคุณสามารถทำให้ได้เมื่อไหร่ อย่ากำหนดเวลาที่เร็วเกินความสามารถของคุณ
ทบทวนข้อสันนิษฐานของตนเอง ในเรื่องปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ
บางครั้งคุณอาจมีความเข้าใจที่ผิดๆ ในหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ คุณอาจจะคิดในแบบเพอร์เฟ็กต์ชันนิสม์ว่าคุณต้องทำงานให้หนักกว่าคนอื่นถึงจะประสบความสำเร็จ แต่ความคิดแบบนี้จะเป็นปัญหาอย่างหนักถ้าคุณอยู่ในอุตสาหกรรมที่การแข่งขันสูง มันอาจจะยากที่จะต้องหาว่าแนวคิดของเรามีปัญหาตรงไหน หรือล้มล้างกฎที่เราตั้งให้กับตัวเอง หากเมื่อไหร่ที่คุณทุกข์กับการทำงาน นั่นเป็นเวลาที่เหมาะมากที่จะกลับไปทบทวนข้อสันนิษฐานที่อาจจะผิดเหล่านี้
มองหาข้อสันนิษฐานที่ทำให้เกิดความเครียดโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกข้อสันนิษฐานที่ทำให้คุณเหนื่อยจนต้องผลัดงานออกไป หรือทำงานไม่ไหว เช่น ถ้าคุณตันกับการเขียนคอนเทนต์คุณภาพที่รีเสิร์ชไม่จบสิ้น คุณควรจะทิ้งข้อสันนิษฐานที่บอกว่างานของคุณต้องเพอร์เฟ็กต์ ให้คิดแค่ว่างานเขียนของเราควรให้ประโยชน์ มาจากต้นทางที่เชื่อถือได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนให้ละเอียดและครอบคลุมทุกเรื่องก็ได้
เขียนข้อสันนิษฐานที่คุณคิดว่าผิดพลาดลงในกระดาษ และหาตัวเลือกแบบเดียวกันที่อิงจากความจริงมากกว่า เช่น แทนที่จะคิดว่าต้องทำงานให้หนักกว่าคนอื่นจึงจะสำเร็จ ลองมองว่าในทีมของคุณมีแต่คนเก่งอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องทำงานให้เก่งกว่าคนอื่น แค่ทำงานเป็นทีมให้ดีก็พอ ลองหาตัวเลือกหลายๆ แบบจนกว่าคุณจะเจออันที่คุณคิดว่าจริงแหละเหมาะสมที่สุด
เริ่มหยุดพักตั้งแต่วันนี้ เลิกบอกตัวเองว่ามันยังไม่ถึงเวลาพัก
การหยุดพักในวันหยุด หรือลาพักไม่ได้ทำให้ฟ้าถล่มหรอก พักบ้าง แล้วคุณจะค่อยๆ เรียนรู้ได้ว่าคุณสามารถลดความกังวลเรื่องงานลงได้ ถ้าคุณอยากรู้สึกผ่อนคลายขึ้น ก็ต้องทำตัวให้ผ่อนคลายขึ้น
คุณสามารถจัดการการพักของตัวเองในวิธีไหนก็ได้ที่คุณต้องการ ถามตัวเองว่าต้องทำยังไงถึงจะรู้สึกผ่อนคลายกว่านี้ คิดวิธีมาสัก 5-6 วิธีแล้วลองทำตาม
บางคนมักรอให้ตัวเองมีอารมณ์อยากจะพักก่อนค่อยพัก เหมือนที่เขามักพูดกันว่า “ฟีลลิ่งมันไม่ได้ เลยยังไม่ทำ” แต่ความจริงการเริ่มทำเลยแล้วให้การกระทำเปลี่ยนอารมณ์ของเราทีหลังเป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งใช้ได้กับทุกอย่างในชีวิต เช่น คุณมักบอกตัวเองว่า “ถ้ายุ่งน้อยกว่านี้ จะเริ่มจัดระเบียบงานใหม่” ลองเปลี่ยนเป็น “ถ้าจัดระเบียบงานใหม่ จะยุ่งน้อยกว่านี้” แล้วเริ่มทำเลย วิธีนี้จะช่วยให้คุณเปลี่ยนนิสัยประเภทวัวหายแล้วค่อยล้อมคอกที่มกจะบ่อนทำลายตัวคุณเองได้
ลองทำตาม 5 เคล็ดลับนี้ งานท่วมหัวแค่ไหนก็เอาตัวรอดได้
Source
บางครั้งคุณอาจมีความเข้าใจที่ผิดๆ ในหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ คุณอาจจะคิดในแบบเพอร์เฟ็กต์ชันนิสม์ว่าคุณต้องทำงานให้หนักกว่าคนอื่นถึงจะประสบความสำเร็จ แต่ความคิดแบบนี้จะเป็นปัญหาอย่างหนักถ้าคุณอยู่ในอุตสาหกรรมที่การแข่งขันสูง มันอาจจะยากที่จะต้องหาว่าแนวคิดของเรามีปัญหาตรงไหน หรือล้มล้างกฎที่เราตั้งให้กับตัวเอง หากเมื่อไหร่ที่คุณทุกข์กับการทำงาน นั่นเป็นเวลาที่เหมาะมากที่จะกลับไปทบทวนข้อสันนิษฐานที่อาจจะผิดเหล่านี้
มองหาข้อสันนิษฐานที่ทำให้เกิดความเครียดโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกข้อสันนิษฐานที่ทำให้คุณเหนื่อยจนต้องผลัดงานออกไป หรือทำงานไม่ไหว เช่น ถ้าคุณตันกับการเขียนคอนเทนต์คุณภาพที่รีเสิร์ชไม่จบสิ้น คุณควรจะทิ้งข้อสันนิษฐานที่บอกว่างานของคุณต้องเพอร์เฟ็กต์ ให้คิดแค่ว่างานเขียนของเราควรให้ประโยชน์ มาจากต้นทางที่เชื่อถือได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนให้ละเอียดและครอบคลุมทุกเรื่องก็ได้
เขียนข้อสันนิษฐานที่คุณคิดว่าผิดพลาดลงในกระดาษ และหาตัวเลือกแบบเดียวกันที่อิงจากความจริงมากกว่า เช่น แทนที่จะคิดว่าต้องทำงานให้หนักกว่าคนอื่นจึงจะสำเร็จ ลองมองว่าในทีมของคุณมีแต่คนเก่งอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องทำงานให้เก่งกว่าคนอื่น แค่ทำงานเป็นทีมให้ดีก็พอ ลองหาตัวเลือกหลายๆ แบบจนกว่าคุณจะเจออันที่คุณคิดว่าจริงแหละเหมาะสมที่สุด
เริ่มหยุดพักตั้งแต่วันนี้ เลิกบอกตัวเองว่ามันยังไม่ถึงเวลาพัก
การหยุดพักในวันหยุด หรือลาพักไม่ได้ทำให้ฟ้าถล่มหรอก พักบ้าง แล้วคุณจะค่อยๆ เรียนรู้ได้ว่าคุณสามารถลดความกังวลเรื่องงานลงได้ ถ้าคุณอยากรู้สึกผ่อนคลายขึ้น ก็ต้องทำตัวให้ผ่อนคลายขึ้น
คุณสามารถจัดการการพักของตัวเองในวิธีไหนก็ได้ที่คุณต้องการ ถามตัวเองว่าต้องทำยังไงถึงจะรู้สึกผ่อนคลายกว่านี้ คิดวิธีมาสัก 5-6 วิธีแล้วลองทำตาม
บางคนมักรอให้ตัวเองมีอารมณ์อยากจะพักก่อนค่อยพัก เหมือนที่เขามักพูดกันว่า “ฟีลลิ่งมันไม่ได้ เลยยังไม่ทำ” แต่ความจริงการเริ่มทำเลยแล้วให้การกระทำเปลี่ยนอารมณ์ของเราทีหลังเป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งใช้ได้กับทุกอย่างในชีวิต เช่น คุณมักบอกตัวเองว่า “ถ้ายุ่งน้อยกว่านี้ จะเริ่มจัดระเบียบงานใหม่” ลองเปลี่ยนเป็น “ถ้าจัดระเบียบงานใหม่ จะยุ่งน้อยกว่านี้” แล้วเริ่มทำเลย วิธีนี้จะช่วยให้คุณเปลี่ยนนิสัยประเภทวัวหายแล้วค่อยล้อมคอกที่มกจะบ่อนทำลายตัวคุณเองได้
ลองทำตาม 5 เคล็ดลับนี้ งานท่วมหัวแค่ไหนก็เอาตัวรอดได้
Source
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture