สร้าง Content Marketing ให้ได้ผล โดยใช้หลักมาสโลว์

Vector Content Marketing concept colored outline horizontal banner or illustration

สร้าง Content Marketing ให้ได้ผล โดยใช้หลักการ ‘ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์’

การทำ Content Marketing ที่เรารู้จักกันนั้น มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่การจะมองการตลาดแขนงนี้ให้ทะลุปรุโปร่งได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย การนำเอาหลักการ ‘ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์’ มาจับ จึงเป็นไอเดียที่ไม่เลว เพราะนอกจากจะช่วยลดความซับซ้อนลงไปแล้ว ยังทำให้เรากำหนดกลยุทธ์ธุรกิจได้ง่ายขึ้น

คอนเทนต์ที่ใช้ในการตลาดนั้นมีอยู่หลายประเภท และที่สำคัญคือมีคอนเทนต์ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เมื่อลองมาสังเกตดูดีๆ แล้ว ทุกๆ คอนเทนต์ล้วนมีวัตถุประสงค์หลักๆ อยู่ 4 ข้อด้วยกัน ดังนั้นการคิดคอนเทนต์ด้วยหลักการของมาสโลว์ จะทำให้เราเห็นภาพรวมของธุรกิจมากขึ้น

เกริ่นมาพอสมควรแล้ว เราไปทำความรู้จักกับหลักการดังกล่าวกันเลย


หลายคนน่าจะคุ้นหูกับทฤษฎี ‘ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์’ (Maslow Hierachy of Needs) ซึ่งกล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ว่า มนุษย์เราต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานให้ตัวเองก่อน (อาหาร มีที่อยู่อาศัย) ก่อนจะสามารถคิดถึงความต้องการขั้นต่อๆ ไป เช่น ความรัก หรือความภาคภูมิใจในตนเอง ทำนองเดียวกันกับการสร้างคอนเทนต์ ที่มีลำดับความสำคัญเช่นกัน

1. ตอบโจทย์
วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำคอนเทนต์ทางการตตลาด คือการตอบโจทย์ให้ถูก ถ้าหากว่าเราเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่สนามประลองด้าน Content Marketing แล้วยังไม่มีคู่แข่งมากในกลุ่มเป้าหมายของเรา (niche) ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
การตอบโจทย์พื้นฐานความต้องการผู้บริโภคให้ได้ เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เข้าถึงเว็บไซต์ของเราในกรณีที่ตลาดมีการแข่งขันไม่สูงนัก แต่ปัญหาก็คือ ถ้าเนื้อหาของเราไม่โดนใจ ผู้ชมก็จะจากไปอย่างรวดเร็ว และจะไม่เกิดการเข้าชมซ้ำ
from wikipedia

2. ให้ความรู้
ตัวอย่างที่ดีของคอนเทนต์ให้ความรู้คือ Social Media Examiner (SME) ที่สร้างขึ้นโดย Michael Stelzner ในแต่ละวัน SME จะนำเสนอความรู้ต่างๆ ที่มีประโยชน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย อีกหนึ่งคอนเทนต์ที่ให้ความรู้คือ Ancient History Encyclopedia หรือ สารานุกรมประวัติศาสตร์โบราณ ซึ่งมีบทความที่น่าสนใจทั้งด้านภาษาโบราณ สถาปัตยกรรม หรือแม้กระทั่งวิธีสร้างอาวุธ

คอนเทนต์ประเภทนี้จะค่อนข้างดึงดูดให้ผู้อ่านเกิดความหลงใหล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้แก่เจ้าของธุรกิจ อย่างของทาง SME ที่ยกตัวอย่างมานั้น มีการให้บริการเว็บไซต์สำหรับการประชุมและเว็บไซต์สำหรับสมาชิก ส่วน Ancient History มีนิตยสารและสปอนเซอร์ที่สร้างรายได้ให้กับองค์กร

3. สร้างการเชื่อมต่อทางอารมณ์
หัวใจหลักของการทำการตลาดคือ ต้องพยายามทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจและลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่ผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือแม้กระทั่งได้ลูกค้าที่จงรักภักดี (loyalty) ปัญหาของคอนเทนต์ประเภทให้ความรู้จากกรณีศึกษาของ SME หรือ Ancient History คือ เรามักจะไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เขียนบทความที่เรากำลังอ่านอยู่ และคอนเทนต์ส่วนใหญ่ยังหนีไม่พ้นเรื่องของสินค้าต่างๆ ซึ่งถ้าผู้ชมพบสิ่งที่น่าสนใจกว่า ก็พร้อมจะเปลี่ยนทันที
การเชื่อมต่อทางอารมณ์กับผู้อ่านจะมาอุดรอยรั่วตรงนี้เพราะมันเชื่อมต่อกับผู้อ่านในระดับที่ลึกลงไปอีกขั้น เรามักจะรัก ชื่นชม หรือเทิดทูนแบรนด์หรือใครก็ตาม ผ่านวิดีโอ รูปถ่าย หรือโพสต์ในบล็อกของเขา ความล้มเหลวอันใหญ่หลวงของการตลาดในปัจจุบันเกิดจากมันไม่สร้างความเชื่อมต่อทางอารมณ์มากพอ ดังนั้นคอนเทนต์ประเภทนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
บทความล่าสุดใน The Wall Street Journal อธิบายเกี่ยวกับเหล่าคนดังใน podcast กำลังเปิดขายบัตรการแสดงสดของตัวเอง “นี่แหละตัวอย่างของการเชื่อมต่อทางอารมณ์ ทั้งยาวนานและทรงพลัง”

4. สร้างแรงบันดาลใจ
อารมณ์อะไรที่สัมพันธ์กับคอนเทนต์ที่ส่งต่อกันมากที่สุด (Viral)?
งานวิจัยหลายงานระบุตรงกันว่าอารมณ์นั้นคือ ‘ความกลัว’
นี่คือสุดยอดของคอนเทนต์ที่สร้างแรงบันดาลใจและสร้างความบันเทิงในรูปแบบที่สวยงาม อาจจะเป็นวิดีโอที่มีคำพูดสร้างแรงบันดาลใจ หรือวิดีโอที่ถ่ายทำแบบคุณภาพระดับภาพยนตร์จากแบรนด์ระดับโลก ที่ทำให้เมื่อเราดูแล้วต้องร้อง ‘ว้าว’
แน่นอนว่าการสร้างคอนเทนต์ประเภทนี้ทั้งยากและต้นทุนสูง มันต้องมีใช้การตลาดรูปแบบอื่นๆ ควบคู่กันไป ซึ่งแน่นอนว่าแบรนด์จะไม่ฝากชีวิตไว้กับคอนเทนต์ประเภทเดียวแน่นอน
แล้วจะนำไอเดียเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร? วันนี้เรามีคำตอบให้

ค่าใช้จ่าย – ค่าใช้จ่ายในการสร้างคอนเทนต์จะเพิ่มขึ้นจากฐานสู่ยอดของพีระมิด
SEO – การนำหลักดังกล่าวเข้ามาช่วย จะมีความสำคัญกับฐานของพีระมิดมากกว่ายอดของพีระมิด
เป้าหมายทางธุรกิจ – ถ้าเราพยายามสร้างรายได้จากธุรกิจ มันอาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรือดูไม่หวือหวานักในช่วงฐานของพีระมิด
การเปลี่ยนแปลง – ลองดูว่าคู่แข่งของเราอยู่ขั้นไหนในพีระมิดนี้ ถ้าเขาแค่ตอบโจทย์ เราอาจจะเลื่อนขึ้นไปในระดับที่ให้ความรู้ แค่นี้ก็สร้างความแตกต่างได้แล้ว

ที่มา: https://businessesgrow.com/2018/07/23/content-marketing-hierarchy-of-needs/
Created with