7 คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่ ที่ทุกองค์กรควรมี
เรามักจะคิดว่าการเป็นผู้นำยุคใหม่หรือหัวหน้าที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติของการตัดสินใจที่รอบคอบ มีไหวพริบ และสามารถจัดการทุกอย่างได้เป็นไปตามแผน แต่มันใช่แค่นั้นจริงๆ หรือ?
ในยุคที่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือระบบ AI (Artificial Intelligence) ที่หลายฝ่ายกำลังพัฒนาในรูปแบบต่างๆ
นั่นแปลว่าโลกของเรากำลังจะพัฒนาไปสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เพราะฉะนั้นคุณสมบัติที่แท้จริงของผู้นำจึงน่าจะเป็นความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งเหล่านี้เสียมากกว่า
ในยุคที่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือระบบ AI (Artificial Intelligence) ที่หลายฝ่ายกำลังพัฒนาในรูปแบบต่างๆ
นั่นแปลว่าโลกของเรากำลังจะพัฒนาไปสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เพราะฉะนั้นคุณสมบัติที่แท้จริงของผู้นำจึงน่าจะเป็นความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งเหล่านี้เสียมากกว่า
ผู้นำยุคใหม่ที่ดีสามารถมีหลายทักษะ
โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะคิดกันไปเองว่า การเลือกผู้นำที่ดีต้องดูแค่ทักษะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เช่นมองหาและเลือกคุณสมบัติของความมั่นใจมากกว่าความนอบน้อม
ซึ่งจริงๆ แล้วผู้นำที่ดีสามารถมีสองคุณสมบัตินี้ได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อถึงเวลาทำงาน ผู้นำเหล่านี้ก็จะสามารถสั่งและบอกทิศทางต่างๆ ให้ทีมรับฟังด้วยความมั่นใจ โดยยังเปิดโอกาสให้ทีมงานคนอื่นๆ สามารถออกความคิดเห็นได้ด้วย ซึ่ง
การกระทำของผู้นำประเภทนี้จะเรียกว่า situational leadership
ซึ่งการที่ผู้นำจะมีหลายทักษะอยู่ในตัวได้ ก็จะต้องเกิดจากความเข้าใจในลูกทีมและเพื่อนร่วมงานนั่นเอง วิธีง่ายๆ ก็คือ
ลองสังเกตว่าทีมของคุณมีการรับมือกับเหตุการณ์ท้าทายอย่างไรบ้าง แล้วลองคิดว่าพวกเขาเหมาะกับการสอน การโน้มน้าว การชี้แนะ หรือการควบคุมมากกว่ากัน
ผู้นำที่ดีจะต้องเปิดรับความคิดที่แตกต่าง
ทุกอย่างคงจะราบรื่น ถ้าทุกคนในองค์กรของคุณมีความสามัคคีและคิดเห็นเหมือนกันตลอดเวลา แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วยกับความคิดของคุณ เพียงแต่พวกเขาอาจจะไม่ได้พูดออกมาเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องพร้อมเปิดรับความเห็นที่แตกต่างและคอยกระตุ้นให้ลูกทีมพูดสิ่งที่คิดออกมา เชื่อเถอะว่าอาจจะทำให้ทั้งคนพูดและคนฟังลำบากใจนิดหน่อย แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้มักจะออกมาดีกว่าเสมอ ยิ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างมากเท่าไหร่ หัวหน้าก็จะมีความมั่นใจในการตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งการรวบรวมความคิดที่แตกต่างเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก หัวหน้าควรที่จะต้องทำให้ลูกทีมรู้สึกสบายใจในการช่วยกันเสนอไอเดียเหล่านั้นออกมา โดยสามารถเริ่มได้จากวิธีง่ายๆ ดังนี้
– พยายามมองหาความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเฉพาะจากกลุ่มคนหลากหลายฝ่าย
– กระตุ้นให้ทีมได้ใช้เหตุและผลในความคิดต่างๆ อยู่เสมอ
– ตอบรับความคิดที่ไม่เห็นด้วยกับคุณด้วยความเข้าใจ เช่น ถามถึงรายละเอียดเพิ่มเติมว่าทำไม
– บอกและแสดงให้เห็นว่าไอเดียที่คุณคิดมีแนวทางในการจัดการอย่างชัดเจน
– ตอบรับความคิดที่ไม่เห็นด้วยกับคุณด้วยความเข้าใจ เช่น ถามถึงรายละเอียดเพิ่มเติมว่าทำไม
– บอกและแสดงให้เห็นว่าไอเดียที่คุณคิดมีแนวทางในการจัดการอย่างชัดเจน
ผู้นำที่ดีจะถือว่าเป็นตัวแทนของอำนาจ
ลองนึกถึงหัวหน้าที่คุณชื่นชอบที่จะทำงานด้วย โดยส่วนใหญ่พวกเขาน่าจะมีลักษณะที่สามารถควบคุมและตัดสินใจทุกอย่างได้อย่างดี ไม่ใช่แค่กับปัญหาซับซ้อนเท่านั้น แต่พวกเขาสามารถตัดสินใจและแบ่งงานได้เหมาะสมและถูกคน ทำให้ได้ผลลัพธ์สุดท้ายที่มีประสิทธิภาพเสมอ
แต่บางครั้งผู้นำหรือหัวหน้าเหล่านั้นอาจจะติดอยู่กับความคิดที่ว่า ทุกๆ อย่างต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพวกเขาเพียงแค่คนเดียว แล้วถ้าสุดท้ายหัวหน้าไม่ได้เห็นด้วยกับคนอื่นๆ พวกเขาก็จะต้องออกจากระบบนี้ไป
แต่ตัวอย่างนี้ ก็ดูได้จากที่สตีฟ จ็อบส์ เคยพูดไว้ว่า “เราไม่ได้จ้างคนที่เก่งและฉลาดเพื่อมาบอกให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆ แต่เราจ้างคนที่เก่งและฉลาดมาคอยชี้แนะแนวทางให้เราทำอะไรเสียมากกว่า”
และหัวหน้าที่ใช้เวลาไปกับการทำให้แน่ใจว่าลูกทีมเข้าใจว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ เพื่อสุดท้ายผลงานจะออกมาดีที่สุด ก็อาจเริ่มด้วยวิธีเหล่านี้
– ป้อนปัญหา เพื่อให้พวกเขาได้ลองแก้ไขเอง
– ตั้งเป้าหมายโดยรวม แต่ให้ลูกทีมลองคิดถึงวิธีการที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นเอาเอง
– บอกลูกทีมให้แน่ใจว่า คุณพร้อมที่จะสนับสนุนพวกเขาเสมอ
ผู้นำที่ดีต้องคอยติดตาม feedback ของตัวเองเสมอ
พยายามติดตามการรายงาน performance หรือผลการปฏิบัติงานของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ แม้บางคนอาจจะกลัวกับคำตอบที่จะได้ แต่ขอบอกว่า นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาศักยภาพการเป็นหัวหน้าที่ดีของคุณ ลองถามถึงความเห็นเหล่านั้นแล้วหาทางพัฒนาต่อไปในอนาคต
วิธีง่ายๆ ในการติดตาม feedback จากคนอื่นมีดังนี้
– เปิดโอกาสให้คนอื่นคอยเตือนคุณเมื่อคุณทำพลาด
– รับฟังด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อโต้เถียง
– ขอบคุณด้วยความจริงใจถึงความเห็นที่คุณได้รับ
ผู้นำที่ดีจะสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจ
นอกจากจะต้องสื่อสารได้ชัดเจนและถูกต้องแล้ว หัวหน้าที่ดีต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ลองพยายามทำความเข้าใจว่า ลูกทีมมีความรู้สึกอะไรแฝงอยู่หรือไม่ เช่น ความกลัว ความหวัง หรือความกังวลต่างๆ
ซึ่งการใช้ความเห็นอกเห็นใจนี้จะมีประโยชน์มากเมื่อหัวหน้าจะต้องพูดหรือประกาศเรื่องราวที่อ่อนไหวต่อความรู้สึก เพราะบางครั้งข้อมูลต่างๆ อาจจะกระทบจิตใจคนในทีมได้ เพราะฉะนั้นการฝึกฝนให้มีทักษะความเห็นอกเห็นใจในการสื่อสาร ทำได้ดังนี้
– ฝึกฝนการพูดอย่างตั้งใจ ปิดคอมพิวเตอร์และมือถือของคุณ เพื่อทุ่มเทกับการซ้อมตรงหน้า
– เรียนรู้และทำความรู้จักกับลูกทีมของคุณให้ใกล้ชิดมากขึ้น
– ลองคิดคำถามที่อาจจะต้องพบเจอ และฝึกซ้อมการรับมือในแต่ละสถานการณ์
โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะคิดกันไปเองว่า การเลือกผู้นำที่ดีต้องดูแค่ทักษะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เช่นมองหาและเลือกคุณสมบัติของความมั่นใจมากกว่าความนอบน้อม
ซึ่งจริงๆ แล้วผู้นำที่ดีสามารถมีสองคุณสมบัตินี้ได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อถึงเวลาทำงาน ผู้นำเหล่านี้ก็จะสามารถสั่งและบอกทิศทางต่างๆ ให้ทีมรับฟังด้วยความมั่นใจ โดยยังเปิดโอกาสให้ทีมงานคนอื่นๆ สามารถออกความคิดเห็นได้ด้วย ซึ่ง
การกระทำของผู้นำประเภทนี้จะเรียกว่า situational leadership
ซึ่งการที่ผู้นำจะมีหลายทักษะอยู่ในตัวได้ ก็จะต้องเกิดจากความเข้าใจในลูกทีมและเพื่อนร่วมงานนั่นเอง วิธีง่ายๆ ก็คือ
ลองสังเกตว่าทีมของคุณมีการรับมือกับเหตุการณ์ท้าทายอย่างไรบ้าง แล้วลองคิดว่าพวกเขาเหมาะกับการสอน การโน้มน้าว การชี้แนะ หรือการควบคุมมากกว่ากัน
ผู้นำที่ดีจะต้องเปิดรับความคิดที่แตกต่าง
ทุกอย่างคงจะราบรื่น ถ้าทุกคนในองค์กรของคุณมีความสามัคคีและคิดเห็นเหมือนกันตลอดเวลา แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วยกับความคิดของคุณ เพียงแต่พวกเขาอาจจะไม่ได้พูดออกมาเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องพร้อมเปิดรับความเห็นที่แตกต่างและคอยกระตุ้นให้ลูกทีมพูดสิ่งที่คิดออกมา เชื่อเถอะว่าอาจจะทำให้ทั้งคนพูดและคนฟังลำบากใจนิดหน่อย แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้มักจะออกมาดีกว่าเสมอ ยิ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างมากเท่าไหร่ หัวหน้าก็จะมีความมั่นใจในการตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งการรวบรวมความคิดที่แตกต่างเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก หัวหน้าควรที่จะต้องทำให้ลูกทีมรู้สึกสบายใจในการช่วยกันเสนอไอเดียเหล่านั้นออกมา โดยสามารถเริ่มได้จากวิธีง่ายๆ ดังนี้
– พยายามมองหาความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเฉพาะจากกลุ่มคนหลากหลายฝ่าย
– กระตุ้นให้ทีมได้ใช้เหตุและผลในความคิดต่างๆ อยู่เสมอ
– ตอบรับความคิดที่ไม่เห็นด้วยกับคุณด้วยความเข้าใจ เช่น ถามถึงรายละเอียดเพิ่มเติมว่าทำไม
– บอกและแสดงให้เห็นว่าไอเดียที่คุณคิดมีแนวทางในการจัดการอย่างชัดเจน
– ตอบรับความคิดที่ไม่เห็นด้วยกับคุณด้วยความเข้าใจ เช่น ถามถึงรายละเอียดเพิ่มเติมว่าทำไม
– บอกและแสดงให้เห็นว่าไอเดียที่คุณคิดมีแนวทางในการจัดการอย่างชัดเจน
ผู้นำที่ดีจะถือว่าเป็นตัวแทนของอำนาจ
ลองนึกถึงหัวหน้าที่คุณชื่นชอบที่จะทำงานด้วย โดยส่วนใหญ่พวกเขาน่าจะมีลักษณะที่สามารถควบคุมและตัดสินใจทุกอย่างได้อย่างดี ไม่ใช่แค่กับปัญหาซับซ้อนเท่านั้น แต่พวกเขาสามารถตัดสินใจและแบ่งงานได้เหมาะสมและถูกคน ทำให้ได้ผลลัพธ์สุดท้ายที่มีประสิทธิภาพเสมอ
แต่บางครั้งผู้นำหรือหัวหน้าเหล่านั้นอาจจะติดอยู่กับความคิดที่ว่า ทุกๆ อย่างต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพวกเขาเพียงแค่คนเดียว แล้วถ้าสุดท้ายหัวหน้าไม่ได้เห็นด้วยกับคนอื่นๆ พวกเขาก็จะต้องออกจากระบบนี้ไป
แต่ตัวอย่างนี้ ก็ดูได้จากที่สตีฟ จ็อบส์ เคยพูดไว้ว่า “เราไม่ได้จ้างคนที่เก่งและฉลาดเพื่อมาบอกให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆ แต่เราจ้างคนที่เก่งและฉลาดมาคอยชี้แนะแนวทางให้เราทำอะไรเสียมากกว่า”
และหัวหน้าที่ใช้เวลาไปกับการทำให้แน่ใจว่าลูกทีมเข้าใจว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ เพื่อสุดท้ายผลงานจะออกมาดีที่สุด ก็อาจเริ่มด้วยวิธีเหล่านี้
– ป้อนปัญหา เพื่อให้พวกเขาได้ลองแก้ไขเอง
– ตั้งเป้าหมายโดยรวม แต่ให้ลูกทีมลองคิดถึงวิธีการที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นเอาเอง
– บอกลูกทีมให้แน่ใจว่า คุณพร้อมที่จะสนับสนุนพวกเขาเสมอ
ผู้นำที่ดีต้องคอยติดตาม feedback ของตัวเองเสมอ
พยายามติดตามการรายงาน performance หรือผลการปฏิบัติงานของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ แม้บางคนอาจจะกลัวกับคำตอบที่จะได้ แต่ขอบอกว่า นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาศักยภาพการเป็นหัวหน้าที่ดีของคุณ ลองถามถึงความเห็นเหล่านั้นแล้วหาทางพัฒนาต่อไปในอนาคต
วิธีง่ายๆ ในการติดตาม feedback จากคนอื่นมีดังนี้
– เปิดโอกาสให้คนอื่นคอยเตือนคุณเมื่อคุณทำพลาด
– รับฟังด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อโต้เถียง
– ขอบคุณด้วยความจริงใจถึงความเห็นที่คุณได้รับ
ผู้นำที่ดีจะสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจ
นอกจากจะต้องสื่อสารได้ชัดเจนและถูกต้องแล้ว หัวหน้าที่ดีต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ลองพยายามทำความเข้าใจว่า ลูกทีมมีความรู้สึกอะไรแฝงอยู่หรือไม่ เช่น ความกลัว ความหวัง หรือความกังวลต่างๆ
ซึ่งการใช้ความเห็นอกเห็นใจนี้จะมีประโยชน์มากเมื่อหัวหน้าจะต้องพูดหรือประกาศเรื่องราวที่อ่อนไหวต่อความรู้สึก เพราะบางครั้งข้อมูลต่างๆ อาจจะกระทบจิตใจคนในทีมได้ เพราะฉะนั้นการฝึกฝนให้มีทักษะความเห็นอกเห็นใจในการสื่อสาร ทำได้ดังนี้
– ฝึกฝนการพูดอย่างตั้งใจ ปิดคอมพิวเตอร์และมือถือของคุณ เพื่อทุ่มเทกับการซ้อมตรงหน้า
– เรียนรู้และทำความรู้จักกับลูกทีมของคุณให้ใกล้ชิดมากขึ้น
– ลองคิดคำถามที่อาจจะต้องพบเจอ และฝึกซ้อมการรับมือในแต่ละสถานการณ์
ผู้นำที่ดีจะมีบุคลิกของความจริงใจ
การทำพลาดหรือความไม่แน่ใจในบางสถานการณ์ไม่ได้แปลว่าคุณจะเป็นหัวหน้าที่ดีไม่ได้ แต่มันแปลว่าคุณเองก็คือมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น เมื่อคนอื่นได้เห็นมุมอ่อนแอเหล่านั้นของคุณ จริงๆ แล้วมันจะช่วยสร้างความรู้สึกไว้ใจและเข้าอกเข้าใจด้วยซ้ำ
วิธีง่ายๆ ในการสร้างความสัมพันธ์และภาพความรู้สึกที่ดี คือ
– ลองใช้เวลาและสร้างบทสนทนากับลูกทีมในแต่ละวัน
– เมื่อคุณทำพลาด พยายามแชร์ให้คนในทีมได้ฟังถึงการรับมือกับปัญหาแต่ละครั้ง
– พยายามเปิดใจและเป็นกันเองให้มากที่สุด
ผู้นำที่ดีควรเปิดโอกาสให้ลูกทีมได้แสดงฝีมือ
ถ้าคุณได้มีโอกาสให้ลูกทีมของคุณได้ใช้ความสามารถในการทำงานด้วยสไตล์หรือวิธีที่พวกเขาคิดว่ามีประสิทธิภาพกับตัวเองมากที่สุด โดยที่คุณไม่ต้องไปกำหนดแนวทางต่างๆ ให้ ส่วนใหญ่แล้วผลงานที่ออกมามักจะดีเสมอ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำก็คือ
– พยายามอย่าไปเจ้ากี้เจ้าการ หรือ จุกจิกกับคนอื่นมากเกินไป
– ใส่ใจกับผลลัพธ์ที่ออกมา มากกว่าจะสนใจวิธีการทำงาน เพราะวิธีการทำงานเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน
และนี่ก็เป็นตัวอย่างของผู้นำหรือหัวหน้าที่จะช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับคนในทีม ที่สำคัญ นี่คือผู้นำที่องค์กรไหนๆ ก็อยากได้ไปช่วยสร้างทีมให้เป็นปึกแผ่น เพราะทีมหรือพนักงานเหล่านั้นคือแรงขับเคลื่อนที่สำคัญอย่างยิ่งของทุกบริษัทนั่นเอง
ที่มา https://www.atlassian.com/blog/leadership/great-leaders-secrets
การทำพลาดหรือความไม่แน่ใจในบางสถานการณ์ไม่ได้แปลว่าคุณจะเป็นหัวหน้าที่ดีไม่ได้ แต่มันแปลว่าคุณเองก็คือมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น เมื่อคนอื่นได้เห็นมุมอ่อนแอเหล่านั้นของคุณ จริงๆ แล้วมันจะช่วยสร้างความรู้สึกไว้ใจและเข้าอกเข้าใจด้วยซ้ำ
วิธีง่ายๆ ในการสร้างความสัมพันธ์และภาพความรู้สึกที่ดี คือ
– ลองใช้เวลาและสร้างบทสนทนากับลูกทีมในแต่ละวัน
– เมื่อคุณทำพลาด พยายามแชร์ให้คนในทีมได้ฟังถึงการรับมือกับปัญหาแต่ละครั้ง
– พยายามเปิดใจและเป็นกันเองให้มากที่สุด
ผู้นำที่ดีควรเปิดโอกาสให้ลูกทีมได้แสดงฝีมือ
ถ้าคุณได้มีโอกาสให้ลูกทีมของคุณได้ใช้ความสามารถในการทำงานด้วยสไตล์หรือวิธีที่พวกเขาคิดว่ามีประสิทธิภาพกับตัวเองมากที่สุด โดยที่คุณไม่ต้องไปกำหนดแนวทางต่างๆ ให้ ส่วนใหญ่แล้วผลงานที่ออกมามักจะดีเสมอ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำก็คือ
– พยายามอย่าไปเจ้ากี้เจ้าการ หรือ จุกจิกกับคนอื่นมากเกินไป
– ใส่ใจกับผลลัพธ์ที่ออกมา มากกว่าจะสนใจวิธีการทำงาน เพราะวิธีการทำงานเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน
และนี่ก็เป็นตัวอย่างของผู้นำหรือหัวหน้าที่จะช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับคนในทีม ที่สำคัญ นี่คือผู้นำที่องค์กรไหนๆ ก็อยากได้ไปช่วยสร้างทีมให้เป็นปึกแผ่น เพราะทีมหรือพนักงานเหล่านั้นคือแรงขับเคลื่อนที่สำคัญอย่างยิ่งของทุกบริษัทนั่นเอง
ที่มา https://www.atlassian.com/blog/leadership/great-leaders-secrets
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture