วิธีคิดอย่างผู้ประกอบการ (How to Think Like an Entrepreneur)
คุณพิชเยนทร์ หงษ์ภักดี เจ้าของธุรกิจแบรนด์ Anitech เป็นผู้ประกอบการอีกคนที่เราอยากชวนมานั่งพูดคุยถึงวิธีคิดที่น่าเรียนรู้ และสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กๆ ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่
คุณอาจจะสนใจเรื่องราวของการสร้างยอดขายแตะระดับร้อยล้านได้ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 หรือวิธีคิดในการสร้างแบรนด์ Anitech ให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยวิธี ‘คิดแบบสตาร์ทอัพ ทำอย่าง SME และมีระบบแบบมหาชน’ ที่เขาภูมิใจนำเสนอและตกผลึกกับมันจนเขียนออกมาเป็นหนังสือขายดีอีกเล่มในแวดวงธุรกิจ
แต่เรากลับสนใจวิธีคิดในแบบผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่ต้องรับผิดชอบนำพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน และกลยุทธ์ต่างๆ ที่ต้องงัดมาใช้ในวันที่ต้องเจอวิกฤติ ไม่เว้นแม้แต่วิกฤติโควิด-19 ที่ไม่เพียงสร้างปัญหาให้กับทุกคน แต่ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้ขีดความสามารถที่ตัวเองไม่คิดว่าจะมี
การรีดเค้นพลังในวันที่ต้องดิ้นรนนี่เอง ที่เป็นเรื่องเข้มข้นและมีชีวิตชีวาที่สุด เพราะไม่มีตำราใดจะสอนคุณได้นอกจากการลงสนามจริง
“ผมขออนุญาตเริ่มด้วย จุดประสงค์ของบริษัทผมก่อน ตั้งแต่วันแรกที่ผมตัดสินใจก่อตั้งธุรกิจของตัวเอง ธุรกิจของผมอาจจะมาด้วยความบังเอิญจากการหาอะไรใหม่ๆ ทำ แต่วัตถุประสงค์ผมชัดเจนว่า ผมอยากเป็นบริษัทที่พัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนั้นถ้าถามว่า ปัจจุบันเราทำธุรกิจอะไรบ้าง ก็ต้องบอกว่า เราเป็นผู้พัฒนาและจำหน่ายสินค้านวัตกรรมในชีวิตประจำวันครับ เราไม่ใช่แค่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ แต่เราเป็นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าอยู่ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เทคโนโลยี ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึง Biotechnology Chemical Technology และนำเอานวัตกรรมเหล่านี้ ไปมีส่วนยกระดับชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้น”
ขยายความสักนิดว่า สินค้ามากมายภายใต้แบรนด์ Anitech ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ใช้ทั้งกับคอมพิวเตอร์และมือถือ ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือน เช่นปลัํกไฟที่เราใช้กันอยู่ ที่วันนี้ก้าวล้ำไปจนถึงขั้นเป็นปลั๊กไฟแบบ IoT ที่ได้รับการรับรองจากมอก.เป็นแบรนด์เดียวในตลาด
คุณอาจจะสนใจเรื่องราวของการสร้างยอดขายแตะระดับร้อยล้านได้ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 หรือวิธีคิดในการสร้างแบรนด์ Anitech ให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยวิธี ‘คิดแบบสตาร์ทอัพ ทำอย่าง SME และมีระบบแบบมหาชน’ ที่เขาภูมิใจนำเสนอและตกผลึกกับมันจนเขียนออกมาเป็นหนังสือขายดีอีกเล่มในแวดวงธุรกิจ
แต่เรากลับสนใจวิธีคิดในแบบผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่ต้องรับผิดชอบนำพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน และกลยุทธ์ต่างๆ ที่ต้องงัดมาใช้ในวันที่ต้องเจอวิกฤติ ไม่เว้นแม้แต่วิกฤติโควิด-19 ที่ไม่เพียงสร้างปัญหาให้กับทุกคน แต่ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้ขีดความสามารถที่ตัวเองไม่คิดว่าจะมี
การรีดเค้นพลังในวันที่ต้องดิ้นรนนี่เอง ที่เป็นเรื่องเข้มข้นและมีชีวิตชีวาที่สุด เพราะไม่มีตำราใดจะสอนคุณได้นอกจากการลงสนามจริง
“ผมขออนุญาตเริ่มด้วย จุดประสงค์ของบริษัทผมก่อน ตั้งแต่วันแรกที่ผมตัดสินใจก่อตั้งธุรกิจของตัวเอง ธุรกิจของผมอาจจะมาด้วยความบังเอิญจากการหาอะไรใหม่ๆ ทำ แต่วัตถุประสงค์ผมชัดเจนว่า ผมอยากเป็นบริษัทที่พัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนั้นถ้าถามว่า ปัจจุบันเราทำธุรกิจอะไรบ้าง ก็ต้องบอกว่า เราเป็นผู้พัฒนาและจำหน่ายสินค้านวัตกรรมในชีวิตประจำวันครับ เราไม่ใช่แค่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ แต่เราเป็นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าอยู่ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เทคโนโลยี ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึง Biotechnology Chemical Technology และนำเอานวัตกรรมเหล่านี้ ไปมีส่วนยกระดับชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้น”
ขยายความสักนิดว่า สินค้ามากมายภายใต้แบรนด์ Anitech ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ใช้ทั้งกับคอมพิวเตอร์และมือถือ ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือน เช่นปลัํกไฟที่เราใช้กันอยู่ ที่วันนี้ก้าวล้ำไปจนถึงขั้นเป็นปลั๊กไฟแบบ IoT ที่ได้รับการรับรองจากมอก.เป็นแบรนด์เดียวในตลาด
แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ กลุ่มสินค้าในหมวด Anitech Lab+ หรือกลุ่มสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพและอุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับสุขอนามัยที่บริษัทเพิ่งปล่อยสู่ตลาดในช่วงวิกฤติโควิดนี่ต่างหาก ที่นอกจากจะท้าทายวิธีคิดและการแก้ปัญหาแล้ว ยังเป็นบทเรียนสำคัญให้ผู้ประกอบการทุกคนเรียนรู้วิธีคิดและการปรับตัวที่รวดเร็วด้วย
จากที่วางแผนไว้ว่าจะใช้เวลา 4 ปีในการพัฒนาและวิจัยสินค้า วิกฤติผลักให้เขาต้องร่นเวลาให้เร็วขึ้นกว่าเดิม 2 ปี
และเข็นสินค้าเกือบ 70 รายการให้พร้อมออกสู่ตลาดใน 48 ชั่วโมง
เป็นโปรเจกต์แบบที่เขาว่า เหมือนสร้างกลุ่มผู้กล้ารับมือกับอุกกาบาตชนโลกเหมือนภาพยนตร์เรื่อง Armageddon
“เราวิจัยและพัฒนา เรื่องของการดูแลสุขภาพหรือ Health Care มาตั้งแต่ 2 ปีก่อน และตั้งใจจะนำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย เราตั้งใจจะพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ทำให้คนสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เข้าใกล้มนุษย์ที่สุด ซึ่งจริงๆ ในเมืองไทยก็มีนวัตกรรมมากมายที่อยู่ในกลุ่มของการวิจัย แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อให้คนเข้าถึง ซึ่งในความคิดผม นวัตกรรมที่ดี ควรเป็นสิ่งที่คนใช้จำนวนมาก ต้องมีเน็ตเวิร์กเอฟเฟกต์ (network effect) ถ้าเป็นนวัตกรรมที่อยู่ในแค่ห้องวิจัยหรืออุทยานวิทยาศาสตร์เฉยๆ สำหรับผมไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ดีเท่าไหร่ หากจะเป็นนวัตกรรมได้ คนต้องใช้จำนวนมาก และเกิดเน็ตเวิร์กเอฟเฟกต์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำให้ชีวิตของคนพัฒนาขึ้นได้แท้จริง
จากที่วางแผนไว้ว่าจะใช้เวลา 4 ปีในการพัฒนาและวิจัยสินค้า วิกฤติผลักให้เขาต้องร่นเวลาให้เร็วขึ้นกว่าเดิม 2 ปี
และเข็นสินค้าเกือบ 70 รายการให้พร้อมออกสู่ตลาดใน 48 ชั่วโมง
เป็นโปรเจกต์แบบที่เขาว่า เหมือนสร้างกลุ่มผู้กล้ารับมือกับอุกกาบาตชนโลกเหมือนภาพยนตร์เรื่อง Armageddon
“เราวิจัยและพัฒนา เรื่องของการดูแลสุขภาพหรือ Health Care มาตั้งแต่ 2 ปีก่อน และตั้งใจจะนำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย เราตั้งใจจะพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ทำให้คนสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เข้าใกล้มนุษย์ที่สุด ซึ่งจริงๆ ในเมืองไทยก็มีนวัตกรรมมากมายที่อยู่ในกลุ่มของการวิจัย แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อให้คนเข้าถึง ซึ่งในความคิดผม นวัตกรรมที่ดี ควรเป็นสิ่งที่คนใช้จำนวนมาก ต้องมีเน็ตเวิร์กเอฟเฟกต์ (network effect) ถ้าเป็นนวัตกรรมที่อยู่ในแค่ห้องวิจัยหรืออุทยานวิทยาศาสตร์เฉยๆ สำหรับผมไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ดีเท่าไหร่ หากจะเป็นนวัตกรรมได้ คนต้องใช้จำนวนมาก และเกิดเน็ตเวิร์กเอฟเฟกต์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำให้ชีวิตของคนพัฒนาขึ้นได้แท้จริง
“จุดเปลี่ยนคือปลายปีที่แล้ว ที่เราเริ่มเห็นว่า Covid-19 เป็นเรื่องใหญ่ ซัพพลายเชนทั่วโลกกำลังจะเกิดปัญหา เรามีงานวิจัยที่ทำไปแล้ว 2 ปี และเหลืออีก 2 ปีก่อนจะเปิดตัวสินค้า ทั้งหมดถูกนำมาทบทวนใหม่ ดึงทีมวิจัยมาสนับสนุนเพิ่มขึ้น ร่นแผนการทำงานให้เร็วขึ้น และต้องทำให้ได้ภายใน 48 ชั่วโมง เพราะถ้าไม่ทำ บริษัทเราจะแย่แล้ว เนื่องจากสินค้าอื่นๆ ก็ยอดขายตกลงเยอะ เพราะมีประกาศปิดห้าง และเราประเมินกันแล้วว่ายอดขายจะตกในระดับที่ขนลุกเลยน่ะ (หัวเราะ) เราประเมินกรณีเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือ worst case คือยอดขายบริษัทเหลือ 5% แปลว่าตายกันหมดทั้งบริษัทแน่นอน ผมเอาตัวเลขนี้คุยกับทีมงานว่า นี่คือ worst case scenario หรือภาพที่เลวร้ายที่สุดของเราแล้ว มันเหมือนเจอสถานการณ์อุกกาบาตจะชนโลก เพราะฉะนั้นงานนี้ เหนื่อยแน่นอน เราต้องไประเบิดอุกาบาตด้วยกัน ตอนประกาศให้พนักงานทราบนี่เปิดเพลงในหนังเรื่อง Armageddon ด้วยนะฮะ ซึ่งช่วงนี้ก็ต้องบอกว่า มันก็มีคนที่รับไม่ได้ ขอสละทีมไปก็หลายคน”
ในที่สุด Anitech Lab+ ก็สามารถออกสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพออกมาได้เกือบ 70 รายการ ภายในช่วงเวลาที่อัดแน่นด้วยความกดดันและพลังการร่วมมือร่วมใจของพนักงาน แต่ก็นั่นแหละ การเร่งรัดแบบนั้นไม่เสี่ยงไปหน่อยหรือกับสินค้าที่ต้องเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย
“ขั้นตอนที่เราตัดออกไปไม่ได้เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า แต่เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการทดลองตลาด หรือ Market Validation เช่น ปกติก่อนจะออกสินค้าคุณต้องทำ MVP หรือ Minimal Viable Product ก่อน เพื่อดูว่าสินค้ามันดีพอหรือเปล่า แต่เราร่นเวลามาเป็น 48 ชั่วโมงได้ เพราะเราไม่ต้องทดลองแล้ว ตลาดมันบอกชัดเจนเลยว่าต้องการอะไร สิ่งที่จะต้องทำก็คือ ต้องทำโปรดักต์ออกมา ให้มีคุณค่าหรือ value ที่ดีพอ เราก็ระดมนักวิจัยและทีมงานมาคิดกันเลยว่าเราต้องทำยังไง คิดแผนการตลาดยังไง สร้างระบบเทคโนโลยีหลังบ้านมารองรับคนที่จะเข้ามาสั่งซื้อหรือตัวแทนจำหน่ายยังไง คือเรียกว่ารื้อกันหมดในชั่วข้ามคืน
“ถามว่าผมรู้สึกยังไง หรือ เรียนรู้อะไร ต้องบอกว่า ผมก็ขอโทษทีมงาน ที่ทุกคนต้องมาเหนื่อยขนาดนี้ แต่หลังจากขอโทษทีมงาน ผมบอกกับเขาว่า
“เชื่อผมสิอะไรที่เราเชื่อว่าเป็นไปได้ มันจะเป็นไปได้ แต่ถ้าคุณไม่เชื่อว่า มันเป็นไปไม่ได้ตั้งแต่แรกนะ ไม่มีทางที่มันจะเป็นไปได้เลย”
คุณพิชเยนทร์ หงษ์ภักดี เจ้าของธุรกิจแบรนด์ ANITECH
เพราะฉะนั้น ใจคือปัญหา เรื่องอื่น รายละเอียดงาน กลยุทธ์ อันนี้เป็นส่วนปลีกย่อย แต่ต้องเชิญประธานมานั่งให้ได้ก่อนนั่นก็คือใจ เพราะฉะนั้นใครจะมาทำโปรเจกต์นี้ ถ้าใจไม่เชื่อว่ามันเป็นไปได้ มันก็ไม่มีทางเป็นไปได้เลย
“อีกเรื่อง ผมคิดว่า ยังไงทำงานกันก็ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราไม่สามารถทำงานโดยไปบอกพนักงานแค่ว่า ฉันเอาเป้าหมายเป็นที่ตั้ง เอาเรื่องเวลาหรือ timing เป็นที่ตั้งแล้วไม่แคร์อะไรเลย เพราะสุดท้ายแล้วถ้าเราทำแบบนั้น เราอาจจะได้ผลที่เราต้องการนะ แต่หลังจากนั้นระยะยาว มันจะไม่เหลือสิ่งดีๆให้คุณอีกเลย คุณจะได้แค่เรื่องที่เป็นเป้าของคุณ ณ เวลานั้น เพราะฉะนั้นทำงานต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ถึงจะเอาเป้าเป็นหลัก แต่ต้องเอาใจเป็นตัวนำด้วย”
ชีวิตของผู้ประกอบการ ไม่ได้มีแต่ช่วงที่จัดปาร์ตี้ฉลองยอดขาย ไม่ได้มีแค่ช่วงกิจการไปได้สวย- -ชีวิตมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ตรงกันข้าม พวกเขายังต้องพบเจออุปสรรคขวากหนาม ตลาดทั้งหมดปั่นป่วน ยอดขายแปรปรวนผกผันไปตามสภาพตลาดที่ไม่อาจควบคุมได้ สิ่งเดียวที่ผู้ประกอบการจะสามารถควบคุมได้เห็นจะมีก็แต่ ‘วิธีคิด’ หรือมายด์เซ็ตนั่นละ
ในที่สุด Anitech Lab+ ก็สามารถออกสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพออกมาได้เกือบ 70 รายการ ภายในช่วงเวลาที่อัดแน่นด้วยความกดดันและพลังการร่วมมือร่วมใจของพนักงาน แต่ก็นั่นแหละ การเร่งรัดแบบนั้นไม่เสี่ยงไปหน่อยหรือกับสินค้าที่ต้องเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย
“ขั้นตอนที่เราตัดออกไปไม่ได้เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า แต่เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการทดลองตลาด หรือ Market Validation เช่น ปกติก่อนจะออกสินค้าคุณต้องทำ MVP หรือ Minimal Viable Product ก่อน เพื่อดูว่าสินค้ามันดีพอหรือเปล่า แต่เราร่นเวลามาเป็น 48 ชั่วโมงได้ เพราะเราไม่ต้องทดลองแล้ว ตลาดมันบอกชัดเจนเลยว่าต้องการอะไร สิ่งที่จะต้องทำก็คือ ต้องทำโปรดักต์ออกมา ให้มีคุณค่าหรือ value ที่ดีพอ เราก็ระดมนักวิจัยและทีมงานมาคิดกันเลยว่าเราต้องทำยังไง คิดแผนการตลาดยังไง สร้างระบบเทคโนโลยีหลังบ้านมารองรับคนที่จะเข้ามาสั่งซื้อหรือตัวแทนจำหน่ายยังไง คือเรียกว่ารื้อกันหมดในชั่วข้ามคืน
“ถามว่าผมรู้สึกยังไง หรือ เรียนรู้อะไร ต้องบอกว่า ผมก็ขอโทษทีมงาน ที่ทุกคนต้องมาเหนื่อยขนาดนี้ แต่หลังจากขอโทษทีมงาน ผมบอกกับเขาว่า
“เชื่อผมสิอะไรที่เราเชื่อว่าเป็นไปได้ มันจะเป็นไปได้ แต่ถ้าคุณไม่เชื่อว่า มันเป็นไปไม่ได้ตั้งแต่แรกนะ ไม่มีทางที่มันจะเป็นไปได้เลย”
คุณพิชเยนทร์ หงษ์ภักดี เจ้าของธุรกิจแบรนด์ ANITECH
เพราะฉะนั้น ใจคือปัญหา เรื่องอื่น รายละเอียดงาน กลยุทธ์ อันนี้เป็นส่วนปลีกย่อย แต่ต้องเชิญประธานมานั่งให้ได้ก่อนนั่นก็คือใจ เพราะฉะนั้นใครจะมาทำโปรเจกต์นี้ ถ้าใจไม่เชื่อว่ามันเป็นไปได้ มันก็ไม่มีทางเป็นไปได้เลย
“อีกเรื่อง ผมคิดว่า ยังไงทำงานกันก็ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราไม่สามารถทำงานโดยไปบอกพนักงานแค่ว่า ฉันเอาเป้าหมายเป็นที่ตั้ง เอาเรื่องเวลาหรือ timing เป็นที่ตั้งแล้วไม่แคร์อะไรเลย เพราะสุดท้ายแล้วถ้าเราทำแบบนั้น เราอาจจะได้ผลที่เราต้องการนะ แต่หลังจากนั้นระยะยาว มันจะไม่เหลือสิ่งดีๆให้คุณอีกเลย คุณจะได้แค่เรื่องที่เป็นเป้าของคุณ ณ เวลานั้น เพราะฉะนั้นทำงานต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ถึงจะเอาเป้าเป็นหลัก แต่ต้องเอาใจเป็นตัวนำด้วย”
ชีวิตของผู้ประกอบการ ไม่ได้มีแต่ช่วงที่จัดปาร์ตี้ฉลองยอดขาย ไม่ได้มีแค่ช่วงกิจการไปได้สวย- -ชีวิตมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ตรงกันข้าม พวกเขายังต้องพบเจออุปสรรคขวากหนาม ตลาดทั้งหมดปั่นป่วน ยอดขายแปรปรวนผกผันไปตามสภาพตลาดที่ไม่อาจควบคุมได้ สิ่งเดียวที่ผู้ประกอบการจะสามารถควบคุมได้เห็นจะมีก็แต่ ‘วิธีคิด’ หรือมายด์เซ็ตนั่นละ
“มายด์เซ็ตสำคัญเรื่องแรกเลยคือ ต้องเข้าใจสัจธรรมของโลกนี้ก่อน ผมคิดว่าถ้าคุณรักจะทำธุรกิจ แล้วคุณเป็น entrepreneur คุณเลี่ยงที่จะไม่เข้าใจสัจธรรมนี้ไม่ได้หรอกว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป แล้วมันก็เกิดขึ้นใหม่ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดโอกาสขึ้นมา สักพักก็จะมีวิกฤติ มีวิกฤติสักพักก็จะเกิดโอกาส วนเวียนกันแบบนี้
“ดังนั้น ถ้าคุณไม่เข้าใจ คุณก็จะเป็นผู้ประกอบการที่มีความทุกข์ และจะเป็นคนที่พร้อมจะเอาแต่ได้ หรือหาโอกาสจากผู้มีส่วนร่วมหรือสังคม เพราะคุณไม่เข้าใจการขึ้นลงของวัฏจักรของวิกฤติและโอกาส เอาได้ก็เอา เพราะเดี๋ยวมันก็จบแล้ว เราไปมีความสุขของเราดีกว่า
“แต่ถ้าคุณเข้าใจธรรมชาติของวิกฤติ ถ้าคุณพยายามประคองตัวให้ได้สักหน่อย เดี๋ยวโอกาสมาคุณก็ค่อยไปหาเลี้ยงชีพใหม่ แล้วก็ดูแลตัวเองให้ดี เพราะอาจจะมีวิกฤติรอบใหม่ ถ้าเราเข้าใจว่าสัจธรรมของการทำธุรกิจ มันมีไซเคิลแบบนี้นะ คุณจะมีหน้าที่ดูแลตัวเองและองค์กรให้แข็งแรงที่สุด เพราะถ้าองค์กรแข็งแรง ตัวคุณเองแข็งแรง มันก็ทำให้การผลิตของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด คุณสร้างสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ของคุณ ให้มีความต่อเนื่องให้มากที่สุด สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดีที่สุด พยายามสร้างความยั่งยืนแบบนี้ไว้ เวลาที่วิกฤติมันชนเข้ามา คุณจะได้ไม่ตอบสนองแบบหยิบได้ก็หยิบ ฉวยได้ก็ฉวย คือนึกออกมั้ยว่า ในสังคมเรา ผมว่าทุกคนก็อยากเป็นคนดีหมด แต่เมื่อวิกฤติมาถึงตัว บางคนก็ตอบสนองต่อวิกฤติในรูปแบบที่แตกต่างกันไป บางคนมีความนิ่ง พร้อมที่จะตอบแทนสังคม บางคนมีเยอะแยะแล้ว ยังไปกอบโกยจากสังคมอีก ถ้ารู้ว่าทุกอย่างตั้งอยู่ โอกาสมาเดี๋ยวก็มีวิกฤติ มีวิกฤติเดี๋ยวก็มีโอกาส เราจะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์กับมัน
“เรื่องที่สอง ทีมงานคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้ประกอบการหลายคน อาจจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ฉันตั้งบริษัทมาได้เอง เมื่อวิกฤติเกิดขึ้น ฉันก็จะฝ่าวิกฤติให้ได้ด้วยตัวฉันเอง แต่เชื่อมั้ยว่า ในวิกฤติทุกๆ ครั้งมันจะทำให้คุณได้เห็นว่า พนักงานของคุณ หรือคนที่คุณอาจจะไม่เคยคิดว่าเขามีความสามารถอะไรซ่อนอยู่ หรือคิดว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นมาคงพึ่งพาไม่ได้ แต่ผมเห็นหลายคนมากๆ เลย ที่ไม่น่าเชื่อว่า เฮ้ย! วิธีการตอบสนองของเขาต่อวิกฤตินั้น มันไม่เหมือนตัวเขาเองในเวลาปกติเลย ผมถึงเชื่อเลยว่า ทีมงานสำคัญที่สุด
ในช่วงเวลาที่ยากลำบากของบริษัทคุณ อาจจะมีฮีโร่หลายๆคนเกิดขึ้นมาในองค์กรของคุณก็ได้ ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับทีมงานให้มากที่สุดด้วย”
คุณพิชเยนทร์ หงษ์ภักดี เจ้าของธุรกิจแบรนด์ ANITECH
แต่แม้ว่าจะไม่อยากให้เกิดวิกฤติเพียงใด เราก็ต้องยอมรับว่า มันสามารถเกิดขึ้นได้ไม่เลือกเวลา ไม่เลือกหน้าใครทั้งนั้น ผู้ประกอบการที่ดี คงทำได้เพียงตั้งสติและตั้งรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อทุกอย่างคลี่คลาย…หลายเรื่องจะเป็นเรื่องที่เราควรขอบคุณ
“อย่างแรก ผมต้องขอบคุณทีมงานก่อนเลยครับ ผมคิดว่าถ้าไม่ใช่ทีมงานทีมนี้ผมก็ไม่มั่นใจว่าผมสามารถที่จะฝ่าวิกฤติ แบบนี้ไปได้หรือเปล่า ซึ่งการที่ทีมงานตอบสนองต่อนโยบายที่ผมเสนอไป และสามารถที่จะตอบสนองต่อการที่ผมจะลุกขึ้นมาบี้ เพื่อทำให้งานมันออกมาได้ โดยที่เขาไม่สติแตกไปก่อน รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผมต้องขอบคุณ
“เรื่องที่สอง ผมต้องขอบคุณตัวเอง ผมคิดว่าแต่ละคน ตอบสนองต่อธุรกิจแตกต่างกันไปครับ ผมต้องขอบคุณต่อสติตัวเองที่ไม่สติแตกไปก่อน ผมคิดว่าในเวลาแบบนั้น ที่ผมเห็นตัวเลขประมาณการรายได้เหลือ 5-10% ถ้าเราไม่คุมสติให้ดีๆ อาจจะตัดสินใจอะไรบางอย่างไปแบบแปลกๆก็ได้ เช่นอาจจะ ปิดบริษัทไปเลย ไล่คนออก หรือเอาของที่ไม่มีคุณภาพมาขายเพื่อให้ได้เงิน หรืออะไรก็ได้ที่ออกมาจากด้านมืดของเรา เพื่อทำให้ตัวเองรอดแบบ Battle Royal หรือรอดแบบที่คนอื่นไม่รอด ผมคิดว่าผมขอบคุณตัวเองที่ไม่ถลำ ทำอะไรหลุดไปจากจุดประสงค์ของบริษัท เพราะทุกคนยังต้องมุ่งมั่นว่า เราต้องเป็นบริษัทที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น
“ในชีวิตของการทำธุรกิจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป แล้วผมสามารถกลับมาขอบคุณตัวเองให้ได้นี่คือเรื่องสำคัญมากเลย ถ้าวันนี้ผมทำอะไรลงไปแล้ววันข้างหน้าผมต้องย้อนกลับมานั่งเสียใจที่ตัดสินใจทำอะไรไม่เหมาะสมลงไป มันคงเป็นวิกฤติที่ผ่านไปอย่างเสียเปล่ามากๆ เพราะมันแปลว่าเราไม่ได้ยกระดับจิตวิญญาณ ความคิด ไม่ได้ยกระดับความรู้ ความสามารถของเรา ไม่ได้ยกระดับความทรหดอดทนของเรา ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติได้เลย”
“ดังนั้น ถ้าคุณไม่เข้าใจ คุณก็จะเป็นผู้ประกอบการที่มีความทุกข์ และจะเป็นคนที่พร้อมจะเอาแต่ได้ หรือหาโอกาสจากผู้มีส่วนร่วมหรือสังคม เพราะคุณไม่เข้าใจการขึ้นลงของวัฏจักรของวิกฤติและโอกาส เอาได้ก็เอา เพราะเดี๋ยวมันก็จบแล้ว เราไปมีความสุขของเราดีกว่า
“แต่ถ้าคุณเข้าใจธรรมชาติของวิกฤติ ถ้าคุณพยายามประคองตัวให้ได้สักหน่อย เดี๋ยวโอกาสมาคุณก็ค่อยไปหาเลี้ยงชีพใหม่ แล้วก็ดูแลตัวเองให้ดี เพราะอาจจะมีวิกฤติรอบใหม่ ถ้าเราเข้าใจว่าสัจธรรมของการทำธุรกิจ มันมีไซเคิลแบบนี้นะ คุณจะมีหน้าที่ดูแลตัวเองและองค์กรให้แข็งแรงที่สุด เพราะถ้าองค์กรแข็งแรง ตัวคุณเองแข็งแรง มันก็ทำให้การผลิตของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด คุณสร้างสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ของคุณ ให้มีความต่อเนื่องให้มากที่สุด สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดีที่สุด พยายามสร้างความยั่งยืนแบบนี้ไว้ เวลาที่วิกฤติมันชนเข้ามา คุณจะได้ไม่ตอบสนองแบบหยิบได้ก็หยิบ ฉวยได้ก็ฉวย คือนึกออกมั้ยว่า ในสังคมเรา ผมว่าทุกคนก็อยากเป็นคนดีหมด แต่เมื่อวิกฤติมาถึงตัว บางคนก็ตอบสนองต่อวิกฤติในรูปแบบที่แตกต่างกันไป บางคนมีความนิ่ง พร้อมที่จะตอบแทนสังคม บางคนมีเยอะแยะแล้ว ยังไปกอบโกยจากสังคมอีก ถ้ารู้ว่าทุกอย่างตั้งอยู่ โอกาสมาเดี๋ยวก็มีวิกฤติ มีวิกฤติเดี๋ยวก็มีโอกาส เราจะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์กับมัน
“เรื่องที่สอง ทีมงานคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้ประกอบการหลายคน อาจจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ฉันตั้งบริษัทมาได้เอง เมื่อวิกฤติเกิดขึ้น ฉันก็จะฝ่าวิกฤติให้ได้ด้วยตัวฉันเอง แต่เชื่อมั้ยว่า ในวิกฤติทุกๆ ครั้งมันจะทำให้คุณได้เห็นว่า พนักงานของคุณ หรือคนที่คุณอาจจะไม่เคยคิดว่าเขามีความสามารถอะไรซ่อนอยู่ หรือคิดว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นมาคงพึ่งพาไม่ได้ แต่ผมเห็นหลายคนมากๆ เลย ที่ไม่น่าเชื่อว่า เฮ้ย! วิธีการตอบสนองของเขาต่อวิกฤตินั้น มันไม่เหมือนตัวเขาเองในเวลาปกติเลย ผมถึงเชื่อเลยว่า ทีมงานสำคัญที่สุด
ในช่วงเวลาที่ยากลำบากของบริษัทคุณ อาจจะมีฮีโร่หลายๆคนเกิดขึ้นมาในองค์กรของคุณก็ได้ ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับทีมงานให้มากที่สุดด้วย”
คุณพิชเยนทร์ หงษ์ภักดี เจ้าของธุรกิจแบรนด์ ANITECH
แต่แม้ว่าจะไม่อยากให้เกิดวิกฤติเพียงใด เราก็ต้องยอมรับว่า มันสามารถเกิดขึ้นได้ไม่เลือกเวลา ไม่เลือกหน้าใครทั้งนั้น ผู้ประกอบการที่ดี คงทำได้เพียงตั้งสติและตั้งรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อทุกอย่างคลี่คลาย…หลายเรื่องจะเป็นเรื่องที่เราควรขอบคุณ
“อย่างแรก ผมต้องขอบคุณทีมงานก่อนเลยครับ ผมคิดว่าถ้าไม่ใช่ทีมงานทีมนี้ผมก็ไม่มั่นใจว่าผมสามารถที่จะฝ่าวิกฤติ แบบนี้ไปได้หรือเปล่า ซึ่งการที่ทีมงานตอบสนองต่อนโยบายที่ผมเสนอไป และสามารถที่จะตอบสนองต่อการที่ผมจะลุกขึ้นมาบี้ เพื่อทำให้งานมันออกมาได้ โดยที่เขาไม่สติแตกไปก่อน รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผมต้องขอบคุณ
“เรื่องที่สอง ผมต้องขอบคุณตัวเอง ผมคิดว่าแต่ละคน ตอบสนองต่อธุรกิจแตกต่างกันไปครับ ผมต้องขอบคุณต่อสติตัวเองที่ไม่สติแตกไปก่อน ผมคิดว่าในเวลาแบบนั้น ที่ผมเห็นตัวเลขประมาณการรายได้เหลือ 5-10% ถ้าเราไม่คุมสติให้ดีๆ อาจจะตัดสินใจอะไรบางอย่างไปแบบแปลกๆก็ได้ เช่นอาจจะ ปิดบริษัทไปเลย ไล่คนออก หรือเอาของที่ไม่มีคุณภาพมาขายเพื่อให้ได้เงิน หรืออะไรก็ได้ที่ออกมาจากด้านมืดของเรา เพื่อทำให้ตัวเองรอดแบบ Battle Royal หรือรอดแบบที่คนอื่นไม่รอด ผมคิดว่าผมขอบคุณตัวเองที่ไม่ถลำ ทำอะไรหลุดไปจากจุดประสงค์ของบริษัท เพราะทุกคนยังต้องมุ่งมั่นว่า เราต้องเป็นบริษัทที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น
“ในชีวิตของการทำธุรกิจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป แล้วผมสามารถกลับมาขอบคุณตัวเองให้ได้นี่คือเรื่องสำคัญมากเลย ถ้าวันนี้ผมทำอะไรลงไปแล้ววันข้างหน้าผมต้องย้อนกลับมานั่งเสียใจที่ตัดสินใจทำอะไรไม่เหมาะสมลงไป มันคงเป็นวิกฤติที่ผ่านไปอย่างเสียเปล่ามากๆ เพราะมันแปลว่าเราไม่ได้ยกระดับจิตวิญญาณ ความคิด ไม่ได้ยกระดับความรู้ ความสามารถของเรา ไม่ได้ยกระดับความทรหดอดทนของเรา ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติได้เลย”
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture