วางแผนการเงิน “ฝ่าวิกฤติ COVID-19” ฉบับ หมอนัท คลินิกกองทุน
บทความพิเศษจาก : น.สพ. ธนัฐ ศิริวรางกูร หรือ หมอนัท คลินิกกองทุน (เจ้าของเพจ คลินิกกองทุน)
“จากนายสัตวแพทย์ สู่ “ผู้วิเคราะห์กองทุน” และ “ที่ปรึกษาด้าน Wealth management & Fintech”
หมอนัท คลินิกกองทุน: สวัสดีครับนักลงทุนทุกท่าน ในช่วงเวลาที่โรคระบาด COVID-19 นี้กำลังทำให้ทั้งเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนผันผวนอยู่นี้ ผมก็ได้รับข้อความหลังไมค์มามากมายเกี่ยวกับเรื่องการจัดการการเงินในช่วงที่เศรษฐกิจขาลงว่า จะทำอย่างไรได้บ้าง เพราะว่ารายได้ที่มีก็ลดลง แต่หนี้สินก็มีอยู่ อยากลงทุนก็อยากลงทุนเพราะว่าเห็นหุ้นลงมาเยอะ ลงทุนตอนนี้เลยดีไหม และอีกหลาย ๆ คำถามมากมาย
ดังนั้นวันนี้ผมจะเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ในการวางแผนการเงินเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี และก็ไม่แน่ใจว่าจะเกิดขึ้นอีกนานแค่ไหนกันครับ
ก่อนอื่นเลยครับ ถ้าหากเราอยากผ่านพ้นวิกฤตินี้ไป และก่อนที่จะไปทำตามแนวทางที่ผมจะนำมาเล่านั้น ผมอยากให้นักลงทุนทุกท่านตั้งใจ และต้องมี “สติ” ก่อนครับ อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เมื่อเรามีสติ สตางค์จะตามมาครับ ก็เหมือนกับตอนที่ที่เราพูดติดปากกันว่า “สติ-สตางค์” นั่นเอง
“จากนายสัตวแพทย์ สู่ “ผู้วิเคราะห์กองทุน” และ “ที่ปรึกษาด้าน Wealth management & Fintech”
หมอนัท คลินิกกองทุน: สวัสดีครับนักลงทุนทุกท่าน ในช่วงเวลาที่โรคระบาด COVID-19 นี้กำลังทำให้ทั้งเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนผันผวนอยู่นี้ ผมก็ได้รับข้อความหลังไมค์มามากมายเกี่ยวกับเรื่องการจัดการการเงินในช่วงที่เศรษฐกิจขาลงว่า จะทำอย่างไรได้บ้าง เพราะว่ารายได้ที่มีก็ลดลง แต่หนี้สินก็มีอยู่ อยากลงทุนก็อยากลงทุนเพราะว่าเห็นหุ้นลงมาเยอะ ลงทุนตอนนี้เลยดีไหม และอีกหลาย ๆ คำถามมากมาย
ดังนั้นวันนี้ผมจะเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ในการวางแผนการเงินเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี และก็ไม่แน่ใจว่าจะเกิดขึ้นอีกนานแค่ไหนกันครับ
ก่อนอื่นเลยครับ ถ้าหากเราอยากผ่านพ้นวิกฤตินี้ไป และก่อนที่จะไปทำตามแนวทางที่ผมจะนำมาเล่านั้น ผมอยากให้นักลงทุนทุกท่านตั้งใจ และต้องมี “สติ” ก่อนครับ อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เมื่อเรามีสติ สตางค์จะตามมาครับ ก็เหมือนกับตอนที่ที่เราพูดติดปากกันว่า “สติ-สตางค์” นั่นเอง
คราวนี้เรามาดูขั้นตอน 5 ขั้นตอน ที่ใช้ในการจัดการการเงินเวลาเกิดวิกฤติกันครับ
- จัดการรายรับ-รายจ่าย แบบมองไปข้างหน้า
ก่อนอื่นเลยครับ เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น ผมแนะนำให้นักลงทุนลองกลับมองมาที่รายรับ-รายจ่ายของเราก่อนเลย เนื่องจากรายได้ที่เราลดลงจะส่งผลกระทบต่อการกินอยู่ของเราอย่างแน่นอน
แต่การทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นมีข้อควรระวังอย่างนึงครับ นั่นก็คือการทำบัญชีรายรับรายจ่ายต้องไปทำไปข้างหน้า หรือเป็นการกำหนดงบประมาณในแต่ละเดือนนั่นเอง ไม่ใช่การทำย้อนหลังนะครับ การทำย้อนหลังเพื่อให้เราเห็นว่ารายจ่ายอะไรบ้างที่เราเคยมี จัดแบ่งกลุ่มรายจ่าย เพื่อคัดเลือกรายการที่ไม่จำเป็น แบบนี้ก็จะทำให้เราสามารถลดการจ่ายลงได้บ้างครับ
ทั้งนี้การทำจ่ายรับรายจ่ายล่วงหน้าจะทำให้เราได้เห็นว่าเงินที่เรามีอยู่ และรายได้ที่ลดลงนั้นเพียงพอต่อการใช้ในแต่ละเดีอนหลังจากนี้ไปได้อีกกี่เดือน หรือว่าสามารถอยู่ได้รอดพ้นวิกฤติไปหรือไม่นั่นเองครับ
2. บริหารจัดการหนี้
หลังจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแล้ว จะทำให้เรารู้แล้วว่ามีรายได้ที่ลดลงนั้นสามารถที่จะอยู่ได้หรือไม่อย่างไร หากอยู่ไม่ได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอเหมือนแต่ก่อนก็ให้ลดรายจ่ายบางอย่างลง เช่นรายจ่ายที่เกี่ยวกับสินค้าฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ส่วนรายจ่ายประจำเช่นการผ่อนบ้าน ผ่อนรถ นั้นบางครั้งเราก็อาจจะมองว่าเป็นส่วนที่ลดลงไม่ได้ แต่ผมอยากจะบอกว่าทุกท่านอาจจะ “เข้าใจผิด” ครับ
เพราะว่าในช่วงวิกฤติแบบนี้ ถ้าหากเราได้ลองเข้าไปคุยกับธนาคาร หรือเจ้าหนี้ของเรา และเล่าเรื่องที่รายได้ลดลงของเราให้ทางสถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้ฟัง ผมเชื่อว่าน่าจะได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือได้รับการช่วยเหลือในเรื่องการเลื่อนจ่ายดอกเบี้ย ยืดระยะเวลา การลดดอกเบี้ย หรือ ผ่อนแต่ดอกเบี้ย ก็เป็นไปได้ครับ
โดยเฉพาะวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่าง COVID-19 นี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ออกมาเยอะแยะมากมายเลยครับ ซึ่งธนาคารเกือบทุกที่ก็ตอบรับ ออกมาตรการต่าง ๆ มากมายเลย เช่นลดการจ่ายหนี้ลง 40% จากยอดเดิมเป็นเวลา 1 ปี หรือ ทำการพักชำระหนี้ไป 3- 6 เดือนเลย ซึ่งผมเชื่อว่าอย่างน้อย ๆ ก็ลดรายจ่ายต่อเดือนลงไปได้มากเลยทีเดียวครับ
หลังจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแล้ว จะทำให้เรารู้แล้วว่ามีรายได้ที่ลดลงนั้นสามารถที่จะอยู่ได้หรือไม่อย่างไร หากอยู่ไม่ได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอเหมือนแต่ก่อนก็ให้ลดรายจ่ายบางอย่างลง เช่นรายจ่ายที่เกี่ยวกับสินค้าฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ส่วนรายจ่ายประจำเช่นการผ่อนบ้าน ผ่อนรถ นั้นบางครั้งเราก็อาจจะมองว่าเป็นส่วนที่ลดลงไม่ได้ แต่ผมอยากจะบอกว่าทุกท่านอาจจะ “เข้าใจผิด” ครับ
เพราะว่าในช่วงวิกฤติแบบนี้ ถ้าหากเราได้ลองเข้าไปคุยกับธนาคาร หรือเจ้าหนี้ของเรา และเล่าเรื่องที่รายได้ลดลงของเราให้ทางสถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้ฟัง ผมเชื่อว่าน่าจะได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือได้รับการช่วยเหลือในเรื่องการเลื่อนจ่ายดอกเบี้ย ยืดระยะเวลา การลดดอกเบี้ย หรือ ผ่อนแต่ดอกเบี้ย ก็เป็นไปได้ครับ
โดยเฉพาะวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่าง COVID-19 นี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ออกมาเยอะแยะมากมายเลยครับ ซึ่งธนาคารเกือบทุกที่ก็ตอบรับ ออกมาตรการต่าง ๆ มากมายเลย เช่นลดการจ่ายหนี้ลง 40% จากยอดเดิมเป็นเวลา 1 ปี หรือ ทำการพักชำระหนี้ไป 3- 6 เดือนเลย ซึ่งผมเชื่อว่าอย่างน้อย ๆ ก็ลดรายจ่ายต่อเดือนลงไปได้มากเลยทีเดียวครับ
3. เตรียมเงินฉุกเฉิน
การเตรียมเงินฉุกเฉินนั้น ในความเป็นจริงเราต้องมีการเตรียมมาก่อนหน้านี้ คือ ในยามปกติเราควรที่จะต้องมีเงินสำรองอย่างน้อย ๆ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนครับ พูดง่าย ๆ ว่าต่อให้ต้องไม่มีรายได้เลยในระยะเวลา 3-6 เดือน ก็ยังคงที่จะอยู่ได้อย่างสบาย ๆ จนวิกฤติผ่านพ้นไปนะครับ
แต่ถ้าใครที่ไม่ได้เตรียมมาก่อนนั้นก็คงต้องเริ่มทำโดยเร็ว ต้องวางแผนแล้วละครับว่า ถ้าเรามีเงินเหลือ โดยเฉพาะเงินที่เหลือจากการปรับลดหนี้สินลงในข้อที่ 2 เราก็จะมีเงินเก็บมากขึ้น เราก็ต้องทยอยเก็บเงินฉุกเฉินไว้บ้าง เตรียมไว้ตอนนี้เลย เพราะหลังจากวิกฤติครั้งนี้ผ่านไป เราก็ไม่สามารถรู้ได้หรอกครับว่าจะมีอะไรมารอเราอยู่อีก และทำเผื่อไว้ถ้ามีวิกฤติครั้งหน้าเราก็ไม่ต้องไปกังวลครับ
การเตรียมเงินฉุกเฉินนั้น ในความเป็นจริงเราต้องมีการเตรียมมาก่อนหน้านี้ คือ ในยามปกติเราควรที่จะต้องมีเงินสำรองอย่างน้อย ๆ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนครับ พูดง่าย ๆ ว่าต่อให้ต้องไม่มีรายได้เลยในระยะเวลา 3-6 เดือน ก็ยังคงที่จะอยู่ได้อย่างสบาย ๆ จนวิกฤติผ่านพ้นไปนะครับ
แต่ถ้าใครที่ไม่ได้เตรียมมาก่อนนั้นก็คงต้องเริ่มทำโดยเร็ว ต้องวางแผนแล้วละครับว่า ถ้าเรามีเงินเหลือ โดยเฉพาะเงินที่เหลือจากการปรับลดหนี้สินลงในข้อที่ 2 เราก็จะมีเงินเก็บมากขึ้น เราก็ต้องทยอยเก็บเงินฉุกเฉินไว้บ้าง เตรียมไว้ตอนนี้เลย เพราะหลังจากวิกฤติครั้งนี้ผ่านไป เราก็ไม่สามารถรู้ได้หรอกครับว่าจะมีอะไรมารอเราอยู่อีก และทำเผื่อไว้ถ้ามีวิกฤติครั้งหน้าเราก็ไม่ต้องไปกังวลครับ
4. เตรียมเก็บเงินลงทุน
หลังจากที่เราทำตามขั้นตอนหมดแล้ว ผมกล้าบอกเลยครับว่า นักลงทุนทุกท่านโชคดีมากที่อยู่ในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการลงทุนในรอบหลายปี เนื่องจากราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ปรับตัวลดลงถืง 20-30% บางสินทรัพย์ก็ติดลบลงไปถึง 40-50% เลยครับ
เแต่ ณ ตอนนี้โรค COVID-19 ก็ยังไม่หายไป ทำให้ความผันผวนยังคงดำเนินต่อไป อีกทั้งบริษัทจดทะเบียนต่าง ๆ ในตลาดหุ้นนั้น รายได้ก็ยังไม่ฟื้นตัวแม่จะผ่านวิกฤติไปแล้วก็ตาม ดังนั้นตอนนี้ให้อดทนรอ เมื่อทุกอย่างผ่านพ้นไปผมคิดว่าเป็นโอกาสดีในการลงทุนครับ ยอมได้กำไรน้อยหน่อย แต่โอกาสขาดทุนน้อยลงก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ต้องอดทนรวยให้ได้ครับ
ส่วนนักลงทุนคนไหนที่ทำการลงทุนรายเดือนหรือ DCA (Dollar cost average) อยู่ ผมขอแนะนำว่าให้ทำต่อนะครับ รักษาวินัยการลงทุนของเราไปเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นช่วงจังหวะที่ดีที่ได้ของถูกมาถัวเฉลี่ยราคากองทุนหรือ ราคาหุ้นที่ลดลงมานั่นเองครับ รับรองว่าผ่านไปอีก 3-4 ปีข้างหน้า ก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีเลยละครับ
หลังจากที่เราทำตามขั้นตอนหมดแล้ว ผมกล้าบอกเลยครับว่า นักลงทุนทุกท่านโชคดีมากที่อยู่ในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการลงทุนในรอบหลายปี เนื่องจากราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ปรับตัวลดลงถืง 20-30% บางสินทรัพย์ก็ติดลบลงไปถึง 40-50% เลยครับ
เแต่ ณ ตอนนี้โรค COVID-19 ก็ยังไม่หายไป ทำให้ความผันผวนยังคงดำเนินต่อไป อีกทั้งบริษัทจดทะเบียนต่าง ๆ ในตลาดหุ้นนั้น รายได้ก็ยังไม่ฟื้นตัวแม่จะผ่านวิกฤติไปแล้วก็ตาม ดังนั้นตอนนี้ให้อดทนรอ เมื่อทุกอย่างผ่านพ้นไปผมคิดว่าเป็นโอกาสดีในการลงทุนครับ ยอมได้กำไรน้อยหน่อย แต่โอกาสขาดทุนน้อยลงก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ต้องอดทนรวยให้ได้ครับ
ส่วนนักลงทุนคนไหนที่ทำการลงทุนรายเดือนหรือ DCA (Dollar cost average) อยู่ ผมขอแนะนำว่าให้ทำต่อนะครับ รักษาวินัยการลงทุนของเราไปเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นช่วงจังหวะที่ดีที่ได้ของถูกมาถัวเฉลี่ยราคากองทุนหรือ ราคาหุ้นที่ลดลงมานั่นเองครับ รับรองว่าผ่านไปอีก 3-4 ปีข้างหน้า ก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีเลยละครับ
5. มองหาสินทรัพย์ที่ดี และหาข้อมูล เรียนรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติม
ในช่วงเวลาที่เราเตรียมความพร้อมในการลงทุนหลังวิกฤตินั้น ก็ไม่ควรทำแค่เตรียมเงินเพียงอย่างเดียว การเตรียมความพร้อมในการลงทุนนั้น เราต้องเสริมสร้างสิ่งที่เรียกว่า ความรู้ ความเข้าใจ และ หาข้อมูลที่ดี ที่ถูกต้องเอาไว้ด้วย เพื่อที่เวลาลงทุนไปแล้ว เราจะได้ทราบว่าที่เราตัดสินใจลงทุนนั้นเกิดจากวิเคราะห์ที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่ลงทุนตามคนอื่น ๆ ไป หรือลงทุนตามจังหวะที่คิดว่าดีเท่านั้นครับ
เพราะผมเชื่อว่าการลงทุนที่ดีต้องมาจากความเข้าใจในสินทรัพย์นั้น ๆ เป็นอย่างดี การไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าเรากำลังลงทุนกับอะไร นั่นคือการลงทุนที่เสี่ยงที่สุดครับ
ท้ายที่สุดแล้ว ถ้าเรามองให้ดี ในวิกฤติก็ยังมีข้อดีมากมาย เพราะว่าทำให้เราเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ หรือทำให้เราเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบอื่นได้ ทำให้เราได้รู้ว่าต่อให้เราลดรายจ่ายลงเราก็อยู่ได้นี่ เปิดโอกาสให้เราได้อยู่กับครอบครัว ได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น มีเวลาทำอะไรที่ชอบมากขึ้น และมีเวลาในการพัฒนาตัวเองไปด้วยครับ
ผมเชื่อว่า ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติก็มักจะมีการวิวัฒนาการอะไรบ้างอย่างเกิดขึ้น ซึ่งนำมาด้วยการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเสมอ อย่างในอดีตการเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งก็ทำให้เกิดกองทุนอสังหา ฯ ที่นักลงทุนได้ลงทุนและได้ผลตอบแทนที่ดี เกิดนโยบายการลงทุนในกองทุน LTF,RMF เกิดโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม เกิดอาชีพนักวางแผนการเงิน เกิดนโยบายการเงินการลงทุนอื่น ๆ อีกมากมายเลยครับ
เห็นไหมครับว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นไม่ได้แย่เสมอไป แค่เราเตรียมตัวให้ดี มีสติ ดูแลเงินในกระเป๋าให้ดี รับรองว่าฟ้าหลังฝนจะสวยงามเสมออย่างที่เคยได้ยินกัน และผมก็เชื่อว่ามันจะเป็นเช่นนั้นเสมอครับ
สำหรับใครอยากเรียนรู้การบริหารการเงิน ตอนนี้ หมอนัท คลินิกกองทุน ได้มีคอร์สที่สอนที่ SHiFT ACADEMY แล้ว สามารถดูรายละเอียดได้นี่ คลิก
ในช่วงเวลาที่เราเตรียมความพร้อมในการลงทุนหลังวิกฤตินั้น ก็ไม่ควรทำแค่เตรียมเงินเพียงอย่างเดียว การเตรียมความพร้อมในการลงทุนนั้น เราต้องเสริมสร้างสิ่งที่เรียกว่า ความรู้ ความเข้าใจ และ หาข้อมูลที่ดี ที่ถูกต้องเอาไว้ด้วย เพื่อที่เวลาลงทุนไปแล้ว เราจะได้ทราบว่าที่เราตัดสินใจลงทุนนั้นเกิดจากวิเคราะห์ที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่ลงทุนตามคนอื่น ๆ ไป หรือลงทุนตามจังหวะที่คิดว่าดีเท่านั้นครับ
เพราะผมเชื่อว่าการลงทุนที่ดีต้องมาจากความเข้าใจในสินทรัพย์นั้น ๆ เป็นอย่างดี การไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าเรากำลังลงทุนกับอะไร นั่นคือการลงทุนที่เสี่ยงที่สุดครับ
ท้ายที่สุดแล้ว ถ้าเรามองให้ดี ในวิกฤติก็ยังมีข้อดีมากมาย เพราะว่าทำให้เราเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ หรือทำให้เราเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบอื่นได้ ทำให้เราได้รู้ว่าต่อให้เราลดรายจ่ายลงเราก็อยู่ได้นี่ เปิดโอกาสให้เราได้อยู่กับครอบครัว ได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น มีเวลาทำอะไรที่ชอบมากขึ้น และมีเวลาในการพัฒนาตัวเองไปด้วยครับ
ผมเชื่อว่า ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติก็มักจะมีการวิวัฒนาการอะไรบ้างอย่างเกิดขึ้น ซึ่งนำมาด้วยการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเสมอ อย่างในอดีตการเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งก็ทำให้เกิดกองทุนอสังหา ฯ ที่นักลงทุนได้ลงทุนและได้ผลตอบแทนที่ดี เกิดนโยบายการลงทุนในกองทุน LTF,RMF เกิดโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม เกิดอาชีพนักวางแผนการเงิน เกิดนโยบายการเงินการลงทุนอื่น ๆ อีกมากมายเลยครับ
เห็นไหมครับว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นไม่ได้แย่เสมอไป แค่เราเตรียมตัวให้ดี มีสติ ดูแลเงินในกระเป๋าให้ดี รับรองว่าฟ้าหลังฝนจะสวยงามเสมออย่างที่เคยได้ยินกัน และผมก็เชื่อว่ามันจะเป็นเช่นนั้นเสมอครับ
สำหรับใครอยากเรียนรู้การบริหารการเงิน ตอนนี้ หมอนัท คลินิกกองทุน ได้มีคอร์สที่สอนที่ SHiFT ACADEMY แล้ว สามารถดูรายละเอียดได้นี่ คลิก
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture