‘หัวเราะวันละนิด ออฟฟิศแจ่มใส’ ประโยชน์ของเสียงหัวเราะในที่ทำงาน

In Summary

  • การหัวเราะเสียงดังหลายครั้งอาจทำให้เรารู้สึกอับอาย และอาจทำให้เรารู้สึกว่าหัวเราะมากไปจนไม่น่าเกรงขามรึเปล่า
  • แต่แท้จริงแล้วงานวิจัยจำนวนมากบอกว่าการหัวเราะมีประโยชน์มากกับการทำงาน เพราะช่วยบรรเทาความเครียด พัฒนาสุขภาพจิตและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้การทำงานมีผลิตผลมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางร่างกาย ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายอีกด้วย
  • แต่การหัวเราะในบางสถานการณ์อาจสร้างความรู้สึกที่ไม่ดี และมุกตลกบางมุกก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงควรระวังในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ทุกออฟฟิศก็ต้องการเสียงหัวเราะเสมอ

คุณเคยเป็นคนที่หัวเราะเสียงดังจนคนรอบข้างต้องจุ๊ปากให้เบาลงมั้ย? หรือคุณอาจจะกลัวว่าเสียงหัวเราะของคุณจะทำให้คนรอบข้างต้องอับอาย?

คุณเคยเป็นคนที่เรียกเสียงหัวเราะให้ทุกคนในออฟฟิศจนเมื่อคุณลางานไป แล้วพวกเขาต่างบอกว่าคิดถึงเสียงหัวเราะของคุณมั้ย?

หรือหลายครั้งคุณอาจจะคิดว่านี่ฉันหัวเราะร่าเริงมากเกินไปจนดูเหมือนไม่น่าเกรงขามรึเปล่า?
เบตตี้ แอนน์ เฮจจี้ (Betty-Ann Heggie) ประธานบริษัท PotashCorp เจ้าของหนังสือชื่อดัง Gender Physics: Unlock the Energy You Never Knew You Had to Get the Results You Want คือหนึ่งในคนที่มีเอกลักษณ์เป็นเสียงหัวเราะ และเคยรู้สึกกังวลกับเสียงหัวเราะที่ดังเกินไปของตัวเอง เธอเคยโดนบอสบ่นเรื่องเสียงหัวเราะจนคิดอยากลาออก

แต่ท้ายที่สุดแล้วหลังจากคิดทบทวนอยู่นาน เธอตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าเธอรักเสียงหัวเราะของตัวเอง เธอจะจริงใจกับตัวตนของตัวเอง และรักษาไว้ทั้งเสียงหัวเราะอันเป็นเอกลักษณ์และงานที่เธอรัก และหนึ่งในเหตุผลสำคัญคือ เธอมั่นใจว่าออฟฟิศทุกออฟฟิศต้องการเสียงหัวเราะแบบนี้เสมอ
Photo from: Unsplash

 

เสียงหัวเราะสารพัดประโยชน์
งานวิจัยหลากหลายงานแสดงให้เห็นว่าเสียงหัวเราะสร้างผลกระทบทางด้านบวกให้กับบรรยากาศในออฟฟิศ อลิสัน เบรด (Alison Bread) อาจารย์จาก Harvard Business School เจ้าของบทความ Leading with Humor ได้เขียนไว้ว่า “ไม่ว่าจะงานวิจัยจากองค์กรใดก็ตามทั้ง Wharton MIT และ London Business Review ต่างเขียนไว้ว่าทุกการหัวเราะไม่ว่าจะมากน้อยต่างส่งผลดีให้กับธุรกิจทั้งนั้น”

“เสียงหัวเราะช่วยบรรเทาความเครียดและความเบื่อหน่าย ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม เกิดสุขภาพจิตที่ดี เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ผลิตผลในการทำงาน และการวิเคราะห์ที่แม่นยำ” นอกจากนี้เธอยังพบข้อมูลจาก งานวิจัย Risky Business: When Humor Increases and Decreases Status อีกว่าการเล่นมุกตลกทำให้ผู้คนดูมีความสามารถมากขึ้น

การเป็นฝ่ายฟังมุกตลก หรือเป็นฝ่ายเปล่งเสียงหัวเราะก็ยังมีประโยชน์ในการทำงานเช่นกัน “เมื่อไหร่ที่เราเริ่มหัวเราะ มันไม่ได้แค่ช่วยให้สภาพจิตใจคุณดีขึ้น มันยังสร้างความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอีกด้วย” งานวิจัย Stress relief from laughter? It’s no joke Mayo Clinic รายงานว่าการหัวเราะช่วยให้เราสูดดมอากาศที่เต็มไปด้วยอ็อกซิเจนที่ดีเข้าไป ช่วยเพิ่มการหลังสารเอ็นโดรฟีน (Endorphins) ในสมอง นอกจากนี้มันช่วยเพิ่มการหมุนเวียนเลือด ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และยังช่วยลดอาการที่แสดงความเครียดทางร่างกายอีกด้วย

นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังชื่นชมคนที่มีเอกลักษณ์เป็นเสียงหัวเราะอย่างเฮจจี้อีกด้วยว่า “เสียงหัวเราะที่โพล่งออกมาดังๆ ช่วยบรรเทาการตอบสนองความเครียด และช่วยเพิ่มอัตราการต้นของหัวใจและความดันเลือด และสิ่งเหล่านี้ทำให้คุณรู้สึกที่ผ่อนคลายมาก”

ซึ่งงานวิจัย The Benefits of Stress Management for Employees

แสดงให้เห็นว่าระดับความเครียดที่ลดลงมีผลดีต่อพนักงาน และช่วยลดอัตรการลางาน ดังนั้นถึงแม้อิสระที่จะหัวเราะดังๆ ได้อาจดูไม่เหมาะสม แต่มันสำคัญมากในการทำงาน งานวิจัย Are happy workers more productive? ยังแสดงให้เห็นอีกว่า หลังจากดูคลิปตลก พนักงานจะโปรดักทีฟในการทำงานมากขึ้นถึง 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ดู
Photo from: Unsplash

 

ผลเสียที่ห้ามมองข้าม
แน่นอนว่าการเล่นมุกตลกที่มากเกินหรือการหัวเราะมากเกินไปไปก็อาจให้ผลในทางตรงกันข้ามเช่นกัน งานวิจัย When Joking with Your Employees Leads to Bad Behavior แสดงให้เห็นว่าการที่หัวหน้าเล่นมุกตลกลามกมากเกินไปอาจส่งผลให้ลูกน้องมีพฤติกรรมที่ไม่ดี นอกจากนี้อาจารย์โรซาเบธ มอส แคนเตอร์ (Rosabeth Moss Kanter) จาก Harvard Business School กล่าวในงานวิจัย Op-Ed: In Tackling #MeToo, Don’t Ignore Micro-Insults That Harm Women’s Careers ในบางสถานการณ์ เช่น การที่ผู้หญิงกลุ่มน้อยอยู่ท่ามกลางผู้ชาย อาจรู้สึกแย่กับการหัวเราะให้กับมุกตลกที่มีความเหยียด หรือกระทบตนเอง และมองว่าการยอมรับสถานการณ์เหล่านั้นคือการไม่ให้เกียรติคนที่เป็นคนกลุ่มน้อย

นั่นแสดงให้เห็นว่าการหัวเราะควรมาพร้อมกับมุกตลกที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่เหมาะสม ซึ่งนั่นอาจเป็นเรื่องที่ต้องกลับไปแก้ที่ตัวเจ้าของมุกตลกเอง และตัวคนหัวเราะว่าควรเลือกว่าจะยอมรับมุกอะไรและไม่ยอมรับมุกอะไร แต่ถ้าการหัวเราะเป็นไปในขอบเขตที่เหมาะสม ก็ไม่มีอะไรที่จะมาชี้ว่าเกิดผลเสีย และถึงจะมีผลเสียบ้างในเรื่องเสียงที่อาจจะดัง แต่ผลดีต่อสุขภาพกายและใจนั้นมากกว่า

ดังนั้นสิ่งที่เฮจจี้หนึ่งในคนเคยลำบากใจกับเสียงหัวเราะตัวเองแนะนำคือ ปลดปล่อยเสียงหัวเราะของตนเองออกมา หัวเราะให้ได้ทุกวันยิ่งดี แน่นอนว่ามันก็ควรจะระวังเรื่องความดัง บรรยากาศ และไม่ให้รบกวนคนอื่น แต่จากงานวิจัยของคาร์ล มาร์ซี (Carl Marci) อาจารย์จาก  Harvard Medical School กล่าวไว้ว่า “เสียงหัวเราะแสดงถึงกิจกรรมทางสังคมของมนุษย์เรา มันเหมือนกับเวลาเราเขียนเครื่องหมายตกใจแสดงอารมณ์นั่นแหละ”

ท่ามกลางวันที่เคร่งเครียดในออฟฟิศ การมีคนสร้างเสียงหัวเราะมันช่วยได้เยอะ

Source

Created with