การสร้าง Persona ทำการตลาดง่ายๆ และมีประสิทธิภาพ
การทำ Persona ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย เพราะมันส่งผลต่อการทำ customer journey map หรือการวางแผนเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจมาเป็นลูกค้าของเรา และการจัดสรรงบประมาณของคุณ
วิธีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจได้แน่ชัดว่าลูกค้าของคุณเป็นอย่างไร มากไปกว่านั้นมันจะช่วยให้การทำการตลาดของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
วิธีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจได้แน่ชัดว่าลูกค้าของคุณเป็นอย่างไร มากไปกว่านั้นมันจะช่วยให้การทำการตลาดของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
Persona คืออะไร?
Persona ก็เหมือนกับตัวแทนลักษณะนิสัยและบุคลิกของลูกค้าของคุณ ที่ถูกวิเคราะห์ออกมาให้อยู่ในหนึ่งคาแรคเตอร์
การทำ Persona จะช่วยให้กลุ่มลูกค้าที่คุณคาดการณ์ไว้มีชีวิตขึ้นมาจริงๆ ทั้งในเชิง demographic และ psychographic จากการรวบรวมข้อมูลที่ได้มาจากลูกค้ากลุ่มในปัจจุบัน การทำ Persona ก็เหมือนกับเป็นทางลัดให้คุณสามารถเข้าใจและเจาะไปที่กลุ่มลูกค้าได้อย่างง่ายขึ้นนั่นเอง
การโฟกัสไปที่ข้อมูลหรือ data ของกลุ่มลูกค้าถือว่าสำคัญมาก เพราะมันคือการใส่ใจรายละเอียดทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน, ความเชื่อ, และการกระทำ ของกลุ่มลูกค้า ล้วนมีผลต่อการทำ Persona ทั้งหมด
พูดง่ายๆ ว่าไม่ใช่ว่าเราคิดขึ้นมาเอง แล้วเอาความเชื่อนั้นมาบิดเบือนความเป็นจริงที่ลูกค้าเราเป็น
Persona ก็เหมือนกับตัวแทนลักษณะนิสัยและบุคลิกของลูกค้าของคุณ ที่ถูกวิเคราะห์ออกมาให้อยู่ในหนึ่งคาแรคเตอร์
การทำ Persona จะช่วยให้กลุ่มลูกค้าที่คุณคาดการณ์ไว้มีชีวิตขึ้นมาจริงๆ ทั้งในเชิง demographic และ psychographic จากการรวบรวมข้อมูลที่ได้มาจากลูกค้ากลุ่มในปัจจุบัน การทำ Persona ก็เหมือนกับเป็นทางลัดให้คุณสามารถเข้าใจและเจาะไปที่กลุ่มลูกค้าได้อย่างง่ายขึ้นนั่นเอง
การโฟกัสไปที่ข้อมูลหรือ data ของกลุ่มลูกค้าถือว่าสำคัญมาก เพราะมันคือการใส่ใจรายละเอียดทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน, ความเชื่อ, และการกระทำ ของกลุ่มลูกค้า ล้วนมีผลต่อการทำ Persona ทั้งหมด
พูดง่ายๆ ว่าไม่ใช่ว่าเราคิดขึ้นมาเอง แล้วเอาความเชื่อนั้นมาบิดเบือนความเป็นจริงที่ลูกค้าเราเป็น
ปัจจัยสำคัญของการทำ Persona
แน่นอนว่าเมื่อต้องทำ Persona การรวบรวมและสังเกตข้อมูลและรายละเอียดทุกๆ อย่างเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งข้อมูลหลักๆ ที่ว่านั้น มีดังนี้:
รูปภาพ: การมีรูปภาพที่สามารถเป็นตัวแทนของ Persona จะช่วยให้คุณเห็นภาพได้มากขึ้น ลองหารูปตัวอย่างที่เหมาะสมกับคาแรคเตอร์ที่คุณวางไว้สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักมาก่อนก็ได้
ซึ่งรูปที่เหมาะสมจริงๆ ก็มักจะเป็นรูปคนคนแรกที่คุณได้ลองหานั่นแหละ เพราะมันจะช่วยให้คุณรู้สึกเชื่อมโยงได้มากขึ้น แถมบางทีอาจจะทำให้คุณแตกต่างจากคู่แข่งได้อีกด้วย
ชื่อ: การคิดชื่อให้ Persona ของคุณ จะช่วยให้ลูกค้าคนนั้นมีชีวิตจริงมากขึ้น อาจจะเป็นชื่อง่ายๆ ที่คุ้นเคย ก็ยังได้ เพราะเมื่อมีชื่อแล้วนั้น คุณก็สามารถใช้ชื่อนี้เป็นตัวแทนในการทำ customer journey ได้เลย
Demographics: ข้อมูลเบื้องต้นทั่วไปของตัว Persona อย่างเช่น อายุ, รายได้ทางการเงิน, สถานที่อยู่, การศึกษา หรือข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว ก็ถือว่าเป็นดีเทลที่สำคัญ
เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ตัว Persona ในชีวิตประจำวันได้ง่ายมากขึ้น
จำไว้ว่าลูกค้าของคุณไม่ได้ใช้ชีวิตในการช้อปปิ้งหรือเลือกซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว การวัดผลและวิเคราะห์ข้อมูลในเรื่องอื่นๆ ของกลุ่มลูกค้าก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
Psychographics: ข้อมูลในด้านความรู้สึก, ทัศนคติ, ความคิด, ความกลัว และปัจจัยด้านจิตวิทยาต่างๆ
ซึ่งถ้าให้พูดง่ายๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องของกิจกรรมยามว่าง, ปริมาณการใช้โทรศัพท์มือถือในแต่ละวัน, การใช้งานบนคอมพิวเตอร์, สินค้าอื่นๆ ที่พวกเค้าชอบคืออะไรบ้าง หรือพวกเค้ามักจะหาข่าวสารจากที่ไหน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงคำถามที่ว่า “ทำไมพวกเค้าถึงตัดสินใจซื้อสินค้า?” นั่นเอง
ข้อสำคัญคืออย่าลืมว่าการทำ Persona เป็นการเอาข้อมูลจริงมาสร้างคาแรคเตอร์ใหม่ขึ้นมา อย่าสับสนระหว่างข้อเท็จจริงกับสิ่งที่คุณแต่งขึ้นมาล่ะ
Persona ที่ดี คือแบบไหน ?
การทำการตลาดด้วย Persona คือผลลัพธ์ที่ได้ต้องออกมาชัดเจนว่าลูกค้าของคุณมีลักษณะแบบไหน, ทำไมพวกเค้าถึงตัดสินใจซื้อสินค้า และพวกเค้ามีปฏิสัมพันธ์หรือความคิดเห็นอย่างไรกับแบรนด์ของคุณ
นอกจากนั้นต้องได้อินไซด์ด้วยว่าคุณจะสามารถสื่อสารกับพวกเค้าด้วยวิธีไหนและเมื่อไหร่
Persona ที่ดี ต้องมีข้อมูลเชิงลึกครบถ้วน
ส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการสร้าง Persona มากที่สุดก็คือการที่คุณไม่ได้วิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลที่เป็นความจริง แต่กลับใช้สัญชาตญาณในการตอบคำถามในแต่ละข้อเสียมากกว่า
ในฐานะนักการตลาด ถ้าคุณไม่ลองใช้เวลาไปกับการค้นหาหรือรีเสิร์ชข้อมูล คุณก็จะไม่มีวันได้ผลลัพธ์ที่ออกมาดีและมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน
แล้วจะหาข้อมูลจากไหนมาทำ Persona?
3 ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อทำ Persona
1. ใส่ใจเพียงแค่ข้อมูลเชิง demographic เพียงอย่างเดียว ทำให้ได้รายละเอียดแค่ผิวเผิน
2. มุ่งหวังแค่ลูกค้าในความคาดหวังแทนที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าในความเป็นจริงที่มีอยู่
3. เชื่อในสัญชาตญาณแทนที่จะเชื่อข้อมูลและรายละเอียดที่ตรวจสอบได้
สุดท้ายแล้วเมื่อคุณได้ Persona ที่มีประสิทธิภาพออกมา ต้องอย่าลืมที่จะคอยทบทวนคุณสมบัติของ Persona อยู่เรื่อยๆ เพราะแน่นอนว่า เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มลูกค้าเหล่านั้นก็มักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถ้าเรามีการทบทวนข้อมูลและปรับแผนอยู่ตลอด เราก็จะรักษากลุ่มลูกค้าไว้ได้อย่างต่อเนื่อง
ที่มา https://medium.com/swlh/the-beginners-guide-to-creating-marketing-personas-758d766cd580
แน่นอนว่าเมื่อต้องทำ Persona การรวบรวมและสังเกตข้อมูลและรายละเอียดทุกๆ อย่างเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งข้อมูลหลักๆ ที่ว่านั้น มีดังนี้:
รูปภาพ: การมีรูปภาพที่สามารถเป็นตัวแทนของ Persona จะช่วยให้คุณเห็นภาพได้มากขึ้น ลองหารูปตัวอย่างที่เหมาะสมกับคาแรคเตอร์ที่คุณวางไว้สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักมาก่อนก็ได้
ซึ่งรูปที่เหมาะสมจริงๆ ก็มักจะเป็นรูปคนคนแรกที่คุณได้ลองหานั่นแหละ เพราะมันจะช่วยให้คุณรู้สึกเชื่อมโยงได้มากขึ้น แถมบางทีอาจจะทำให้คุณแตกต่างจากคู่แข่งได้อีกด้วย
ชื่อ: การคิดชื่อให้ Persona ของคุณ จะช่วยให้ลูกค้าคนนั้นมีชีวิตจริงมากขึ้น อาจจะเป็นชื่อง่ายๆ ที่คุ้นเคย ก็ยังได้ เพราะเมื่อมีชื่อแล้วนั้น คุณก็สามารถใช้ชื่อนี้เป็นตัวแทนในการทำ customer journey ได้เลย
Demographics: ข้อมูลเบื้องต้นทั่วไปของตัว Persona อย่างเช่น อายุ, รายได้ทางการเงิน, สถานที่อยู่, การศึกษา หรือข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว ก็ถือว่าเป็นดีเทลที่สำคัญ
เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ตัว Persona ในชีวิตประจำวันได้ง่ายมากขึ้น
จำไว้ว่าลูกค้าของคุณไม่ได้ใช้ชีวิตในการช้อปปิ้งหรือเลือกซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว การวัดผลและวิเคราะห์ข้อมูลในเรื่องอื่นๆ ของกลุ่มลูกค้าก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
Psychographics: ข้อมูลในด้านความรู้สึก, ทัศนคติ, ความคิด, ความกลัว และปัจจัยด้านจิตวิทยาต่างๆ
ซึ่งถ้าให้พูดง่ายๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องของกิจกรรมยามว่าง, ปริมาณการใช้โทรศัพท์มือถือในแต่ละวัน, การใช้งานบนคอมพิวเตอร์, สินค้าอื่นๆ ที่พวกเค้าชอบคืออะไรบ้าง หรือพวกเค้ามักจะหาข่าวสารจากที่ไหน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงคำถามที่ว่า “ทำไมพวกเค้าถึงตัดสินใจซื้อสินค้า?” นั่นเอง
ข้อสำคัญคืออย่าลืมว่าการทำ Persona เป็นการเอาข้อมูลจริงมาสร้างคาแรคเตอร์ใหม่ขึ้นมา อย่าสับสนระหว่างข้อเท็จจริงกับสิ่งที่คุณแต่งขึ้นมาล่ะ
Persona ที่ดี คือแบบไหน ?
การทำการตลาดด้วย Persona คือผลลัพธ์ที่ได้ต้องออกมาชัดเจนว่าลูกค้าของคุณมีลักษณะแบบไหน, ทำไมพวกเค้าถึงตัดสินใจซื้อสินค้า และพวกเค้ามีปฏิสัมพันธ์หรือความคิดเห็นอย่างไรกับแบรนด์ของคุณ
นอกจากนั้นต้องได้อินไซด์ด้วยว่าคุณจะสามารถสื่อสารกับพวกเค้าด้วยวิธีไหนและเมื่อไหร่
Persona ที่ดี ต้องมีข้อมูลเชิงลึกครบถ้วน
ส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการสร้าง Persona มากที่สุดก็คือการที่คุณไม่ได้วิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลที่เป็นความจริง แต่กลับใช้สัญชาตญาณในการตอบคำถามในแต่ละข้อเสียมากกว่า
ในฐานะนักการตลาด ถ้าคุณไม่ลองใช้เวลาไปกับการค้นหาหรือรีเสิร์ชข้อมูล คุณก็จะไม่มีวันได้ผลลัพธ์ที่ออกมาดีและมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน
แล้วจะหาข้อมูลจากไหนมาทำ Persona?
- ระดมสมอง หรือ Brainstorm รวมทั้งเปิดรับความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่ายในองค์กร
- สื่อออนไลน์โซเชียลมีเดียและ feedback สินค้า
- ข้อมูลวิจัยทางการตลาด
- ทำ Customer Journey ออนไลน์ (เช่น การใช้ Google Analytics)
- ทำแบบสอบถาม, focus group, หรือสัมภาษณ์พูดคุยกับลูกค้า
3 ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อทำ Persona
1. ใส่ใจเพียงแค่ข้อมูลเชิง demographic เพียงอย่างเดียว ทำให้ได้รายละเอียดแค่ผิวเผิน
2. มุ่งหวังแค่ลูกค้าในความคาดหวังแทนที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าในความเป็นจริงที่มีอยู่
3. เชื่อในสัญชาตญาณแทนที่จะเชื่อข้อมูลและรายละเอียดที่ตรวจสอบได้
สุดท้ายแล้วเมื่อคุณได้ Persona ที่มีประสิทธิภาพออกมา ต้องอย่าลืมที่จะคอยทบทวนคุณสมบัติของ Persona อยู่เรื่อยๆ เพราะแน่นอนว่า เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มลูกค้าเหล่านั้นก็มักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถ้าเรามีการทบทวนข้อมูลและปรับแผนอยู่ตลอด เราก็จะรักษากลุ่มลูกค้าไว้ได้อย่างต่อเนื่อง
ที่มา https://medium.com/swlh/the-beginners-guide-to-creating-marketing-personas-758d766cd580
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture