People Analytics หัวหน้าต้องเข้าใจ ปกป้องลูกน้องจากอาการหมดไฟ

In Summary

  • มนุษย์เราต่างมีระบบความคิดเป็นของตัวเอง มีความรู้สึก ความชอบ ความเกลียดที่ต่างกันในแต่ละคน ทำให้การทำงานกับคนคือสิ่งที่ยากที่สุด พนักงานในองค์กรมีปัญหาเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งปัญหาระหว่างบุคคล และปัญหาในตัวพนักงานเอง เช่น อาการหมดไฟ
  • ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่พัฒนาขึ้นมาแก้ปัญหาในองค์กร หนึ่งในนั้นคือ People Analytics หนึ่งในเครื่องมือที่ HR นิยมใช้ที่สุด ซึ่งทำโดยการการเก็บข้อมูล วิเคราะห์เพื่อหาต้นตอของปัญหา และปรับแก้ เครื่องมือนี้สามารถใช้ได้กับทุกประเด็นที่เกี่ยวกับคน
  • หัวหน้าสามารถรู้ก่อนที่ลูกน้องจะหมดไฟ และเสียลูกน้องมือดีไป ผ่านการใช้เครื่องมือนี้แก้ปัญหา โดยการใช้ข้อมูลเพื่อสำรวจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานก่อนจะสายเกินแก้

การทำงานกับคนเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในโลก เพราะมนุษย์เราคือสิ่งมีชีวิตที่มีระบบความคิดซับซ้อนที่สุด

เราต่างมีความคิด ความรู้สึก ความชอบ ความเกลียดเป็นของตนเองที่ไม่มีใคร และนั่นคือสาเหตุที่เราต้องมีแผนกบุคคล หรือ HR (Human Resources) มาคอยดูแลจัดการกับคนตั้งแต่หลายสิบถึงหลายร้อยคนในองค์กร เพราะการจัดการให้คนที่ต่างมีความเป็นตัวเองกว่าร้อยคนมาอยู่ร่มกันอย่างสันติได้มันยาก และต้องการคนที่เชี่ยวชาญในด้านนี้

ปัญหาของพนักงานในองค์กรเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของพนักงานกับบริษัทหรือเพื่อร่วมงานที่มีความต้องการที่ไม่ตรงกัน หรือปัญหาของพนักงานเอง เช่น ความไม่เข้าใจในงานที่ทำ รู้สึกไม่เข้ากับงาน หรือหมดไฟในการทำงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในแทบจะทุกองค์กร ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก เพราะเป็นเรื่องของจิตใจ ต้องอาศัยการเยียวยาทางจิตใจอย่างใกล้ชิด ซึ่งบางครั้งอาจจะสายเกินแก้

แต่สิ่งที่บริษัททำได้คือป้องกันตั้งแต่แรก หรือแก้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลาย ซึ่งปัจจุบันนี้มีเครื่องมือทางสถิติที่ช่วยแก้ปัญหาด้านนี้ได้ นั่นก็คือ People Analytics ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ HR ในปัจจุบันใช้วิเคราะห์คน วิเคราะห์สถานการณ์การจ้างงาน ความต้องการของพนักงาน และนำมาปรับใช้กับการพัฒนาระบบ หรือพัฒนาการเทรน เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือนี้เองที่จะช่วยแก้ปัญหาการหมดไฟของพนักงานได้ตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการแก้ปัญหาด้านบุคลากรด้านอื่นๆ ในองค์กรได้อีกด้วย


People Analytics คืออะไร?
People Analytics หรือ HR Analytics คือการเก็บข้อมูลด้านบุคคล และพัฒนาให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยประกอบการวิเคราะห์พัฒนาองค์กรได้ แม้ว่าหลายคนจะคิดว่าเครื่องมือนี้มีแค่ HR เท่านั้นที่ใช้ แต่จริงๆ แล้วสามารถปรับใช้ได้กับทั้งองค์กร ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ เพราะคนหรือบุคลากรนั้นคือฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่ององค์กรให้เดินหน้า ถ้าลูกน้องมือดีเกิดหมดไปไฟซะก่อน เปอร์เซ็นต์สู่ความสำเร็จก็จะลดลงไปอีกขั้น

People Analytics ทำอย่างไร?

1. มั่นใจก่อนว่าเราและองค์กรพร้อมใช้เครื่องมือนี้รึยัง
เพราะ People Analytics สามารถก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจริงก็ต่อเมื่อเราใช้มันในทางที่ถูก ถ้าคุณและองค์กรไม่พร้อมเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่ ไม่พร้อมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ข้อมูลที่เสียแรงเสียเงินเพื่อให้ได้มามาหรือ เครื่องมือที่ลงแรงลงทุนไปก็จะไม่ก่อประโยชน์ใดๆ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือคนที่พร้อมจะนำข้อมูลไปปรับใช้

2. หาคนที่เหมาะสมที่สุด
แน่นอนว่าในทุกองค์กรต้องมีคนที่ชอบเรื่องข้อมูล ชอบเก็บสถิติ พูดอะไรแบบ “according to” หรือ “based on” ตลอด เขาเหล่านั้นเหมาะจะเป็นคนที่มาทำหน้าที่จัดการทางด้านการเก็บข้อมูลเพื่อทำ People Analytics ที่สุด

3. ตั้งโจทย์ให้ชัดเจน
ก่อนจะเริ่มหาข้อมูล สิ่งที่ต้องมีก่อนคือโจทย์ และโจทย์ที่ตั้งต้องเป็นโจทย์ที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยหาข้อมูลในเรื่องที่คุณต้องการแก้ได้จริง คำถามต้องไปให้ไกลกว่าแค่คำว่าทำไม พยายามเชื่อมโยงเหตุและผล จากนั้นจึงหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแก้โจทย์นั้น

เมื่อคุณได้ข้อมูลมาแล้ว คุณก็จะมองเห็นปัญหา หรือคำตอบที่คุณหาอยู่ และแน่นอน

4. ปรับแก้ตามแนวทางที่ได้มาซะ เพราะถ้าหากไม่ปรับแก้ People Analytics ก็จะไม่มีวันได้ผล


แล้ว People Analytics จะป้องกันอาการหมดไฟ (Burnout) ได้อย่างไร?
และนี้คือจุดสำคัญของบทความนี้ที่เราจะมาพูดถึงกัน ลองฟังตัวอย่างต่อไปนี้กันดู

มีทีม People Analytics ของบริษัทหนึ่งพยายามที่จะช่วย CEO บริหารจัดการอัตราการเติบโตของบริษัทในขณะที่บริษัทเองพยายามปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่จะผลักดันให้พนักงานให้ทรัพยาการและเงินทุนให้น้อยลง ในขณะที่ต้องมีอัตราความสามารถในการแข่งขันตลาดสูงขึ้น

ยิ่งองค์กรพยายามเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางนี้มากเท่าไหร่ คนในทีมก็ต้องพยายามสร้างผลลัพธ์ให้มากขึ้นแต่ใช้ทรัพยากรน้อยลง ต้องเก็บข้อมูลน้อยลง แต่ต้องตัดสินใจเร็วขึ้น ในระหว่างนั้นหัวหน้าแผนกเริ่มได้ยินเสียงบ่นของอาการหมดไฟ เหนื่อยล้าที่ต้องพยายามเปลี่ยนแปลง และเริ่มตั้งคำถามว่าที่นี่มันดีจริงรึเปล่า ซึ่งการที่จะทำให้ CEO เปลี่ยนใจด้วยเพียงแค่คำพูดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

เพื่อจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ ทีมจึงต้องเตรียมข้อมูลที่อัดแน่น เป็นกราฟที่แสดงให้เห็นว่าแต่ละคนมีช่วงเวลาการทำงานที่ต่างกัน วัดจากการใช้ Time Tracking จับเวลาการทำงานและกิจกรรมการทำงานตั้งแต่เริ่มยันจบสัปดาห์ของแต่ละทีม และสามารถดูได้ว่าช่วงกี่ชั่วโมงของการทำงานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วงไหนที่เริ่มจะทำงานมากเกินไป จะดูได้จากการที่ถ้าหากอยู่ในชั่วโมงที่ทำงานมากไป พนักงานจะไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลง หรือการแก้ไขใดๆ ได้ แต่ถ้าในช่วงที่ยังไม่มากเกินไป พนักงานจะพร้อมเรียนรู้อย่างเห็นได้ชัด และนั่นทำให้ซีอีโอเข้าใจ และเห็นถึงประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานและตัวบริษัท และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขที่จะป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟจนลาออกกันไปหมด

เจ้านายที่ดีจะเข้าใจและปรับแก้เพื่อลูกน้องในเรื่องนี้ จะเห็นค่าในตัวบุคคลและสุขถาพจิตที่ดีในการทำงาน ใช้ People Analytics ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วควรวิเคราะห์ ทดลอง ปรับใช้เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่ดีและรอบคอบมากขึ้น

เพราะลูกน้องที่ดีหายาก แต่การเก็บพวกเขาไว้นั้นยากกว่า ทำตัวเป็นเจ้านายที่ดี ปรับเปลี่ยนตามข้อมูลที่ได้ เพื่อไม่ให้ลูกน้องหมดไฟไปซะก่อน สุดท้ายการมีลูกน้องที่ดี คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดก็คือองค์กรนั่นเอง

Source

Created with