เมื่อหลักการวางแผนเกษียณยอดฮิต ใช้ไม่ได้ผลกับทุกคน

In Summary

  • หลักการวางแผนการเงินหลังเกษียณด้วยการเก็บเงินรวมให้หารใช้ต่อเดือนได้ 70-80% ของจำนวนรายได้หลังหักภาษีที่ได้รับก่อนเกษียณเป็นหลักการที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และฮิตในหมู่นักวางแผนการเงิน
  • มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถหาเงินจำนวนนั้นเพื่อใช้ต่อเดือน นำไปสู่การกดดันตัวเองและรู้สึกแย่กับตัวเอง
  • แนวคิดที่เป็นอีกทางเลือกที่ดีกว่าและกดดันน้อยกว่าในการเก็บเงินเพื่อใช้หลังเกษียณคือการวางแผนให้เข้ากับไลฟ์สไตล์และการใช้จ่ายของแต่ละบุคคล
 
“ถ้าอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างสบายใจ คุณควรจะต้องมีเงินใช้ต่อเดือนหลังเกษียณเป็นจำนวน 70-80% ของรายได้หลังหักภาษีที่ได้รับก่อนเกษียณ” นี่คือคำแนะนำหลักที่เรามักจะได้ยินนักวางแผนการเงินและโฆษณากองทุนเพื่อการเกษียณส่วนมากแนะนำ

ปัญหาคือคนส่วนมากที่กำลังจะเกษียณในอีกไม่กี่ปีมักจะหาเงินจำนวนขนาดนั้นเพื่อใช้ต่อเดือนหลังเกษียณไม่สำเร็จ เหมือนที่แสดงให้เห็นในงานวิจัยของ Standford Center of Longivity (SCL) ว่าชาวอเมริกันที่เกษียณในวัย 65 ส่วนมากไม่สามารถหาเงินก้อนใหญ่ที่จะนำมาใช้ต่อเดือนได้ตามคำแนะนำ
จากรายงานของ SCL คนรุ่น Baby Boomer (คนที่เกิดปี 1946-1964) ที่กำลังจะเกษียณเร็วๆ นี้ การสำรวจช่วงปี 2014 ที่ผ่านมาพบว่ายังมีคนจำนวนมากในรุ่นนี้ที่ยังไม่ได้เตรียมเงินเพื่อเกษียณเลย ถึงแม้จะมีอายุกันประมาณ 50-68 ปีแล้วก็ตาม สำหรับกลุ่มที่มีเงินเก็บแล้วก็จะมีประมาณ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ (6 ล้านบาท)​ ซึ่งอาจฟังดูเป็นจำนวนที่เยอะ แต่สำหรับคนที่จะเกษียณในวัย 65 หากคำนวณสำหรับใช้ 15-25 ปีแล้ว จะหารใช้ตามจำนวนปีได้แค่ปีละ 8,000-12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (240,000-360,000) ต่อปีเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะมีการเอารายได้ไปลงทุนเพิ่มหรือไม่

เงินจำนวนนี้ฟังดูเป็นเงินไทยอาจจะเยอะ แต่สำหรับค่าครองชีพที่อเมริกาถือว่าไม่ค่อยพอใช้ แถมเรายังไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้ออีกต่างหาก และถึงแม้เอาไปรวมกับรายได้เสริมเพื่อความปลอดภัย (Social Security Income) ที่รัฐบาลอเมริกาให้แล้ว ก็ยังไม่ถึง 70-80% ของรายได้ก่อนเกษียณต่อเดือนของคนอเมริกันอยู่ดี

และที่น่ากลัวกว่านั้นคือรายงานของ SLC แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นนี้บางกลุ่มเกษียณไปพร้อมกับหนี้ติดตัว ซึ่งเปรียบเทียบดูแล้วจำนวนคนที่มีหนี้เยอะกว่าคนรุ่นที่แล้วมาก

ดังนั้นหากจะทำให้ได้ตามคำกล่าวที่แพร่หลายนี้ ผู้สูงอายุหลายคนต้องทำงานหลังจากเกษียณ หรือไม่ก็ลดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ หรือบางรายก็อาจต้องทำทั้งสองอย่างด้วยซ้ำ
การวางแผนเกษียณ แนวคิดเบื้องหลังหลักเกณฑ์ 70-80% นี้คืออะไร?
ก่อนที่เราจะไปดูแนวคิดอีกทางเลือกที่จะมาแทนแนวคิด  70-80% นี้ ไปดูกันก่อนว่าแนวคิดเบื้องหลังของการเตรียมเงินไว้ 70-80% ของรายได้หลังหักภาษีเพื่อใช้ต่อเดือนพัฒนามาจากความคิดแบบใด

คำตอบคือเกิดจากการตั้งสมมุติฐานว่าคนเราควรจะมีเงินใช้หลังเกษียณพอๆ กับเงินที่ใช้ก่อนเกษียณนั่นเอง

‘แล้วทำไมไม่เตรียมเงินไว้ให้เท่ากับเงินที่ได้ก่อนหักภาษีเลยล่ะ?’ หลายคนอาจสงสัย แต่คำตอบคือ เพราะที่ไทยให้ผู้สูงอายุได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 190,000 บาทแรก ทำให้ผู้สูงอายุเสียภาษีน้อยลงมากหรือแทบไม่เสียเลย ทำให้เราไม่ต้องเตรียมเงินไว้เผื่อจ่ายภาษี

‘แล้วทำไมไมถึงเตรียมเงินไว้แค่ 70-80% ของรายได้หลังหักภาษีล่ะ ไหนบอกว่าอยากให้ใช้เงินได้เท่าเดิม?’ เพราะหลังจากเกษียณคุณไม่ต้องหักเงินรายได้หลักหักภาษีมาเป็นเงินเก็บแล้ว ซึ่งปกติก่อนเกษียณหลังหักเงินเก็บแล้วคุณก้จะใช้ประมาณ 70-80% ที่เหลืออยู่ดี จึงทำให้มีเงินเหลือพอใช้ได้พอดี

จริงๆ แล้วการที่เก็บเงินไม่ถึงเป้าหมาย 70-80% จะเป็นปัญหาหรือไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตส่วนตัวของคุณด้วย คุณอาจพบว่าตัวเองไม่ได้ต้องการเงินมากขนาดนั้นอีกแล้วหลังเกษียณ เพราะคุณไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน อาจจะผ่อนบ้านหมดแล้ว หรือย้ายไปอยู่บ้านนอกเมืองที่ราคาถูกลง เพื่อหนีจากความวุ่นวายในเมือง และที่สำคัญคือคุณไม่ต้องจ่ายค่าเทอม ค่าที่พัก ค่าขนมให้ลูกๆ อีกแล้ว เพราะตอนนั้นลูกๆ ก็ต่างเติบโต มีรายได้ของตัวเองกันหมดแล้ว

การวางแผนเกษียณ สุดท้ายแล้วการมีเงินน้อยกว่า 70-80% ต่อเดือนก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ทั้งยังสามารถให้อืสระทางการเงินในแบบของคุณได้อีกด้วย แล้วอย่างนี้เราจะยึดติดกับหลักการขนาดนั้นทำไมกัน
แนวคิดที่ดีกว่าคืออะไร?
แทนที่จะอดทนทำตามหลักการที่อาจจไม่ได้ผลกับคุณ เราคิดว่าคุณควรจะลองตัดสินใจเอาเองว่าควรมีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอกับความต้องการพื้นฐานและความสุขทางกายและใจของคุณ แล้วก็เริ่มสำรวจสถานะทางการเงินของคุณเองว่าตอนนี้คุณยืนอยู่จุดไหน มีเงินเก็บเท่าไหร่ และอีกไกลเท่าไหร่กว่าจะเก็บเงินได้ตามที่คุณต้องการ อย่าลืมคิดรายได้ที่คุณจะได้จากกองทุน หรือเงินบำนาญด้วย หลังจากนั้นคุณก็จะมองเห็นแผนที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นว่าคุณจะเก็บเงินอย่างไรเพื่อให้มีเงินใช้ต่อเดือนตามที่คุณต้องการหลังเกษียณ

เรารู้ว่าการวางแผนเกษียณเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนและยากลำบาก แต่เราอยากให้ทุกคนมีชีวิตหลังเกษียณที่มั่นคง การยึดติดกับหลักการที่อาจจะไม่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคุรอาจทำให้เรื่องที่ยากอยู่แล้วยากกว่าเดิมอีกหลายเท่า ควรหาเส้นทางที่เหมาะสมกับตัวเอง และเริ่มวางแผนเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เริ่มลงมือเก็บเงินตั้งแต่ตอนที่ยังมีแรง ดีกว่าที่จะไปอยู่อย่างยากลำบากตอนเกษียณนะ

ที่มา: https://www.forbes.com/sites/stevevernon/2020/07/09/this-retirement-rule-of-thumb-wont-work-for-most-people/?ss=retirement#5e316ff960fa
Created with