เทคนิคเปลี่ยนตัวเองเป็นพนักงานใหม่ที่เพื่อนร่วมงานรัก

In Summary

  • เมื่อคุณเป็นพนักงานใหม่ แรกเริ่มต้องสานสัมพันธ์กับคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับคุณให้ได้มากที่สุด ทั้งระดับบน ระดับล่าง หรือแม้กระทั่งข้ามแผนก
  • ต่อมาคือการเข้าใจบทหน้าที่ของตัวเอง และสำรวจว่าเราสามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
  • สร้างความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ร่วมกันกับทีมงานก่อน โดยยังไม่ต้องทำตัวเป็นฮีโร่แก้ไขปัญหายากๆ
หากคุณเข้ามาเป็นพนักงานที่ใหม่ระดับหัวหน้า อาจต้องสร้างความเชื่อใจกับทีมงาน และมีความโปร่งใสในการสื่อสารให้ได้มากที่สุด
เคยมั้ย? ที่เริ่มทำงานใหม่เพียงเดือนเดียว แล้วรู้สึกเข้าไม่ได้กับคนในองค์กรใหม่เลย จนเกิดอาการอึดอัด สูญเสียความมั่นใจ กระทั่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการทำงาน หรือบางครั้งก็งงงวยว่าตัวเองมีหน้าที่อะไร สำคัญกับองค์กรนี้ไหมนะ ทั้งๆ ที่พยายามฝ่าฟันมานานกว่าจะได้ตำแหน่งนี้

ถ้าคุณเคยเจอประสบการณ์นี้ ไม่ต้องกังวลใจอะไร เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นกับคุณแค่เพียงคนเดียว แต่เกิดกับอีกหลายๆ คนที่เพิ่งเข้าทำงานที่ใหม่ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในระดับผู้นำ ที่ผลงานวิจัยจาก Mckinsey บอกว่า ผู้นำใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำงานมักจะล้มเหลวภายใน 2 ปี

ฉะนั้นถ้าคุณอยากเริ่มทำงานที่ใหม่อยากมืออาชีพ เราก็ควรเตรียมตัวเองให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อทำงานให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรนั้นๆ นั่นเอง

และนี่ก็คือเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เอาไว้สำรวจตัวเองเมื่อเริ่มทำงาน แล้วคุณก็จะเปลี่ยนตัวเองเป็นพนักงานใหม่ที่เพื่อนร่วมงานรัก
ในฐานะพนักงานใหม่ ฝึกทำความรู้จักเพื่อนร่วมงานให้ได้มากที่สุด
ในฐานะพนักงานหน้าใหม่ สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือการสร้างความรู้จักกับเพื่อนร่วมงานให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานในระดับที่สูงกว่า ต่ำกว่า หรือแม้กระทั่งข้ามแผนกกัน เพราะพวกเขาเหล่านี้มีผลกระทบต่อความสำเร็จของงานคุณเสมอ ฉะนั้นเราควรรู้จักวิธีจัดการความสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แต่ละความสัมพันธ์จะแตกต่างไปตามอาชีพ แผนก หรือประเภทของธุรกิจ เช่น นักเขียนคอนเทนต์อาจจะต้องส่งงานกับบรรณาธิการโดยตรง ซึ่งต้องสอดคล้องความต้องการของผู้บริหาร ขณะเดียวกันก็ต้องประสานงานกับกราฟิกเพื่อผลิตผลงานออกมาให้สวยงาม การทำความเข้าใจระบบการทำงานและคนที่ต้องสานสัมพันธ์ด้วยนั้น ก็จะทำให้เราเข้าใจองค์กรของเรามากขึ้น

เราแนะนำว่าให้ใช้เวลาช่วงแรกนี่แหละในการทำความรู้จักพวกเขาโดยตรง เอาง่ายๆ แค่พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดว่า…

  • การทำงานในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง?
  • เราจะทำอย่างไรให้แผนงานตอนนี้บรรลุผลสำเร็จ
  • ที่ผ่านมามีการทำงานแบบไหนที่ดีที่เราควรดำเนินงานต่อ?
  • เราควรเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากกว่านี้?
  • ใครบ้างที่เราควรเข้าไปคุย และควรเข้าหาเขาอย่างไร?


Photo from: Unsplash

 

ทำความเข้าใจหน้าที่และประเมินตัวเองให้เป็น
แน่นอนว่าการเข้ามาทำงานในตำแหน่งในสักตำแหน่งหนึ่ง เราย่อมรู้หน้าที่ตัวเองมาบ้างแล้วจาก Job Description ที่ HR เขียนประกาศ เพียงแต่พอลงมือทำงานจริงแล้วนั้น (ถึงแม้จะเป็นตำแหน่งเดียวกัน) แต่ละองค์กรไม่มีทางทำงานเหมือนกันเลย ฉะนั้นนอกเหนือจากสร้างความสัมพันธ์กับคนทำงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการพูดคุยกับหัวหน้าถึงการทำงานของคุณเอง

สิ่งที่เดินเข้าไปถามก็คือ…

  • คุณต้องการฟีคแบคและการแจ้งข้อมูลอย่างไร
  • เป้าหมายขององค์กรในปีนี้คืออะไรและเราเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์นั้นอย่างไร
  • อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำให้สำเร็จในปีนี้ และหัวหน้าจะวัดผลอย่างไร
  • สามารถระบุเฉพาะเจาะจงได้ไหมว่าเราสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างไร
Photo from: Unsplash

 

หาความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ
หลังจากการสัมภาษณ์งานนานนับชั่วโมง และหัวหน้างานตัดสินใจรับคุณเป็นส่วนหนึ่งของทีมแล้ว เขาจะคิดว่าคุณเหมาะสมถูกต้องที่จะทำงานในตำแหน่งนี้นานประมาณสัปดาห์หรือเดือนหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า ‘Halo Effect’ หรือ ‘หลุมพรางทางความคิด’ ที่มองข้ามจุดด้อยของเราไป ช่วงเวลานี้แหละที่เป็นประโยชน์มากๆ สำหรับพนักงานหน้าใหม่ในการเร่งพิสูจน์ตัวเอง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องเล่นใหญ่ทำโปรเจกต์ระดับยักษ์ แต่ควรเริ่มจากการสร้างความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ให้หัวหน้าได้รับรู้  

ตามคำแนะนำของ
ไมเคิล วัทกินส์ (Michael Watkins) ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้นำกล่าวว่า เราควรทำงานให้รอบคอบ ซึ่งเป้าหมายแรกไม่ใช่ทำตัวเองให้กลายเป็นฮีโร่ในการจัดการปัญหายากๆ แต่คืองานที่ประสบความสำเร็จแล้วกระตุ้นทีมงานให้เข้าใกล้เป้าหมายนั้นได้เร็วขึ้น

ที่สำคัญอย่าลืมมองข้ามวัฒนธรรมองค์กรในโปรเจกต์ดังกล่าว ซึ่งสมาชิกในทีมต้องมีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จนั้นด้วยเช่นกัน
Photo from: Unsplash

 

สร้างความเชื่อมั่นในทีมของคุณ
ถ้าคุณเข้ามาใหม่ในฐานะหัวหน้าใหม่ จำไว้ว่าพนักงานส่วนใหญ่จะรู้สึกประหม่าและกังวลเวลาต้องเข้ามารายงานอะไรสักอย่างกับหัวหน้าใหม่เสมอ เขาอาจจะไม่มั่นใจจนกระทั่งรู้จักคุณจริงๆ และรู้ว่าคุณต้องการอะไรจากเขาบ้าง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณจะยังไม่เป็นที่ยอมรับ เว้นแต่มีแผนในการรับมือกับสภาวะนี้

เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายของคุณ การประชุมควรเริ่มด้วยวิสัยทัศน์และความตั้งใจ พร้อมกับแผนงานที่ทีมงานทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความประสบสำเร็จนั้นๆ อย่าลืมเปิดโอกาสให้ทีมแชร์ข้อมูลและความคิดเห็นถึงแผนงานนั้นด้วย

ฉะนั้นซื่อสัตย์กับตัวเองและเพื่อนร่วมงานเสมอ เรายังสามารถเล่าถึงความกังวลใจอะไรก็สามารถแชร์ให้กับลูกทีมได้ เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความประทับใจเล็กๆ ให้กับพวกเขา แล้วเราก็จะสามารถความเชื่อใจและความน่าเคารพนับถือ มากกว่าเป็นเจ้านายใหม่ที่สั่งการอย่างเดียว

แค่การเตรียมตัวก่อนเข้าทำงานใหม่ตามแผนนี้ล่วงหน้าเล็กน้อย คุณก็จะเป็นพนักงานหน้าใหม่ที่สามารถสร้างความสัมพันธ์และเรียนรู้งานได้ดีไปพร้อมๆ กัน สิ่งเหล่านี้แหละจะทำให้หน้าที่การงานของคุณเข้าใกล้คำว่า ‘ประสบความสำเร็จ’ ต่อไป

แต่สำหรับผู้ทำงานหน้าใหม่ เมื่อเผชิญกับงานที่ท่วมหัว คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะรับมือได้ ลองอ่านบทความนี้ จะช่วยให้เราเตรียมตัวพร้อมเผชิญกับงานที่ท่วมหัวได้ คลิกเพื่ออ่าน

Source

Created with