สตาร์ทอัพ (Startup) 101 : นักลงทุนแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
ทุน ทุน ทุน เรื่องนี้แทบจะเป็นเรื่องที่สตาร์ทอัพ (Startup) แทบทุกคนรู้ซึ้งดีว่ามันสำคัญมากเพียงใด เพราะต้องยอมรับว่า การทำธุรกิจล้วนต้องมีทุนสนับสนุน คนที่กว้างขวางมีครอบครัวหรือเพื่อนฝูงพร้อมช่วยเหลือเกื้อกูลในช่วงเริ่มต้น ก็ถือว่าโชคดีไป ที่มีทุนเริ่มต้น แต่สำหรับคนที่มีไอเดีย มีแผนการทำธุรกิจ แต่ไม่มีทุนให้อุ่นใจ ตำราสตาร์ทอัพ เขาให้มองไปที่นักลงทุนทั้งหลายที่พร้อมจะสนับสนุนให้คุณเดินหน้า แต่อย่างไรก็ดี นักลงทุนก็แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มที่สำคัญ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีข้อดีข้อเสียที่คุณควรรู้ก่อนจะจับมือทำงานร่วมกัน
และนี่ก็คือนักลงทุน 4 กลุ่มที่เราว่า
และนี่ก็คือนักลงทุน 4 กลุ่มที่เราว่า
- VC (Venture Capital) บริษัทร่วมทุน
- Lone Angel Investor นักลงทุนใจดี ให้เงินเริ่มต้นในจำนวนที่ไม่สูงมาก แต่ทำให้บริษัทมีพลังขับเคลื่อนในระยะเริ่มต้นได้ และเป็นนักลงทุนที่ควักเงินของตัวเองคนเดียว
- Angel groups เป็นนักลงทุนใจดีเหมือนกัน แต่มาเป็นกลุ่ม
- Syndicates คือมีเงินทุนจาก VC แต่ลงทุนครั้งเดียว ไม่ได้ลงทุนต่อเนื่องแบบ VC
ข้อดีและข้อเสียในแต่ละกลุ่มนักลงทุน
การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในแต่ละกลุ่มนั้น มีเกณฑ์ที่ใช้วัดผลทั้งหมด 11 ข้อที่เราควรศึกษาเอาไว้ นันก็คือ
1. ระยะเวลาการตัดสินใจ
2. ขนาดหรือจำนวนเงินในการลงทุน
3. ราคาและการประเมินค่าของบริษัท
4. ความต้องการควบคุม
5. การช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก
6. ประสบการณ์ในวงการสตาร์ทอัพ
7. ความสามารถในการเติมเงินลงทุน (follow-on)
8. วิธีการบริหารธุรกิจ
9. การแบ่งหุ้นตามที่ต้องการ (Liquidation Preference)
10. ปัญหาทั่วๆ ไป
11. ความสามารถในการหาทุนต่อไปในอนาคต
แต่ละเกณฑ์ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มของนักลงทุน มาดูกันแบบละเอียดดีกว่าว่ามันมีความหมายอย่างไรบ้าง
1. ระยะเวลาการตัดสินใจ
Lone Angel – ตัดสินใจได้เร็วที่สุด เงินทุกก้อนเป็นของพวกเขาเอง ไม่จำเป็นต้องรอใคร
Syndicate – ตามมาด้วย syndicate ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ยิ่งดีลที่สำคัญๆ ต้องเร่งการตัดสินใจ ก็จะยิ่งปิดดีลเร็ว
VC – อาจจะต้องผ่านหลายขั้นตอนเพื่อทำการปิดดีล แต่ถ้าดีลที่น่าสนใจ เช่น เป็น สตาร์ทอัพ (Startup) สุดฮอต น่าลงทุน พวกเขาก็สามารถที่จะเร่งปิดดีลให้เร็วขึ้นได้เทียบเท่ากลุ่ม Syndicate เลย แต่ขั้นตอนบางอย่างอาจจะเยอะขึ้น เพราะ VC เป็นองค์กรที่มีระบบระเบียบพิธีการเยอะพอสมควร
Angel Groups – ช้าที่สุดในทุกประเภท เพราะกว่ากลุ่มนี้จะไป pitch ในแต่ละอีเวนท์ก็ใช้เวลา 2-3 เดือนครั้ง แล้วกว่าจะไปโน้มน้าวเพื่อนๆ นักลงทุนในกลุ่มก็ใช้เวลามากขึ้นไปอีก
2. จำนวนเงิน (Size) ในการลงทุน
VC – ถือว่าเป็นบริษัทที่เขียนเช็คมูลค่าเยอะที่สุด เพราะพวกเขามักจะต้องการได้ผลประโยชน์กลับมาคุ้มที่สุดในทุกๆ การลงทุน รวมทั้งเปอร์เซ็นต์ในการได้เป็นเจ้าของบริษัทด้วย
Syndicate และ Angel groups – ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทพวกเขาด้วยว่าใหญ่หรือเล็กแค่ไหน การลงทุนเฉลี่ยจะอยู่มากสุดประมาณ 1-2 ล้านเหรียญ
Lone Angels – ลงทุนในจำนวนเล็กๆ เท่านั้น
3. ราคาและการประเมินค่าของบริษัท
Lone Angels – กลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยซีเรียสกับมูลค่ามากนัก คนที่มาลงทุนส่วนใหญ่แค่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง นักลงทุนกลุ่มนี้มักจะไม่ได้มีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจที่จะลงทุนเท่าไหร่นัก และทักษะการต่อรองก็ไม่ค่อยดีด้วยซ้ำ
Angel groups – จะอยู่ในระดับที่เหนือขึ้นมาหน่อย พวกเขาจะมีความคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับเรื่องราคามากกว่า Lone Angels เพราะต้องการได้รับผลตอบแทนที่ดีกลับมา
Syndicates – ที่เหนือไปกว่า Angel คือกลุ่มนี้ พวกเขาสามารถเขียนเช็คได้เร็วมาก แถมยังมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องราคาอีกด้วย
VC – แน่นอนว่าถ้าจริงจังเรื่องราคาและมูลค่าที่สุดก็ต้องเป็น VC เพราะพวกเขาจำเป็นที่จะต้องได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามาคืนกลุ่มนักลงทุน รวมทั้งการคิดค่าบริหารจัดการต่างๆ ตามมาหลังจากนั้นด้วย
4. ความต้องการในการควบคุม
แน่นอนว่าการบริหารธุรกิจของด้วยตัวเองคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเหล่า founders ไม่เช่นนั้นการทำงานหรือการตัดสินใจต่างๆ อาจจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ
Lone Angels – กลุ่มนี้จะไม่ค่อยเข้ามามีบทบาทมาก แต่ก็สามารถให้คำแนะนำเมื่อคุณต้องการได้บ้าง
Angel Groups and Syndicates – สองกลุ่มนี้อาจจะต้องการการอัพเดตข้อมูลต่างๆ เป็นระยะๆ หรืออาจจะมีนัดประชุมบอร์ดบ้างเป็นครั้งคราว
VC – จะเป็นกลุ่มที่จริงจังมากสุด เพราะพวกเขาต้องดีลกับ LP หรือ Limited Partner ด้วย การประชุมบอร์ดก็จะเป็นไปอย่างจริงจัง
5. การช่วยเหลือจากคนนอก
VC – กลุ่ม VC จะเป็นกลุ่มที่สามารถหาเครือข่ายและติดต่อขอความช่วยเหลือให้กับ founders ได้มากที่สุด ทั้งเรื่องของงบประมาณ คำปรึกษา ไปจนถึงผู้รอบรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ที่ founders ต้องการ
Angel Group – พนักงานหลายๆ คนมีความตั้งใจที่จะยื่นมือเข้ามาช่วย ทำให้เห็นถึงการสนับสนุนที่จะส่งผลดีในอนาคตได้
Syndicates – มีเครือข่ายที่กว้างขวาง แต่ผลลัพธ์อาจจะยังไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่ากับสองกลุ่มแรก
Lone Angels – เนื่องจากเป็นการลงทุนกับคนคนเดียว เครือข่ายหรือคอนเนคชั่นอาจจะไม่หนาแน่นมากสักเท่าไหร่
6. ประสบการณ์ในวงการสตาร์ทอัพ (Startup)
คล้ายๆ กับข้อที่ 5 ประสบการณ์ในวงการมักจะมาพร้อมกับเครือข่ายและคอนเนคชั่น
7. ความสามารถในการลงทุนต่อเนื่อง (follow-on)
VC – โปรไฟล์ของ Venture Capital จะถูกคาดเดาจากการลงทุน follow-on ซึ่งเงินทุนมักจะถูกจองไว้ประมาณ 50-75%
Syndicates – ด้วยความที่จำนวนฐานของนักลงทุนนั้นมีเยอะ และนักลงทุนก็มักจะให้จำนวนเปอร์เซ็นต์น้อย การทำ follow-on จึงเกิดขึ้นได้ง่าย
Angel Groups – ไม่ค่อยมีการทำ follow-on มากนัก เนื่องจากการจำกัดเรื่องเวลาและอาจจะไม่ค่อยโฟกัสที่ ROI สักเท่าไหร่
Lone Angels – นักลงทุนแบบเดี่ยวๆ มักจะไม่ค่อยมีเงินสนับสนุนมากนัก การทำ follow-on จึงไม่ค่อยได้อยู่ในความคิดพวกเค้านั่นเอง
8. ระบบการจัดการ (การเมืองในองค์กร)
Lone Angels – การลงทุนแบบอิสระแน่นอนว่าจะต้องชนะในหมวดนี้ พวกเค้าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการเมืองหรือปัญหาต่างๆ สักเท่าไหร่
Syndicates – ตัวแทนของ syndicate จะต้องหาดีลแล้วนำเสนอต่อให้กับกลุ่ม เพราะฉะนั้นพวกเค้าต้องหาดีลให้ได้เป็นจำนวนมากอยู่เรื่อยๆ
Angel Groups – ด้วยความที่มีหลายขั้นตอนในการทำงาน กฏเกณฑ์ต่างๆ ในการลงทุน กลุ่ม Founders อาจจะไม่ค่อยชอบสไตล์นี้มากนัก
VC – รวมๆ แล้วเป็น firm ที่ดี แต่จะมีเรื่องของการเมืองระหว่าง GP (General Partner) อยู่บ้าง เพราะพวกเค้ามักจะโหวตในการลงทุน fund ของตัวเอง
9. Liquidation Preference
Lone Angels – นักลงทุนอิสระมักจะไม่มีความเข้าใจหรือสนใจในเรื่องนี้สักเท่าไหร่
Syndicates และ Angel Groups – สองกลุ่มนี้จะมีประสบการณ์ในการลงทุนอยู่บ้าง ทำให้พวกเค้าไตร่ตรองและตรวจสอบในเรื่องของ Preferred Shares มากหน่อย
VC – กลุ่มนี้จริงจังมากๆ ในเรื่องของ Liquidation Perference พวกเค้าต้องทำทุกอย่างเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตัวเองให้ได้มากที่สุด
10. ปัญหาทั่วๆ ไป
11. สามารถช่วยลงทุนต่อในอนาคต
VC – กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีตัวช่วยให้ founder เยอะมากๆ และสามารถพร้อมที่จะสนับสนุนต่อในอนาคต
Syndicates และ Angel Groups – เนื่องจากมีสมาชิกและเครือข่ายที่กว้างขวาง สองกลุ่มนี้ก็สามารถช่วยเหลือคุณได้ในอนาคตเช่นกัน
Lone Angels – แทบจะไม่มีคอนเนคชั่นหรือทรัพยากรอื่นๆ สักเท่าไหร่
ถ้าจะให้สรุปเป็นคะแนนโดยรวมว่าลงทุนกับกลุ่มไหนจะเหมาะที่สุด
1. Lone Angel และ Indicate : 23 คะแนน
2. VC : 24 คะแนน
3. Angel Group : 25 คะแนน
ที่มา https://medium.com/better-marketing/startup-fundraising-101-the-pros-and-cons-of-angels-vcs-angel-groups-and-syndicates-1226fdcec828
การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในแต่ละกลุ่มนั้น มีเกณฑ์ที่ใช้วัดผลทั้งหมด 11 ข้อที่เราควรศึกษาเอาไว้ นันก็คือ
1. ระยะเวลาการตัดสินใจ
2. ขนาดหรือจำนวนเงินในการลงทุน
3. ราคาและการประเมินค่าของบริษัท
4. ความต้องการควบคุม
5. การช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก
6. ประสบการณ์ในวงการสตาร์ทอัพ
7. ความสามารถในการเติมเงินลงทุน (follow-on)
8. วิธีการบริหารธุรกิจ
9. การแบ่งหุ้นตามที่ต้องการ (Liquidation Preference)
10. ปัญหาทั่วๆ ไป
11. ความสามารถในการหาทุนต่อไปในอนาคต
แต่ละเกณฑ์ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มของนักลงทุน มาดูกันแบบละเอียดดีกว่าว่ามันมีความหมายอย่างไรบ้าง
1. ระยะเวลาการตัดสินใจ
Lone Angel – ตัดสินใจได้เร็วที่สุด เงินทุกก้อนเป็นของพวกเขาเอง ไม่จำเป็นต้องรอใคร
Syndicate – ตามมาด้วย syndicate ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ยิ่งดีลที่สำคัญๆ ต้องเร่งการตัดสินใจ ก็จะยิ่งปิดดีลเร็ว
VC – อาจจะต้องผ่านหลายขั้นตอนเพื่อทำการปิดดีล แต่ถ้าดีลที่น่าสนใจ เช่น เป็น สตาร์ทอัพ (Startup) สุดฮอต น่าลงทุน พวกเขาก็สามารถที่จะเร่งปิดดีลให้เร็วขึ้นได้เทียบเท่ากลุ่ม Syndicate เลย แต่ขั้นตอนบางอย่างอาจจะเยอะขึ้น เพราะ VC เป็นองค์กรที่มีระบบระเบียบพิธีการเยอะพอสมควร
Angel Groups – ช้าที่สุดในทุกประเภท เพราะกว่ากลุ่มนี้จะไป pitch ในแต่ละอีเวนท์ก็ใช้เวลา 2-3 เดือนครั้ง แล้วกว่าจะไปโน้มน้าวเพื่อนๆ นักลงทุนในกลุ่มก็ใช้เวลามากขึ้นไปอีก
2. จำนวนเงิน (Size) ในการลงทุน
VC – ถือว่าเป็นบริษัทที่เขียนเช็คมูลค่าเยอะที่สุด เพราะพวกเขามักจะต้องการได้ผลประโยชน์กลับมาคุ้มที่สุดในทุกๆ การลงทุน รวมทั้งเปอร์เซ็นต์ในการได้เป็นเจ้าของบริษัทด้วย
Syndicate และ Angel groups – ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทพวกเขาด้วยว่าใหญ่หรือเล็กแค่ไหน การลงทุนเฉลี่ยจะอยู่มากสุดประมาณ 1-2 ล้านเหรียญ
Lone Angels – ลงทุนในจำนวนเล็กๆ เท่านั้น
3. ราคาและการประเมินค่าของบริษัท
Lone Angels – กลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยซีเรียสกับมูลค่ามากนัก คนที่มาลงทุนส่วนใหญ่แค่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง นักลงทุนกลุ่มนี้มักจะไม่ได้มีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจที่จะลงทุนเท่าไหร่นัก และทักษะการต่อรองก็ไม่ค่อยดีด้วยซ้ำ
Angel groups – จะอยู่ในระดับที่เหนือขึ้นมาหน่อย พวกเขาจะมีความคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับเรื่องราคามากกว่า Lone Angels เพราะต้องการได้รับผลตอบแทนที่ดีกลับมา
Syndicates – ที่เหนือไปกว่า Angel คือกลุ่มนี้ พวกเขาสามารถเขียนเช็คได้เร็วมาก แถมยังมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องราคาอีกด้วย
VC – แน่นอนว่าถ้าจริงจังเรื่องราคาและมูลค่าที่สุดก็ต้องเป็น VC เพราะพวกเขาจำเป็นที่จะต้องได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามาคืนกลุ่มนักลงทุน รวมทั้งการคิดค่าบริหารจัดการต่างๆ ตามมาหลังจากนั้นด้วย
4. ความต้องการในการควบคุม
แน่นอนว่าการบริหารธุรกิจของด้วยตัวเองคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเหล่า founders ไม่เช่นนั้นการทำงานหรือการตัดสินใจต่างๆ อาจจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ
Lone Angels – กลุ่มนี้จะไม่ค่อยเข้ามามีบทบาทมาก แต่ก็สามารถให้คำแนะนำเมื่อคุณต้องการได้บ้าง
Angel Groups and Syndicates – สองกลุ่มนี้อาจจะต้องการการอัพเดตข้อมูลต่างๆ เป็นระยะๆ หรืออาจจะมีนัดประชุมบอร์ดบ้างเป็นครั้งคราว
VC – จะเป็นกลุ่มที่จริงจังมากสุด เพราะพวกเขาต้องดีลกับ LP หรือ Limited Partner ด้วย การประชุมบอร์ดก็จะเป็นไปอย่างจริงจัง
5. การช่วยเหลือจากคนนอก
VC – กลุ่ม VC จะเป็นกลุ่มที่สามารถหาเครือข่ายและติดต่อขอความช่วยเหลือให้กับ founders ได้มากที่สุด ทั้งเรื่องของงบประมาณ คำปรึกษา ไปจนถึงผู้รอบรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ที่ founders ต้องการ
Angel Group – พนักงานหลายๆ คนมีความตั้งใจที่จะยื่นมือเข้ามาช่วย ทำให้เห็นถึงการสนับสนุนที่จะส่งผลดีในอนาคตได้
Syndicates – มีเครือข่ายที่กว้างขวาง แต่ผลลัพธ์อาจจะยังไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่ากับสองกลุ่มแรก
Lone Angels – เนื่องจากเป็นการลงทุนกับคนคนเดียว เครือข่ายหรือคอนเนคชั่นอาจจะไม่หนาแน่นมากสักเท่าไหร่
6. ประสบการณ์ในวงการสตาร์ทอัพ (Startup)
คล้ายๆ กับข้อที่ 5 ประสบการณ์ในวงการมักจะมาพร้อมกับเครือข่ายและคอนเนคชั่น
7. ความสามารถในการลงทุนต่อเนื่อง (follow-on)
VC – โปรไฟล์ของ Venture Capital จะถูกคาดเดาจากการลงทุน follow-on ซึ่งเงินทุนมักจะถูกจองไว้ประมาณ 50-75%
Syndicates – ด้วยความที่จำนวนฐานของนักลงทุนนั้นมีเยอะ และนักลงทุนก็มักจะให้จำนวนเปอร์เซ็นต์น้อย การทำ follow-on จึงเกิดขึ้นได้ง่าย
Angel Groups – ไม่ค่อยมีการทำ follow-on มากนัก เนื่องจากการจำกัดเรื่องเวลาและอาจจะไม่ค่อยโฟกัสที่ ROI สักเท่าไหร่
Lone Angels – นักลงทุนแบบเดี่ยวๆ มักจะไม่ค่อยมีเงินสนับสนุนมากนัก การทำ follow-on จึงไม่ค่อยได้อยู่ในความคิดพวกเค้านั่นเอง
8. ระบบการจัดการ (การเมืองในองค์กร)
Lone Angels – การลงทุนแบบอิสระแน่นอนว่าจะต้องชนะในหมวดนี้ พวกเค้าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการเมืองหรือปัญหาต่างๆ สักเท่าไหร่
Syndicates – ตัวแทนของ syndicate จะต้องหาดีลแล้วนำเสนอต่อให้กับกลุ่ม เพราะฉะนั้นพวกเค้าต้องหาดีลให้ได้เป็นจำนวนมากอยู่เรื่อยๆ
Angel Groups – ด้วยความที่มีหลายขั้นตอนในการทำงาน กฏเกณฑ์ต่างๆ ในการลงทุน กลุ่ม Founders อาจจะไม่ค่อยชอบสไตล์นี้มากนัก
VC – รวมๆ แล้วเป็น firm ที่ดี แต่จะมีเรื่องของการเมืองระหว่าง GP (General Partner) อยู่บ้าง เพราะพวกเค้ามักจะโหวตในการลงทุน fund ของตัวเอง
9. Liquidation Preference
Lone Angels – นักลงทุนอิสระมักจะไม่มีความเข้าใจหรือสนใจในเรื่องนี้สักเท่าไหร่
Syndicates และ Angel Groups – สองกลุ่มนี้จะมีประสบการณ์ในการลงทุนอยู่บ้าง ทำให้พวกเค้าไตร่ตรองและตรวจสอบในเรื่องของ Preferred Shares มากหน่อย
VC – กลุ่มนี้จริงจังมากๆ ในเรื่องของ Liquidation Perference พวกเค้าต้องทำทุกอย่างเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตัวเองให้ได้มากที่สุด
10. ปัญหาทั่วๆ ไป
11. สามารถช่วยลงทุนต่อในอนาคต
VC – กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีตัวช่วยให้ founder เยอะมากๆ และสามารถพร้อมที่จะสนับสนุนต่อในอนาคต
Syndicates และ Angel Groups – เนื่องจากมีสมาชิกและเครือข่ายที่กว้างขวาง สองกลุ่มนี้ก็สามารถช่วยเหลือคุณได้ในอนาคตเช่นกัน
Lone Angels – แทบจะไม่มีคอนเนคชั่นหรือทรัพยากรอื่นๆ สักเท่าไหร่
ถ้าจะให้สรุปเป็นคะแนนโดยรวมว่าลงทุนกับกลุ่มไหนจะเหมาะที่สุด
1. Lone Angel และ Indicate : 23 คะแนน
2. VC : 24 คะแนน
3. Angel Group : 25 คะแนน
ที่มา https://medium.com/better-marketing/startup-fundraising-101-the-pros-and-cons-of-angels-vcs-angel-groups-and-syndicates-1226fdcec828
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture