คู่มือ Venture Capital 101

Venture Capital คืออะไร แล้วเกี่ยวอะไรกับการลงทุน?
แหล่งเงินทุนทางธุรกิจนั้นมาจาก 2 สิ่ง คือ การกู้ยืม และนายทุน การกู้ยืมหมายถึงการที่เราให้เงินกับใครสักคน โดยที่คนคนนั้นสัญญาว่าจะนำเงินมาคืนพร้อมกับดอกเบี้ย นายทุนหมายถึงผู้ที่ให้เงินกับใครสักคนเพื่อไปเป็นเจ้าของกิจการ Venture Capital (VC) คือเงินทุนที่มอบให้กับบริษัทที่เรามองว่ามีศักยภาพ เพื่อแลกกับการถือหุ้นในบริษัท

โครงสร้างของบริษัท Venture Capital เป็นอย่างไร?
VC ประกอบไปด้วยกลุ่มทุนที่มาจากสองส่วนหลักๆ คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด (limited partners หรือ LP พูดง่ายๆ คือเป็นฝั่งนักลงทุนหรือ Investor ตัวอย่างเช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนด้านการศึกษา บริษัทประกันภัย และบรรดานักธุรกิจ ) กับอีกส่วนคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (general partners หรือ GP อดีตผู้บริหาร และผู้ก่อตั้งบริษัทหรือ Founder ) เมื่อนักลงทุนเอาเงินมาลงให้กับบริษัทแล้ว ตัว Founder ก็จะมีอำนาจในการตัดสินใจใช้เงินทุนนั้นๆ ซึ่งปกติแล้ว ทุน 99% ของบริษัทล้วนมาจาก LP และมีเพียง 1% ที่มาจาก GP

บรรทัดฐานทั่วไปของอุตสาหกรรมคือ 20% ของกำไรจะเข้ากระเป๋า GP  ในขณะที่อีก 80% จะเข้ากระเป๋า LP หรือผู้ลงทุน นอกจากนี้ 2% ของเงินทุนจะถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ เช่น เงินเดือนของ GP และพนักงานขององค์กร ซึ่งเท่ากับว่า หากบริษัทมีเงินทุน 100 ล้านดอลลาร์ฯ เงิน 2 ล้านดอลลาร์ฯ จะเข้ากระเป๋าของ GP โดยอัตโนมัติ


Sources of capital มีอะไรบ้าง?
  • Angel : นักธุรกิจที่ลงทุนโดยใช้เงินทุนของตัวเอง มักจะทำธุรกิจที่ตัวเองมีความเชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่ค่อนข้างมีฐานะ
  • Super Angel : Angel ที่เป็นประธานกรรมการบริหาร หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดในบอร์ดบริหาร
  • Micro Seed Fund / Accelerator : กองทุนขนาดเล็กที่ใช้ไปกับการลงทุนครั้งละน้อยๆ แต่ถี่ เพื่อแลกกับหุ้นจำนวนเล็กน้อย Accelerator มักจะเป็นตัวสนับสนุนทางธุรกิจอย่างการให้คำปรึกษา หรือคอนเนคชันทางธุรกิจ เช่น Y–Combinator, Kima Ventures, Techstars เป็นต้น
  • Venture Capital : กองทุนขนาดกลางที่ลงทุนในจำนวนมากขึ้น เช่น Andreessen, Horowitz, Sequoia Capital, Google Ventures เป็นต้น
  • Growth Equity : กองทุนขนาดใหญ่ที่ลงทุนจำนวนมากเพื่อขยายขนาดของธุรกิจ โดยมีตัวอย่างเด่นๆ คือ Summit Partners

Type of rounds หรือ รอบการลงทุน มีอะไรบ้าง?
  • Seed: เงินทุนตั้งต้นในการสร้างโปรดักต์หรือพัฒนาโมเดลธุรกิจ
  • Series A: สร้างทีม และเปิดตัวโปรดักต์
  • Series B: ขยายทีม และขยายกลุ่มโปรดักต์
  • Series C: ปรับขนาดของธุรกิจ
  • Series D+: ขยายตัวทางภูมิศาสตร์


Venture Capital ทำงานอย่างไร?
  • ผู้ประกอบการได้รับคำแนะนำจาก VC
  • ผู้ประกอบการ pitching ธุรกิจกับ VC
  • มี Term sheet หาก VC ต้องการจะร่วมลงทุน
  • ต่อยอดทางธุรกิจ
  • มีโอกาสได้รับผลตอบแทนจาก VC เช่น การซื้อขายหุ้น หรือการแจ้งล้มละลาย


แนวโน้มของอุตสาหกรรม Venture Capital
ขนาดของกองทุน
  • Seed funds หรือกองทุนที่มีเงินลงทุนต่ำกว่า 50 ล้านดอลลาร์ฯ โดย 67% ของจำนวนเงินทุน คือบรรทัดฐานที่ยอมรับทั่วไป (คิดเป็น 6% ของเงินดอลลาร์ฯ ทั้งหมด)
  • Traditional VC คือสิ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งกำลังลดลงทั้งปริมาณดอลลาร์ฯ และเม็ดเงินในการลงทุน

บริษัทชั้นนำ 20 แห่ง สร้างผลตอบแทน 95%
พูดง่ายๆ คือการกระจายผลตอบแทนจากการลงทุนใน VC นั้นกระจุกตัวอยู่ในบรรดาบริษัทที่อยู่กลุ่มบน ซึ่งสมมติง่ายๆ ว่ามีบริษัทใน VC อยู่ 1,000 บริษัท มีเพียง 2% เท่านั้นที่มีการดีลด้วย เนื่องจากมีเพียงไม่กี่บริษัทที่ไปถึงฝั่งฝันในการก้าวไปเป็นธุรกิจระดับพันล้าน ในขณะที่บริษัทอื่นๆ ต้องเผชิญกับความล้มเหลว

การกลับมาของ VC
ในปี 2013 ผลตอบแทน 10 ปีของ VC คือ 7.8% ในขณะที่ดัชนีของ  S&P คือ 7.3% ส่วน Dow Jones มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.9% และเติบโต 13.1% จะเห็นว่า VC ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุน มีคนจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลตอบแทนมหาศาล แต่มีจำนวนมากกว่าที่จบลงด้วยการสูญเสียเงินจำนวณมหาศาล

จริงๆ แล้วเรากำลังอยู่ในภาวะฟองสบู่หรือเปล่า?
ในภาพรวม ถึงแม้ว่าบริษัท IPO (Initial public offering) จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวน IPO ในเหตุการณ์ฟองสบู่ก่อนหน้านี้

แต่สิ่งที่ต้องสนใจคือ ราคาประเมินของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นในการลงทุนทุกประเภทตั้งแต่ระดับ Seed จนถึงระดับที่สูงขึ้น อย่างที่เห็นใน Series D+ ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นเพราะมีเพียงไม่กี่บริษัทที่อยู่ในระดับนั้น ดังนั้นเพื่อให้กลุ่ม VC เกิดการแข่งขัน จึงมีการยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจให้กับหลายๆ บริษัท ซึ่งนั่นหมายถึงจำนวนเงินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

ที่มา: https://startupsventurecapital.com/venture–capital–101–a–crash–course–ed80b0d87bd5
Created with