บริหารการตลาดผิดพลาด สิ่งที่น่ากังวลกว่าภาษี e-Service
วันที่ 1 กันยายน 2564 กรมสรรพากรจะเริ่มเก็บภาษี “อี-เซอร์วิส” (e-Service) 7% ต่อปี จากแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งกระแสที่ถูกพูดถึงกันมาก คือ การเก็บภาษีจากการลงโฆษณาใน Facebook
สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ผ่านทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook นั้น มองว่าตนเองรับผลกระทบโดยตรง เพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านภาษีเพิ่มอีก 7% เมื่อต้องลงโฆษณา (Boost Post) แต่ละครั้ง
ภาษี e-Service ไม่กระทบขายออนไลน์
เมื่อศึกษารายละเอียดของการเก็บภาษี e-Service พบว่า ภาษีที่เสียเพิ่มไปนั้นสามารถนำไปใช้ลดหย่อนได้ โดยวิธีการของผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับ ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะแตกต่างกันไปดังนี้
-ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และนำส่ง ภ.พ. 36 ทุกปี Facebook ได้เปิดให้บริษัทที่ต้องการจัดการเรื่องการเก็บภาษี สามารถทำได้โดย เข้าไปที่ https://www.facebook.com/ads/manager/account_settings/
จากนั้นให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (VAT ID) เข้าไปในระบบ เพื่อให้ Facebook ไม่คิด VAT กับบริษัทโดยตรง แต่บริษัทจะต้องนำไปยื่นด้วยตนเองกับกรมสรรพากร
หมายความว่า ถ้าลงโฆษณา 1,000 บาท Facebook ก็จะเก็บค่าใช้จ่ายกับเราไป 1,000 บาท ส่วน 70 บาท ที่เป็น VAT นั้น บริษัทจะต้องนำไปยื่นกับกรมสรรพากร (ภ.พ. 36)
-ผู้ประกอบการที่ (ไม่ได้) จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อโฆษณาผ่าน Facebook จะต้องเสีย VAT เพิ่ม 7% ทันที
หมายความว่า ถ้าลงโฆษณา 1,000 บาท Facebook จะเก็บค่าใช้จ่ายกับเราไป 1,070 บาท โดย Facebook จะเป็นผู้นำ VAT 70 บาท ที่เราจ่ายไปนั้นส่งให้กับสรรพากรแทน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ผู้ประกอบการทั่วไป ก็สามารถนำหลักฐานค่าใช้จ่าย และ ภาษี ที่เสียไปจากการลงโฆษณากับ Facebook มาเป็นต้นทุน เพื่อหักออกจากรายได้เมื่อถึงเวลาต้องยื่นภาษี
การตลาดไม่ดี สูญเสียมากกว่า VAT 7%
จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่าสุดท้ายแล้วการออกกฎหมายฉบับนี้นั้น ผู้ประกอบการแทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากการลงโฆษณาบน Facebook เลย เพราะสามารถนำไปหักภาษีได้
แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต่างๆ ควรจะกังวลมากกว่า คือการบริหารต้นทุน เพราะจะทำให้เราสูญเสียเงินไปจำนวนมากโดยที่ไม่ได้อะไรกลับมา
หนึ่งในวิธีการลดต้นทุนที่ดีที่สุดนั้น คือ การทำการตลาดให้ถูกวิธี
เริ่มจากการทำความเข้าใจลูกค้า ผ่านการทำ Marketing research เพราะเสียงของลูกค้า จะเข้ามาช่วยพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้น ช่วยให้เรารักษาลูกค้าเก่า และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อได้อย่างยั่งยืน
เมื่อเข้าใจลูกค้าแล้ว แบรนด์จะสามารถสื่อสารผ่านคอนเทนต์ที่ตรงใจลูกค้าได้ ผ่านการเล่าเรื่องราวของสินค้าหรือบริการที่จะขายด้วยความมั่นใจ ใส่ใจ จริงใจ ให้ลูกค้าได้เห็นประโยชน์ที่ได้รับอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการใช้คำ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ
จากนั้นทำการ ยิงโฆษณาถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ โดยนำข้อมูลลูกค้ามาประกอบกับคอนเทนต์ที่ดี ยิงโฆษณาไปให้กลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้าง Conversion
สุดท้ายนี้ การลดต้นทุนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญของการทำธุรกิจเสมอ การบริหารการตลาดที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม เพราะการใช้ต้นทุนการโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจได้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-การบริหารข้อมูล หัวใจสำคัญเพื่อความสำเร็จในการบริหารการตลาด
-“เข้าใจตัวเอง เข้าใจลูกค้า” วิธีสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจแบบ Makoto Marketing
สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ผ่านทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook นั้น มองว่าตนเองรับผลกระทบโดยตรง เพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านภาษีเพิ่มอีก 7% เมื่อต้องลงโฆษณา (Boost Post) แต่ละครั้ง
ภาษี e-Service ไม่กระทบขายออนไลน์
เมื่อศึกษารายละเอียดของการเก็บภาษี e-Service พบว่า ภาษีที่เสียเพิ่มไปนั้นสามารถนำไปใช้ลดหย่อนได้ โดยวิธีการของผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับ ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะแตกต่างกันไปดังนี้
-ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และนำส่ง ภ.พ. 36 ทุกปี Facebook ได้เปิดให้บริษัทที่ต้องการจัดการเรื่องการเก็บภาษี สามารถทำได้โดย เข้าไปที่ https://www.facebook.com/ads/manager/account_settings/
จากนั้นให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (VAT ID) เข้าไปในระบบ เพื่อให้ Facebook ไม่คิด VAT กับบริษัทโดยตรง แต่บริษัทจะต้องนำไปยื่นด้วยตนเองกับกรมสรรพากร
หมายความว่า ถ้าลงโฆษณา 1,000 บาท Facebook ก็จะเก็บค่าใช้จ่ายกับเราไป 1,000 บาท ส่วน 70 บาท ที่เป็น VAT นั้น บริษัทจะต้องนำไปยื่นกับกรมสรรพากร (ภ.พ. 36)
-ผู้ประกอบการที่ (ไม่ได้) จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อโฆษณาผ่าน Facebook จะต้องเสีย VAT เพิ่ม 7% ทันที
หมายความว่า ถ้าลงโฆษณา 1,000 บาท Facebook จะเก็บค่าใช้จ่ายกับเราไป 1,070 บาท โดย Facebook จะเป็นผู้นำ VAT 70 บาท ที่เราจ่ายไปนั้นส่งให้กับสรรพากรแทน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ผู้ประกอบการทั่วไป ก็สามารถนำหลักฐานค่าใช้จ่าย และ ภาษี ที่เสียไปจากการลงโฆษณากับ Facebook มาเป็นต้นทุน เพื่อหักออกจากรายได้เมื่อถึงเวลาต้องยื่นภาษี
การตลาดไม่ดี สูญเสียมากกว่า VAT 7%
จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่าสุดท้ายแล้วการออกกฎหมายฉบับนี้นั้น ผู้ประกอบการแทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากการลงโฆษณาบน Facebook เลย เพราะสามารถนำไปหักภาษีได้
แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต่างๆ ควรจะกังวลมากกว่า คือการบริหารต้นทุน เพราะจะทำให้เราสูญเสียเงินไปจำนวนมากโดยที่ไม่ได้อะไรกลับมา
หนึ่งในวิธีการลดต้นทุนที่ดีที่สุดนั้น คือ การทำการตลาดให้ถูกวิธี
เริ่มจากการทำความเข้าใจลูกค้า ผ่านการทำ Marketing research เพราะเสียงของลูกค้า จะเข้ามาช่วยพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้น ช่วยให้เรารักษาลูกค้าเก่า และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อได้อย่างยั่งยืน
เมื่อเข้าใจลูกค้าแล้ว แบรนด์จะสามารถสื่อสารผ่านคอนเทนต์ที่ตรงใจลูกค้าได้ ผ่านการเล่าเรื่องราวของสินค้าหรือบริการที่จะขายด้วยความมั่นใจ ใส่ใจ จริงใจ ให้ลูกค้าได้เห็นประโยชน์ที่ได้รับอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการใช้คำ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ
จากนั้นทำการ ยิงโฆษณาถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ โดยนำข้อมูลลูกค้ามาประกอบกับคอนเทนต์ที่ดี ยิงโฆษณาไปให้กลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้าง Conversion
สุดท้ายนี้ การลดต้นทุนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญของการทำธุรกิจเสมอ การบริหารการตลาดที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม เพราะการใช้ต้นทุนการโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจได้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-การบริหารข้อมูล หัวใจสำคัญเพื่อความสำเร็จในการบริหารการตลาด
-“เข้าใจตัวเอง เข้าใจลูกค้า” วิธีสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจแบบ Makoto Marketing
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture