ส่อง 8 “เทคโนโลยีชีวมิติ” รูปแบบการชำระเงินในอนาคตที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยง
เทคโนโลยีการเงิน (FinTech) เติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่การรักษาความปลอดภัยก็เป็นเรื่องที่ต้องเติบโตตามเทคโนโลยี Biometric Technology หรือ (เทคโนโลยีชีวมิติ) จึงถูกคิดค้นมาเพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลจากมิจฉาชีพหรือการถูกขโมยข้อมูลจากโลกไซเบอร์
เทคโนโลยีชีวมิติ จะเข้ามาช่วยระบุ พิสูจน์ หรือยืนยันตัวตนบุคคล ทั้งในด้านอัตลักษณ์ทางกายภาพ เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ DNA หรือ อัตลักษณ์ทางพฤติกรรม เช่น การใช้เสียง การพิมพ์ การเขียน
สำหรับการนำเทคโนโลยีชีวมิติมาใช้กับบริการทางการเงินนั้น ถูกนำมาใช้กับการทำการรู้จักผู้ใช้บริการ (Know Your Customer - KYC) ในการเปิดบัญชีหรือสมัครบริการต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
ในบทความนี้จะพามาดูกันว่า เทคโนโลยีชีวมิติที่ใช้ในการจำแนกตัวบุคคลตามอัตลักษณ์ทางกายภาพ และ อัตลักษณ์ทางพฤติกรรม ในอนาคตที่น่าสนใจนั้น มีอะไรบ้าง
เทคโนโลยีชีวมิติด้านอัตลักษณ์ทางกายภาพ
เทคโนโลยีชีวมิติ จะเข้ามาช่วยระบุ พิสูจน์ หรือยืนยันตัวตนบุคคล ทั้งในด้านอัตลักษณ์ทางกายภาพ เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ DNA หรือ อัตลักษณ์ทางพฤติกรรม เช่น การใช้เสียง การพิมพ์ การเขียน
สำหรับการนำเทคโนโลยีชีวมิติมาใช้กับบริการทางการเงินนั้น ถูกนำมาใช้กับการทำการรู้จักผู้ใช้บริการ (Know Your Customer - KYC) ในการเปิดบัญชีหรือสมัครบริการต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
ในบทความนี้จะพามาดูกันว่า เทคโนโลยีชีวมิติที่ใช้ในการจำแนกตัวบุคคลตามอัตลักษณ์ทางกายภาพ และ อัตลักษณ์ทางพฤติกรรม ในอนาคตที่น่าสนใจนั้น มีอะไรบ้าง
เทคโนโลยีชีวมิติด้านอัตลักษณ์ทางกายภาพ
Fingerprint: หรือการใช้ลายนิ้วมือเพื่อยืนยันตัวตน ปัจจุบันเราคุ้นเคยกับการสแกนลายนิ้วมือเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวแทนการพิมพ์รหัสผ่าน ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบาย และยังปลอยภัยต่อการถูกดักจับการพิมพ์รหัสผ่านจากคนอื่นๆ ได้อีกด้วย สำหรับด้านการนำเทคโนโลยี Fingerprint มาใช้กับโลกการเงิน ในอนาคตเราน่าจะได้เห็นการสแกนลายนิ้วมือเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการฝากเงิน ถอนเงิน กู้เงิน หรือใช้แทนการเซ็นลายเซ็น
Face Recognition: คือ การใช้ใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน เป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ในสมาร์ทโฟนหลายๆ รุ่นมีการใส่เทคโนโลยีสแกนใบหน้ามาให้ใช้เป็นทางเลือกในด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านองค์กรก็มีการนำเทคโนโลยีสแกนใบหน้านำมาใช้แทนการสแกนลายนิ้วมือ เพราะมองว่ามีความแม่นยำ และสะดวกสบายกว่าการสแกนลายนิ้วมือ ในด้านธุรกรรมทางการเงิน Face Recognition ถูกนำมาใช้กับการทำ KYC มากขึ้น แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้กับการทำธุรกรรมในรูปแบบอื่นๆ มากนัก ซึ่งในอนาคตก็มีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้กับการทำธุรกรรมที่หลากหลายมากขึ้น
Iris Scan: เป็นการตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพที่มีความปลอดภัยสูงสุด เช่น การสแกนม่านตา ที่เรามักจะเห็นกันมากในภาพยนตร์ต่างประเทศหลายๆ เรื่อง ซึ่งในโลกจริงนั้นก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้ในวงจำกัด แม้ว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่ามีความแม่นยำและปลอดภัย แต่ต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายยังสูงเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ แต่ในอนาคตที่เทคโนโลยีก้าวไปอย่างรวดเร็ว เราคงจะได้เห็นการสแกนม่านตาถูกนำออกมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น
Hand Geometry: หรือการพิสูจน์ตัวตนโดยใช้ความกว้างของมือและความยาวของนิ้ว เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะถูกนำมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยทางด้านการเงิน และยังเข้ามาแก้ปัญหาที่บางคนสแกนลายนิ้วมือไม่ติดหรือติดยากอีกด้วย
DNA: หรือการยืนยันตัวตนโดยการใช้สารพันธุกรรม เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการยืนยันตัวตนด้านอัตลักษณ์ทางกายภาพ เพราะสามารถยืนยันได้ถึงสายเลือดวงค์ตระกูล แต่ด้วยความที่การตรวจ DNA ในปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถรู้ผลที่ถูกต้องแม่นยำได้ในทันทีทันใด จึงยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และถึงแม้ว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะพัฒนาไปมากกว่านี้ แต่การยืนยันตนด้วย DNA ก็ยังน่าจะถูกนำมาใช้เฉพาะทาง ใช้กับการทำธุรกรรมที่ต้องการปลอดภัยขั้นสูง
เทคโนโลยีชีวมิติด้านอัตลักษณ์ทางพฤติกรรม
เทคโนโลยีชีวมิติด้านอัตลักษณ์ทางพฤติกรรม
Voice Authentication: เป็นหนึ่งในวิธีการยืนยันตัวตนด้วยเสียง โดยการจับระดับสูงต่ำของเสียง (Voice Pitch) การจับโทนเสียง (Tone) หรือแม้แต่การจับด้วยสไตล์การพูด (Speaking Style) ในปัจจุบันเริ่มมีการนำการยืนยันตนด้วยเสียงไปใช้ในการยืนยันตัวตน หรือการทำธุรกรรมกับบัตรเครดิต
Typing Rhythm: หรือการจับจังหวะการพิมพ์ เป็นวิธีการยืนยันตัวตนที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับมัน เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ถูกพัฒนามาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ในอนาคตนั้นการจับจังหวะการพิมพ์อาจจะถูกนำมาใช้ยืนยันตัวตนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้
Signature: ลายเซ็นเป็นการแสดงอัตลักษณ์ที่ใช้กันมานานแล้ว และยังถือว่าเป็นมาตรฐานของการแสดงตัวตนสำหรับใช้ในการทำนิติกรรม หรือ ธุรกรรมทางกฎหมาย ถึงแม้ว่าจะมีข้อเสียด้านการถูกปลอมแปลง ซึ่งในปัจจุบันเราได้เห็นการใช้ลายเซ็นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องอุปกรณ์ที่ยังทำให้เซ็นได้ไม่เหมือนกับการใช้ปากกามากนัก ทั้งนี้ คาดว่าในอนาคตการใช้ลายเซ็นเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ ด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งด้านอุปกรณ์ที่รองรับ และเรื่องความปลอดภัยของผู้ทำธุรกรรม
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีชีวมิติส่วนใหญ่ยังถูกใช้ในวงจำกัด และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาหาข้อดีข้อเสีย รวมถึงวิธีการที่ทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สุดท้ายแล้วอาจจะมีเพียงแค่เทคโนโลยีเดียวที่ทั่วโลกพร้อมใจกันใช้เป็นมาตรฐานรับรองการทำนิติกรรมและธุรกรรมต่างๆ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-Crowdfunding ช่องทางจับคู่ “ผู้ประกอบการ-นักลงทุน” ยุคดิจิทัล
-รวมคำศัพท์ FinTech ควรรู้
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีชีวมิติส่วนใหญ่ยังถูกใช้ในวงจำกัด และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาหาข้อดีข้อเสีย รวมถึงวิธีการที่ทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สุดท้ายแล้วอาจจะมีเพียงแค่เทคโนโลยีเดียวที่ทั่วโลกพร้อมใจกันใช้เป็นมาตรฐานรับรองการทำนิติกรรมและธุรกรรมต่างๆ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-Crowdfunding ช่องทางจับคู่ “ผู้ประกอบการ-นักลงทุน” ยุคดิจิทัล
-รวมคำศัพท์ FinTech ควรรู้
อัปเดตคอร์สใหม่และส่วนลดคอร์สต่างๆ
Thank you!
Policy Pages
Copyright © 2022
รับสิทธิพิเศษก่อนใคร แอดไลน์ @shiftyourfuture